สวัสดีครับ วันนี้มีบทความดีดีมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ อีกละครับ ผมเชื่อว่าผู้ปกครองหลายๆท่านยังอาจไม่คุ้นเคยกับ คําว่า โรงเรียนสองภาษา English Program Biligual MEP EP ซึ่งแต่ละคําจริงๆแล้วบางส่วนถูกเรียกขึ้นมาโดยโรงเรียนเจ้าของหลักสูตร และ บางคําตั้งขึ้นจากกระทรวงศึกษา ดังนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ และผู้ปกครองทุกท่าน รู้ความแตกต่างของแต่ละประเภทของโรงเรียนสองภาษา วันนี้ผมนําข้อมูลดีดีมาแบ่งครับ
เนื่องจากทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษา จึงขออนุญาตรวบรวมข้อมูลโรงเรียนสองภาษามาลงไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งไม่ได้เป็นข้อมูลของผู้เขียนแต่อย่างใด
กระทรวงศึกษาธิการได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับโรงเรียนสองภาษา ซึ่งถือเป็นมาตรฐานกำหนดแนวทางการเรียนการสอนของโรงเรียนประเภทนี้ทั้ง โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ว่า... เป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะทางภาษาของผู้เรียน และในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของความผสมผสานเป็นสากล...
ที่ผ่านมามีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
English Program (EP) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นภาษาไทย และสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
Mini English Program (MEP) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ไม่เกิน 50% ของชั่วโมงสอนทั้งหมดต่อสัปดาห์
แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับก่อนประถม (อนุบาล) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ไม่เกิน 50% ของ
เวลาที่จัดกิจกรรม รับนักเรียนไม่เกินห้องละ 25 คน
ระดับ ประถมศึกษา จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา โดยคำนึงถึงความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชานั้นควบคู่กับภาษาอังกฤษ รับนักเรียนไม่เกินห้องละ 30 คน
ระดับมัธยมศึกษา จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นภาษาไทย และสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย รับนักเรียนไม่เกินห้องละ 30 คน
ค่าเล่าเรียนแพงกว่าเท่าไร
โรงเรียน สองภาษาของรัฐบาล อนุญาตให้เก็บค่าเล่าเรียนในระดับ ม.ปลายไม่เกิน 40,000 บาทต่อภาคการศึกษา และม.ต้นไม่เกิน 35,000 บาทต่อภาคการศึกษา
ส่วนในโรงเรียนเอกชนจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนเอง
ภาย ใต้ข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาฯ นอกจากนี้บางแห่งอาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของกิจกรรมต่างๆ หรือจัดให้นักเรียนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ ทั้ง TOEFL, IELTS ซึ่งอาจใช้จ่ายเพิ่มเติม
เมื่อคำนวณแล้วจะสูงกว่าการเรียนภาคปกติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนนานาชาติ และการไปเรียนต่อต่างประเทศ ก็ถือว่าถูกกว่า
ใช้หลักสูตร และตำราเรียนแบบไหน
เนื่อง จากหลักสูตรมาตรฐานฉบับภาษาอังกฤษของโรงเรียนสองภาษาโดยตรงที่กระทรวงศึกษาฯ กำลังทำอยู่นั้น ยังไม่มีกำหนดแล้วเสร็จที่แน่นอน ที่ผ่านมาแต่ละโรงเรียนจึงใช้หลักสูตรและตำราเรียนที่หลากหลาย
แต่ถ้าเป็นโรงเรียนของรัฐบาลก็จะปรับใช้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เป็นหลัก
พอจะสรุปได้ว่า
1. ใช้ตำราเรียนจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเอกชนที่ใช้หลักสูตรของต่างประเทศมาสอน ทั้งจากอังกฤษและสิงคโปร์ ซึ่งเนื้อหาบางส่วนอาจไม่สอดคล้องกับสังคมไทย
2. แปลตำราภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยพื้นฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาฯแบบ content by content ซึ่งอาจทำให้ดูไม่ต่างจากการเรียนในภาคภาษาไทยปกติมากนัก
3. แปลตำราภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยยึดจุดประสงค์สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาฯ มาประยุกต์เข้ากับกิจกรรมการสอน
4. ครูผู้สอนคัดเลือกจากหลักสูตรไทยและต่างประเทศควบคู่กัน เน้นเนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้แล้วทำเป็นรูปเล่มตำราใหม่
ทั้งนี้แต่ละโรงเรียนอาจประยุกต์หลายแบบมารวมกันได้
ซึ่งในเรื่องของหลักสูตรจะเห็นได้ว่าขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนดำเนินการเอง ยังขาดความเป็นมาตรฐานกลาง
จึง อาจส่งผลถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน เมื่อต้องเข้าสู่ระบบการแข่งขันกับนักเรียนในภาคปกติที่ข้อสอบเป็นภาษาไทย โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะมีศัพท์เทคนิค และมีรายละเอียดของการทดลองมาเป็นข้อจำกัด ไม่สามารถลงลึกในหลักวิชาเหมือนในภาคปกติได้ ซึ่งเป็นจุดบกพร่องที่พบและหลายแห่งพยายามแก้ไข
เรียนสองภาษาดีแน่หรือ
เมื่อ โรงเรียนสองภาษาเริ่มมีบทบาทในวงการศึกษามากขึ้น และเป็นกระแสที่พ่อแม่สนใจ ส่งผลให้เกิดงานวิจัยโดยคุณปานจิต รัตนพล และคณะศึกษาปริญญาโท คณะครุศาสตร์จุฬาฯ เลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจงโรงเรียน 4 แห่ง พอจะทำให้เห็นภาพความเคลื่อนไหว สภาพการณ์และปัญหาของการจัดการศึกษาในโรงเรียนสองภาษาในเวลานี้ชัดขึ้น
ด้านครูผู้สอน
ในหนึ่งห้องเรียนจะมีครูชาวต่างชาติ และครูไทยร่วมกันจัดการเรียนการสอน โดยวิชา
ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จะเป็นครูต่างชาติสอน ส่วนในด้านวิชาที่ต้องคงความเป็นไทย เช่น ศาสนา ภาษาไทย สังคมไทย อาจารย์คนไทยจะสอนประกอบกัน
ด้วยจำนวนนักเรียนน้อยจึงดูแลได้ทั่วถึง เอื้อให้ครูรับทราบปัญหาของนักเรียนได้เป็น
รายบุคคล โดยมีข้อกำหนดว่าครูไทยที่สอนร่วมต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี ได้คะแนนโทเฟล 550 คะแนนขึ้นไป
ปัญหา
ด้วยเหตุที่มีการเปิดการเรียนระบบสองภาษามากขึ้นในโรงเรียนต่างๆ ทำให้ขาดแคลนครูต่างชาติ และบางแห่งครูไทยก็ได้คะแนนโทเฟลไม่ถึง 550
ปัญหาครูต่างชาติเจ้าของภาษาสร้างความยุ่งยากให้ทางโรงเรียนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่หลายๆ สาเหตุด้วยกัน เช่น
ครูต่างชาติบางคนแม้จะมีวุฒิหรือความรู้ทางวิชาการด้านที่ต้องการ แต่ไม่ได้จบด้านการสอนด้วย ทำให้ถ่ายทอดความรู้ได้ไม่ดี
ครูต่างชาติอยู่สอนไม่นาน อาจเป็นนักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาที่เพิ่งจบมาท่องเที่ยวหาประสบการณ์ชีวิต ทำให้เกิดภาวะขาดครูบ่อยๆ และขาดความต่อเนื่องในการสอน
ครูขาดคุณภาพ ไม่มีทักษะในการถ่ายทอดและสื่อความหมายเท่าที่ควร ไม่เข้าใจจิตวิทยาเด็ก คุมห้องเรียนไม่ได้ กระทั่งทำใบปริญญาปลอม
ทางกระทรวง ศึกษาฯ ได้ช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้นด้วยการจัดตั้งศูนย์รับครู ทั้งชาวไทยและต่างชาติ และประสานงานกับสถานทูต สถาบันการศึกษาในต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนครูมาสอน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน
ด้านการจัดการเรียนการสอน
เนื่อง ด้วยจำนวนนักเรียนต่อห้องน้อย ส่วนใหญ่จึงสามารถจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ ใช้การเล่นเกม กิจกรรมมาเป็นสื่อการสอน มากกว่าการสอนด้วยการบรรยาย และมีสื่อการเรียนการสอนทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือประกอบการเรียนจากต่างประเทศที่มักมีรูปเล่มสวยงาม กระตุ้นให้อยากเปิดอ่าน
บางแห่งมีการจัดการสอนเสริมวิชาต่างๆ เป็นภาษาไทย โดยครูไทยในช่วงเย็นหลักเลิกเรียน ในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
เนื่องจากเด็กไทยบางคนที่เข้าเรียนโปรแกรมนี้ อาจยังไม่ชินสำเนียงภาษา หรือไม่เข้าใจศัพท์ ปัญหา
เด็ก ที่ไม่ได้เรียนสองภาษามาตั้งแต่ต้น หรือไม่มีทักษะทางด้านภาษามาก่อน ต้องใช้ความพยายามในการเรียนมากขึ้นเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะหากเข้ามาเรียนในช่วงชั้นที่สูง วิชาการต่างๆ ยากขึ้น
ผู้ปกครองต้องเข้ามาช่วยเหลือลูกมากขึ้น และยังมีปัญหาอื่นๆ ที่พบในการเรียนการสอนดังนี้
เด็กไม่คุ้นกับระบบการเรียนที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ในการทำกิจกรรมร่วมกับครูและเพื่อน จะมีปัญหาการปรับตัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเมื่อครูถาม โดยเฉพาะในช่วงชั้นแรกที่เปลี่ยนจากระบบธรรมดามาเรียนในระบบสองภาษา
การย้ายเข้าระหว่างปีการศึกษา เช่นจาก ป.4 มาเข้าสองภาษาตอน ป.5 ในขณะที่เพื่อนๆ เรียนมาตั้งแต่ ป.1 ก็จะมีปัญหาตามเพื่อนไม่ทัน เข้ากับระบบไม่ได้ เกิดความเครียดกังวล
การเรียนเสริมทำให้เด็กค่อนข้างเครียด และขาดเวลาสำหรับการพัฒนาด้านอื่นๆ
ด้านสภาพแวดล้อม
การเก็บค่าเล่าเรียนที่แพงกว่าการเรียนระบบปกติ เอื้อให้สภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ห้อง เรียน อุปกรณ์ในการเรียนการสอนดีกว่า ซึ่งจะเห็นความแตกต่างได้ชัดในโรงเรียนที่มีทั้งสองระบบในโรงเรียนเดียวกัน รวมทั้งบางแห่งอาจใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องแบบแตกต่าง อาหารและกิจกรรมที่พิเศษกว่านักเรียนภาคภาษาไทย
ซึ่งทางโรงเรียนบอกว่า ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของผู้ปกครองที่เรียกร้องว่าเสียค่าเล่าเรียนแพงก็อยากได้รับการปฏิบัติที่พิเศษ
ความ แตกต่างนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำ ซึ่งบางแห่งที่เห็นจุดเปราะบางตรงนี้ก็ได้พยายามที่จะแก้ปัญหา โดยเอื้อเครื่องมืออุปกรณ์ สื่อการสอนต่างๆ ครูต่างชาติ ของนักเรียนสองภาษามาให้ภาคปกติได้ใช้ร่วมกันด้วย หรือให้นักเรียนภาคปกติจับคู่ติวแลกเปลี่ยนระหว่างสาระวิชาและภาษาอังกฤษกับ นักเรียนโปรแกรมสองภาษา
เด็กเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษจะเอ็นทรานซ์ได้ไหม
ปัจจุบันมีตัวอย่างเด็กโปรแกรมภาษาอังกฤษสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
ได้ โดยเฉพาะโรงเรียนรัฐบาลที่ใช้หลักสูตรพื้นฐานเดียวกันไม่น่าจะมีปัญหา
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากโรงเรียนโยธินบูรณะ และกรุงเทพคริสเตียน ที่ได้มีการประเมิน
คุณภาพนักเรียน ด้วยการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเชิงเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนในโครงการกับภาคปกติ
ผลปรากฏว่าวิชาการต่างๆ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นวิทยาศาสตร์ คะแนนกลางจะไม่สูงมาก ส่วนภาษาอังกฤษนั้นแน่นอนว่าสูงกว่าภาคปกติ
นอก จากนี้ยังมีความกังวลในการทำข้อสอบระดับประเทศ (National Test) ที่เป็นภาษาไทย เด็กอาจสับสนเพราะเรียนเป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องมาทำข้อสอบภาษาไทย จึงต้องมีการเตรียมตัวมากขึ้น โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีศัพท์เทคนิคมาก จึงอาจแก้ไขด้วยการทำดรรชนีคำศัพท์ให้
โรงเรียนหลายแห่งมีการประสานกับ สถาบันภาษาจากทั้งภาครัฐบาลและเอกชน มาทำการทดสอบประเมินผลทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของนักเรียนแต่ละ ช่วงชั้น เพื่อตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนด้วย
นักวิชาการหลายท่าน มองว่า ในอนาคตควรวางยุทธศาสตร์การใช้หลักสูตรโรงเรียนสองภาษา เป็นฐานสร้างความเข้มแข็งให้กับการสอนภาษาอังกฤษโดยรวม และต้องคอยทบทวนว่าโรงเรียนสองภาษา ได้สนองตอบต่อนโยบายที่มุ่งเน้นพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถในการสื่อสาร เจรจาต่อรองในเวทีโลกได้อย่างแท้จริงหรือไม่
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง อยากให้ใคร่ครวญกันก่อนว่า ทางเลือกทางการศึกษา
ทางนี้ ใช่ทางที่นำไปสู่ชีวิตที่สมดุล และความสำเร็จที่แท้จริงตามเป้าหมายที่ครอบครัวของเราวางไว้หรือไม่
เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้
1. ข้อมูล ต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วนตามสภาพจริงที่มีในโรงเรียน ทั้งด้านดีและด้านที่เป็นปัญหาอยู่ เพื่อประเมินสถานการณ์ หากตัดสินใจจะได้เตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เช่น ครูผู้สอน รูปแบบการสอน หลักสูตรที่ใช้ การประเมินผลและแนวทางการศึกษาต่อ เป็นต้น ดูว่าโรงเรียนมีความพร้อมในเรื่องเหล่านี้หรือไม่ โดยอาจหาข้อมูลเบื้องต้นจากเว็บไซต์ สอบถามทางโรงเรียนโดยตรง หรือผ่านผู้ปกครองและนักเรียนที่เรียนอยู่ เพื่อนำมาเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจ ถ้าเป็นไปได้น่าจะเลือกโรงเรียนที่มีประสบการณ์พอสมควร ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว เพื่อลูกของเราจะได้ไม่กลายเป็นหนูทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น