กลุ่มโรงเรียนเลิศหล้า จัดเสวนาความรู้ “เรียนอิงลิชโปรแกรมสำคัญอย่างไรต่อเด็กไทย” เพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม (English Program: EP) แต่ผู้ปกครองหรือพ่อแม่บางคน ยังไม่แน่ใจว่าแท้จริงแล้วลักษณะของ English Program เป็นอย่างไร และจะใช้หลักเกณฑ์ หรือเลือกโรงเรียนลักษณะใดให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการและความพร้อมของเด็กมากที่สุด
ซึ่งภายในงานได้มีคุณพ่อคุณแม่คนดังมาร่วมพูดคุย อาทิ คุณเบิร์ด กุลพงศ์ บุนนาค, คุณแช่ม แช่มรัมย์, คุณหนิง ศรัยฉัตร จีระแพทย์ อาจารย์อัชฌา เสียงหลาย กรรมการอำนวยการกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้า ผู้อำนวยการโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก เปิดเผยว่า “เนื่องจากในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ถูกพัฒนาก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างมาก ดังนั้นการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษจึงเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นและเข้ามามีบทบาทต่อระบบการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก เช่น มีโรงเรียนนานาชาติมากขึ้น มีโรงเรียน Bilingual โรงเรียน English Program โรงเรียน English Immersion Program เป็นต้น และเนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับบ้านเรา จึงมีศัพท์บัญญัติหลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็จะไม่แน่ใจ บางครั้งก็สับสนว่า ลักษณะของโรงเรียนที่กล่าวมานั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อาจารย์ อัชฌา กล่าวต่อ “จริง ๆ แล้ว โรงเรียนสองภาษา (Bilingual) หรือ โรงเรียนหลักสูตรอิงลิช โปรแกรม (English Program: EP) ในประเทศไทย คือ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลาง และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือพูดง่ายๆได้ว่า “ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาแต่สอนเป็นภาษาอังกฤษ” ที่แตกต่างกัน คือ วิชาและอัตราส่วนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย แต่ที่เรียกแตกต่างกัน เนื่องมาจากโรงเรียนเอกชนบางแห่งใช้คำว่า Bilingual หรืออื่น ๆ มานานหลายปีก็จะใช้อย่างนั้นต่อไป ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับโรงเรียนภาคเอกชนที่จัดการเรียนการสอน English Program บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา คือ English Program (หรือ EP) เพื่อให้เป็นแนวทางและความเข้าใจเดียวกัน
สำหรับคำถามที่ว่า “เรียนอิงลิชโปรแกรมสำคัญอย่างไรต่อเด็กไทย” ในฐานะที่กลุ่มโรงเรียนเลิศหล้ามีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา English Program มานานถึง 15 ปี เราพบว่าในสังคมปัจจุบัน English Program มีความเหมาะสมสำหรับเด็กไทยยุคนี้มาก เพราะนอกจากจะได้พัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว อย่าลืมว่าเด็ก ๆ จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยหรือสังคมไทย เขาจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง เพราะภาษาไม่ใช่มีความหมายแค่การสื่อสาร แต่การเรียนภาษานั้นหมายรวมถึงการสื่อสารในด้านวิถีชีวิต วิธีคิด และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของเจ้าของภาษาด้วย นี่เป็นที่มาที่ว่า ทำไมกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้าจึงต้องจัดครูที่เป็นเจ้าของภาษาเท่านั้นเพื่อสอนวิชาต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนของเรา นอกเหนือจากความคิดที่ว่าเพื่อนักเรียนจะได้เรียน และพูดสำเนียงได้ถูกต้องใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา นอกจากจะเป็นเจ้าของภาษา จะต้องมีคุณสมบัติของความเป็นครูที่แท้จริง รักนักเรียน รักที่จะสอน รู้วิธีถ่ายทอด และกระบวนการต่าง ๆ ที่จะพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาที่เราเลือกครูจากประเทศแคนาดา และร่วมมือทางการศึกษากับประเทศแคนาดา เพราะคนแคนาดาพูดภาษาอังกฤษได้ไพเราะมากและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ประเทศแคนาดาได้รับการยอมรับเรื่องคุณภาพของการศึกษาที่ติด 1 ใน 3 ของโลก คนที่จะเป็นครูได้จะต้องจบปริญญาตรีก่อน และศึกษาในวิชาชีพครูอีก 2 ปี ครูของเขาจึงมีคุณภาพมาก เก่ง มีวิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนคิดเป็น เข้าใจสิ่งที่เรียน และนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
อีกประการหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ โรงเรียนมีความโดดเด่นในการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรของเราได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นเอกลักษณ์ และสอดคล้องกับคุณลักษณะนักเรียนของเรา เพราะได้หลอมรวมหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เข้ากับหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งมานิโทบ้า ประเทศแคนาดา ซึ่งมีระบบการจัดการศึกษาสองภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่ประสบผลสำเร็จ เป็นต้นแบบของการสอนสองภาษา และเราเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากประเทศแคนาดา นักเรียนของเราจึงมีคุณสมบัติของ Global standard, local practice คือ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพระดับสากล แต่คงความเป็นไทยไว้ได้ เด็ก ๆ รู้จักวัฒนธรรมไทย มีมารยาท มีสัมมาคารวะ มีความกตัญญู เป็นต้น
การได้เรียนสองภาษา ไม่เพียงแต่จะสอนให้เด็กมีความรู้ (Knowledge) ด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะ (Skill) และขีดความสามารถในการปรับตัวสูงกว่าการเรียนภาษาเดียว ผลจากการวิจัยยืนยันว่า เด็กที่เรียนสองภาษาสามารถพัฒนาไอคิวได้ดีและสูงกว่าการเรียนภาษาเดียว ซึ่งทักษะดังกล่าวช่วยสร้างทัศนคติ (Attitude) ที่ดีให้แก่ตนเอง มีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้น เป็นการพัฒนาให้เกิดจุดแข็งในตนเอง ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนา Capacity Building ให้มีสมรรถนะมากขึ้น อาจารย์อัชฌา กล่าวสรุป
ซึ่งภายในงานได้มีคุณพ่อคุณแม่คนดังมาร่วมพูดคุย อาทิ คุณเบิร์ด กุลพงศ์ บุนนาค, คุณแช่ม แช่มรัมย์, คุณหนิง ศรัยฉัตร จีระแพทย์ อาจารย์อัชฌา เสียงหลาย กรรมการอำนวยการกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้า ผู้อำนวยการโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก เปิดเผยว่า “เนื่องจากในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ถูกพัฒนาก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างมาก ดังนั้นการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษจึงเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นและเข้ามามีบทบาทต่อระบบการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก เช่น มีโรงเรียนนานาชาติมากขึ้น มีโรงเรียน Bilingual โรงเรียน English Program โรงเรียน English Immersion Program เป็นต้น และเนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับบ้านเรา จึงมีศัพท์บัญญัติหลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็จะไม่แน่ใจ บางครั้งก็สับสนว่า ลักษณะของโรงเรียนที่กล่าวมานั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อาจารย์ อัชฌา กล่าวต่อ “จริง ๆ แล้ว โรงเรียนสองภาษา (Bilingual) หรือ โรงเรียนหลักสูตรอิงลิช โปรแกรม (English Program: EP) ในประเทศไทย คือ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลาง และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือพูดง่ายๆได้ว่า “ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาแต่สอนเป็นภาษาอังกฤษ” ที่แตกต่างกัน คือ วิชาและอัตราส่วนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย แต่ที่เรียกแตกต่างกัน เนื่องมาจากโรงเรียนเอกชนบางแห่งใช้คำว่า Bilingual หรืออื่น ๆ มานานหลายปีก็จะใช้อย่างนั้นต่อไป ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับโรงเรียนภาคเอกชนที่จัดการเรียนการสอน English Program บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา คือ English Program (หรือ EP) เพื่อให้เป็นแนวทางและความเข้าใจเดียวกัน
สำหรับคำถามที่ว่า “เรียนอิงลิชโปรแกรมสำคัญอย่างไรต่อเด็กไทย” ในฐานะที่กลุ่มโรงเรียนเลิศหล้ามีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา English Program มานานถึง 15 ปี เราพบว่าในสังคมปัจจุบัน English Program มีความเหมาะสมสำหรับเด็กไทยยุคนี้มาก เพราะนอกจากจะได้พัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว อย่าลืมว่าเด็ก ๆ จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยหรือสังคมไทย เขาจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง เพราะภาษาไม่ใช่มีความหมายแค่การสื่อสาร แต่การเรียนภาษานั้นหมายรวมถึงการสื่อสารในด้านวิถีชีวิต วิธีคิด และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของเจ้าของภาษาด้วย นี่เป็นที่มาที่ว่า ทำไมกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้าจึงต้องจัดครูที่เป็นเจ้าของภาษาเท่านั้นเพื่อสอนวิชาต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนของเรา นอกเหนือจากความคิดที่ว่าเพื่อนักเรียนจะได้เรียน และพูดสำเนียงได้ถูกต้องใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา นอกจากจะเป็นเจ้าของภาษา จะต้องมีคุณสมบัติของความเป็นครูที่แท้จริง รักนักเรียน รักที่จะสอน รู้วิธีถ่ายทอด และกระบวนการต่าง ๆ ที่จะพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาที่เราเลือกครูจากประเทศแคนาดา และร่วมมือทางการศึกษากับประเทศแคนาดา เพราะคนแคนาดาพูดภาษาอังกฤษได้ไพเราะมากและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ประเทศแคนาดาได้รับการยอมรับเรื่องคุณภาพของการศึกษาที่ติด 1 ใน 3 ของโลก คนที่จะเป็นครูได้จะต้องจบปริญญาตรีก่อน และศึกษาในวิชาชีพครูอีก 2 ปี ครูของเขาจึงมีคุณภาพมาก เก่ง มีวิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนคิดเป็น เข้าใจสิ่งที่เรียน และนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
อีกประการหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ โรงเรียนมีความโดดเด่นในการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรของเราได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นเอกลักษณ์ และสอดคล้องกับคุณลักษณะนักเรียนของเรา เพราะได้หลอมรวมหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เข้ากับหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งมานิโทบ้า ประเทศแคนาดา ซึ่งมีระบบการจัดการศึกษาสองภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่ประสบผลสำเร็จ เป็นต้นแบบของการสอนสองภาษา และเราเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากประเทศแคนาดา นักเรียนของเราจึงมีคุณสมบัติของ Global standard, local practice คือ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพระดับสากล แต่คงความเป็นไทยไว้ได้ เด็ก ๆ รู้จักวัฒนธรรมไทย มีมารยาท มีสัมมาคารวะ มีความกตัญญู เป็นต้น
การได้เรียนสองภาษา ไม่เพียงแต่จะสอนให้เด็กมีความรู้ (Knowledge) ด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะ (Skill) และขีดความสามารถในการปรับตัวสูงกว่าการเรียนภาษาเดียว ผลจากการวิจัยยืนยันว่า เด็กที่เรียนสองภาษาสามารถพัฒนาไอคิวได้ดีและสูงกว่าการเรียนภาษาเดียว ซึ่งทักษะดังกล่าวช่วยสร้างทัศนคติ (Attitude) ที่ดีให้แก่ตนเอง มีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้น เป็นการพัฒนาให้เกิดจุดแข็งในตนเอง ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนา Capacity Building ให้มีสมรรถนะมากขึ้น อาจารย์อัชฌา กล่าวสรุป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น