วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เตรียมเปิดหลักสูตร EP ให้เรียนฟรีเปิดโอกาส นักเรียนยากจน

 สพฐ.เตรียมเปิดหลักสูตร English Programs (EP) นำร่อง 2 โรงโดยผู้ปกครองไม่ต้องควักกระเป๋าเพิ่ม ในปีการศึกษา 52 เพื่อเพิ่มช่องทางให้เด็กยากจนได้มีโอกาสเรียน
       คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีแนวคิดที่เปิดสอนหลักสูตร English Programs (EP) ในโรงเรียนปกตินำร่อง 1 หรือ 2 โรง ในปีการศึกษา 2552 โดยจะให้เรียนฟรีและไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในเบื้องต้นคิดว่าจะส่งครูไทยที่เก่งภาษาไปอบรมภาษาอังกฤษ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับมหาวิทยาลัยออสเตรเลียหรือมหาวิทยาลัยใน เมืองไทย ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะพัฒนาครูไทยที่เก่งด้านภาษา ให้มีความสามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ตนจะไปหารือกับโรงเรียนทวีวัฒนา ซึ่งเปิดสอน EP โดยไม่มีการเรียกเก็บจากผู้ปกครองเพิ่มเติมอีก
      
       “หลายฝ่ายมองว่า หากเป็นครูไทยสอนจะไม่มีความเลื่อมใสจากนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งในช่วงแรก ดิฉันคิดว่าอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่หากสามารถที่จะประเมินได้ ทั้งในแง่ความสามารถในการใช้ภาษาและรวมทั้งความรู้ในเรื่องของสาระก็สามารถ ทำได้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรจะมีบริการสำหรับเด็กที่ไม่มีฐานะดีพอที่จะไปเสียเงินเรียนหลักสูตรดัง กล่าว ซึ่งเด็กเหล่านี้ก็ต้องได้รับโอกาสเช่นเดียวกัน “ เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
      
       คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ในอนาคตจะนำนักเรียนที่จบ EP. มาสอนเป็น 2 ภาษา เนื่องจากเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่จะสามารถสอนโรงเรียนที่เปิด EP ในปัจจุบันได้ เพราะมีจำนวนนักเรียนที่จบมาแล้วในแต่ละปีมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสำหรับอัตราค่าตอบแทนนั้น ศธ.จะบรรจุให้เป็นครู นอกจากนี้อาจจะมีทุนการศึกษาให้กับนักเรียน หลังจากนั้นเด็กที่ได้รับทุนการศึกษาต้องกลับมาสอน ซึ่งอาจจะเป็นทุนของ สพฐ.หรือ ศธ.โดยจะเลือกจากคนที่มีพื้นฐานภาษาดีอยู่แล้ว ที่จบในสาขาตรงและสามารถส่งไปเรียนเพิ่มเติมในการเรียนการสอนได้
      
       นายชัยอนันต์ แก่นดี ผู้ อำนวยการโรงเรียนทวีวัฒนา เปิดเผยว่า เมื่อปี 50 ตนทดลองเปิดสอน EP ชั้น ม. 1 จำนวน 1 ห้อง ใน 3 รายวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอังกฤษ โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเน้นความเข้มข้น เพื่อให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น แต่ให้อาจารย์ไทยเป็นผู้สอน ซึ่งมีการตอบรับดีมากจากผู้ปกครอง เนื่องจากโรงเรียนไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่โรงเรียนใช้เงินอุดหนุน รายหัวนักเรียนมาดำเนินการ
      
       “สมัยที่ตนบริหารโรงเรียนสวนกุหลาบ ได้ร่างหลักสูตร EP ไว้ เมื่อย้ายมาบริหารที่ทวีวัฒนาจึงได้ดัดแปลงหลักสูตรดังกล่าวให้เหมาะสมกับ เด็ก เพื่อให้เด็กที่นี่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งเด็กที่เรียนหลักสูตร EP รายหนึ่ง ได้เกรดเฉลี่ย 3.97 และเด็กรายนี้ได้ย้ายโรงเรียนไปเรียนที่สวนกุหลาบ”
      
       นายชัยอนันต์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังมีแนวคิดที่จะให้เขย สะใภ้ ที่มีความมีเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษมาสอน แต่จะให้ค่าตอบแทนบ้าง ซึ่งมีชาวฟิลิปปินส์หลายรายติดต่อเข้ามาแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน เสนอว่าให้จ้างอาจารย์ชาวต่างชาติที่โรงเรียนจ้างมาสอนอยู่ขณะนี้ไปสอนก็ได้ โดยคิดชั่วโมงละ 500 บาท ซึ่งตนยังไม่ได้ตัดสินใจเพราะว่าการที่จะนำเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนมาจ่าย เพื่อเด็ก 50 คนนั้นจะเกิดปัญหาตามมาหรือไม่ เกรงว่าจะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเลือกปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น