วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

เสวนาวิชาการ เรื่อง ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

      จากบทความก่อนหน้านี้ที่ผมเขียนเกี่ยวกับประเด็นหนึ่งที่ มีความสําคัญต่อการเีรียนวิชาพื้นฐาน เป็นภาษาอังกฤษ ก็คือการเริ่มต้นของการก้าวเข้าไปสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยเรา ซึ่งเป็นประเด็นสําคัญมากกับการศึกษาของเราและเพื่อนๆ เพราะ เราต้องเตรียมพร้อมทั้งด้านวิชาการและภาษาในอนาคตอันใกล้นี้เพื่อสามารถแข่งขันกับแรงงานต่างประเทศที่กํา่ลังเข้ามาทํางานในประเทศไทยได้  ซึ่งจากความสําคัญนี้ มีหน่วยงานทางการศึกษาหลายแห่งได้เริ่มทําการเผยแพร่แนวทางและความรู้เพื่อให้ นักเรียนและผู้ปกครอง สามารถวางแผนและเตรียมความพร้อมทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม และหนึ่งในนั้นคือโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม ซึ่งได้จัดการเสวนาวิชาการเรื่อง ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2554 เวลา 8.30 - 12.00 ณ หอประชุมโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม  ในงานนี้มีนักวิชาการชื่อดังหลายท่านมาร่วมเสวนาด้วยครับ อธิ 

             นาวาตรีอิทธิ  ดิษฐบรรจง (อธิบดีกรมอาเซียน) 
            ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ (เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) 
            ศาสตราจารย์ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส) และ 
            ดร.ศศิธารา   พิชัยชาญณรงค์    (เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา )

โดยเพื่อนๆ สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ แต่เพื่อนๆต้องรีบจองที่นั่งนะครับ เพราะรับจํานวนจํากัดครับ


ความสําคัญของการเีรียนวิชาพื้นฐาน เป็นภาษาอังกฤษ ( เขียนจากตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง)

สวัสดีครับ  เมื่อวันที่ 14 มีนา เราก็พึ่งเสร็จ การตอบปัญหา คณิตศาสตร์ ที่เป็น โจทย์ ภาษาอังกฤษ เพื่อให้ เพื่อนๆ และผู้ปกครอง เห็นความแตกต่างของความสำคัญของการเรียนวิชาพื้นฐานต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ

โจทย์ เลข หรือ วิทยาศาสตร์ บางข้อ หากเราถามหรือเขียนเป็น ภาษาไทย เพิื่อนๆ ทุกคนก็คงสามารถทําได้อย่างไม่ยากนัก แต่โจทย์เดียวกันนี้ หากนํามาถามหรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้ว จากที่เราได้ทําการร่วมสนุกตอบคําถามชิงรางวัลกัน ผมพบว่าเพื่อนๆ จะตอบผิดเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเวลาที่มีคําศัพท์ เฉพาะ หรือ ไวยกรณ์ที่อาจไม่คุ้นเคย ยิ่งทําให้ ไม่เข้าใจคําถามและตอบผิดในที่สุด

จากเหตุการณ์ข้างต้นนี้จึงนํามาสู่ความคิดที่ว่า หลักสูตรการเรียนการสอน หรือ การเสริมการเรียนของเพื่อนๆ หากได้เข้าเรียนในโรงเรียนสองภาษา หรือ กวดวิชา ที่ สอนเป็นสองภาษา น่าจะ ได้ประโยชน์มากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเพื่อนๆ วางแผนไปเรียนต่อในต่างประเทศ หรือ ในสาขาที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ อย่างมาก

นอกจากนั้น อีกประเด็นหนึ่งที่ มีความสําคัญต่อการเีรียนวิชาพื้นฐาน เป็นภาษาอังกฤษ ก็คือการเริ่มต้นของการก้าวเข้าไปสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยเรา ซึ่งนับว่าน่าเป็นประเด็นสําคัญมากกับการศึกษาของเราและเพื่อนๆ เพราะ เราต้องเตรียมพร้อมทั้งด้านวิชาการและภาษาในอนาคตอันใกล้นี้เพื่อสามารถแข่งขันกับแรงงานต่างประเทศที่กํา่ลังเข้ามาทํางานในประเทศไทยได้นั่นเอง

หากเพื่อนๆ สนใจ ข้อมูลเกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียนและผลกระทบกับการศึกษา่ของไทยเรา สามารถร่วมการเสวนา เรื่อง ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2554 เวลา 8.30 - 12.00 ณ หอประชุมโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ครับ

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาเชาว์ ของ หลักสูตร English Program

สวัสดีครับ วันก่อนผมนําวิดีโอของสถาบันที่สอน กวดวิชาเลขเป็นภาษาอังกฤษ ดูแล้วน่าสนใจดี วันนี้เลยพยายามไปหาโจทย์เลขที่เป็นกึ่งๆ เชาว์ด้วย มาลองให้เพื่อนๆ ลองทํากันครับ

ผมอ่านดูแล้วไม่ยากมาก เพียงแต่ต้องคิดรอบคอบนิดหนึ่งครับ

ลองดูนะครับ

1. I looked out my window and saw a group of children and dog playing in my back yard, Icounted 17 heads and 44 feet. W...hat is the product of the number of children and the number of dog in my backyard?

2. A fish consists of a head, a body and a tail. The head is 9 cm long. The tail is as long the head and half the body, the body is as long as the head plus the tail. In cm, find the length of fish.

3. A science lab seating 35 pupils has 3 times as many single desks as double desks. If all of the places are occupied. Find the number of single desk.

4.Mikalia can mow a soccer field with her lawn mower in 4 hours. Andre can mow the same field with his lawn mower in 2 hours. How long will it take the two of them working together to mow the field?


ถ้าเพื่อนๆ มีโจทย์ของ English Program มาแชร์กันก็ได้นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

คณิตศาสตร์ English Program @ SmartEP

สวัสดีครับ วันนี้ พอดี ลองหา วีดีโอ การสอน คณิตศาสตร์ ของ โปรแกรมสองภาษา หรือ English Program ทาง youtube.com แล้วเจอของที่ สถาบันแห่งหนึ่ง ดูน่าสนใจดีครับ เลย เก็บมาฝาก 

อาจารย์ที่นี่ มีจุดเด่นตรง สอนเป็นภาษาอังกฤษ และ มีเทคนิคการทําโจทย์ที่น่าสนใจ  พูดและเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไม่ยากที่จะเรียนตาม  เหมาะกับเด็กนักเรียนที่อาจพื้นฐานไม่แน่น หรือ ช่วงปรับตัวเข้ากับ English Program ใหม่ๆ



ถ้าเพื่อนๆ มีแนะนําวีดีโอดีๆ คอมเมนต์มาได้นะครับ

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนกวดวิชาที่สอนวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ เราควรเรียนแบบที่สอนโดย คนไทย หรือ คนต่างประเทศ ดีเอ่ย

         โรงเรียนกวดวิชาที่สอนวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ เราควรเรียนแบบที่สอนโดย คนไทย หรือ คนต่างประเทศ ดีเอ่ย

          ผู้เขียนคิดว่า ขึ้นกับ พื้นฐานทางด้าน ภาษา และ วิชาการของ เด็ก เช่น ถ้า เด็ก มีพื้นฐานภาษาไม่ดี เลย คือ อยู่ในระดับที่ สื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้  เราควรเริ่มที่ ครูคนไทย ที่ สอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยต้องเลือกที่ ครูไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องโดยแน่นอนว่า สําเนียงย่อมไม่เท่ากับ ชาวต่างชาติ แต่ ข้อดีคือ ครูคนไทยจะสามารถพูดไทยและเข้าใจความหมายที่เด็กที่พื้นฐานไม่ดีพยายามสื่อ สารได้ ดังนั้นจะค่อยๆ ประัคับประคองให้เด็กค่อยๆ มีพื้นฐานภาษาและวิชาการดีขึ้นตามลําดับ และ ข้อดีอีกข้อ ของครูไทย คือ ครูไทยจะสามารถสอนตามหลักสูตรกระทรวงได้ลึกกว่าในวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ซึ่ง อาจารย์ฝรั่งไม่สามารถทําได้

          จากเหตุผลนี้ ผู้เขียนจึงแนะนําว่า  เริ่มเรียน กับ ครูไทย (ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ) ในช่วงแรกให้ เด็ก มีพื้นฐานทั้งภาษาและวิชาการมากก่อน แล้วในลําดับต่อมาจึงอาจไปเสริมเรื่อง การฟัง และ การพูด กับ อาจารย์ต่างประเทศ  ส่วนในช่วงเตรียมสอบ สอบเข้า หรือ เข้ามหาวิทยาลัย ก็ เรียนเสริมกับ ครูไทย (ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ) เพื่อให้ได้วิชาการพร้อมมากที่สุด
          
          เพื่อนๆ มีคําถามหรือสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสามารถ ถามมายัง facebook หรือ อีเมล ได้นะครับ
  

English Program ไม่ยากอย่างที่คิด

        การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนสาขาวิชา English Program นี้ ทางด้านครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจเสียก่อนว่า นักเรียนที่เรียนในโปรแกรมนี้โดยส่วนใหญ่ หรือแทบจะทั้งหมดของหลากหลายวิชาหลัก คือการเรียนกับครูชาวต่างชาติ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านการสอนจากครูคนไทยมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมภายในชั่วโมงเรียน หรือการใช้คำพูดเพื่อการสื่อสาร ลักษณะการสอนของครูต่างชาติมักจะเน้นให้เด็กไทยได้แสดงออกทางด้านภาษาจาก กิจกรรมภายในห้องเรียน รวมไปถึงการสร้างความตื่นตัวทางด้านการรับรู้ของเด็กไทย ซึ่งครูต่างชาติมีกิจกรรมหลากหลายที่คัดสรรมาเพื่อสร้างความตื่นเต้นให้แก่ เด็กภายในชั่วโมงเรียนนั้น ๆ และอีกหลากหลายอย่างที่ครูต่างชาติได้มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ต่าง จากแบบที่เด็กไทยเคยได้รับมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นโครงงานต่าง ๆ ที่ครูจัดสรรมาให้กับเด็กเอง

          เมื่อเราสามารถมองเห็น ภาพการสอนของครูต่างชาติออกแล้วนั้น สิ่งที่เด็กไทยควรนำมาปรับเพื่อให้เกิดศักยภาพในตัวเด็กได้อย่างสูงที่สุด คือ การพัฒนาทางด้านภาษาที่ใช้สื่อสารเป็นลำดับแรก อย่าลืมว่าถ้าหากบุตรหลาน หรือแม้แต่ตัวของคุณเองฟังการสื่อสารจากบุคคลหนึ่ง แต่ไม่ได้เข้าใจในเนื้อหาที่บุคคลนั้นสื่อสารมา ก็จะเป็นที่แน่นอนว่าเราก็ไม่สามารถที่จะตอบโต้กลับใด ๆ ได้ทั้งสิ้น และเมื่อไม่มีการโต้ตอบซึ่งการสื่อสารระหว่างกันในความเข้าใจ ก็เท่ากับว่าการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program กลับ กลายเป็นการสร้างปัญหาที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ตัวคุณ และบุตรหลานของคุณมากขึ้นเป็นลำดับ 


          ดังนั้นจึงควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือการเพิ่มทักษะในการทำความเข้าใจทางด้าน ภาษาอังกฤษให้เพิ่มมากขึ้นในขณะเดียวกันก็ควรส่งเสริมการเรียนวิชาการเพิ่มในแบบที่สอนเป็น ภาษาอังกฤษ ซึ่ง อาจเป็น โรงเรียนกวดวิชา ต่างๆ หรือ การสอนแบบตัวต่อตัว  อย่างไรก็ตาม ผู้เขียน เห็นว่า ไปเรียนเพิ่มที่ โรงเรียนกวดวิชา น่าจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า การเรียนตัวต่อตัว โดยต้องเน้นว่าต้องเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษด้วยครับ  เพราะ เด็กจะได้คุ้นเคยกับการใช้ทักษะต่างๆ เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียน และ คำศัพท์ต่า่งๆ ที่จําเป็นในวิชาต่างๆ  

          อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ถ้าโรงเรียนกวดวิชาที่สอนวิชาต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ เราควรเรียนแบบที่สอนโดย คนไทย หรือ คนต่างประเทศ ดี
          ผู้เขียนคิดว่า ขึ้นกับ พื้นฐานทางด้าน ภาษา และ วิชาการของ เด็ก เช่น ถ้า เด็ก มีพื้นฐานภาษาไม่ดี เลย คือ อยู่ในระดับที่ สื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้  เราควรเริ่มที่ ครูคนไทย ที่ สอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยต้องเลือกที่ ครูไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องโดยแน่นอนว่า สําเนียงย่อมไม่เท่ากับ ชาวต่างชาติ แต่ ข้อดีคือ ครูคนไทยจะสามารถพูดไทยและเข้าใจความหมายที่เด็กที่พื้นฐานไม่ดีพยายามสื่อสารได้ ดังนั้นจะค่อยๆ ประัคับประคองให้เด็กค่อยๆ มีพื้นฐานภาษาและวิชาการดีขึ้นตามลําดับ และ ข้อดีอีกข้อ ของครูไทย คือ ครูไทยจะสามารถสอนตามหลักสูตรกระทรวงได้ลึกกว่าในวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ซึ่ง อาจารย์ฝรั่งไม่สามารถทําได้

          จากเหตุผลนี้ ผู้เขียนจึงแนะนําว่า  เริ่มเรียน กับ ครูไทย (ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ) ในช่วงแรกให้ เด็ก มีพื้นฐานทั้งภาษาและวิชาการมากก่อน แล้วในลําดับต่อมาจึงอาจไปเสริมเรื่อง การฟัง และ การพูด กับ อาจารย์ต่างประเทศ  ส่วนในช่วงเตรียมสอบ สอบเข้า หรือ เข้ามหาวิทยาลัย ก็ เรียนเสริมกับ ครูไทย (ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ) เพื่อให้ได้วิชาการพร้อมมากที่สุด
          
          เพื่อนๆ มีคําถามหรือสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสามารถ ถามมายัง facebook หรือ อีเมล ได้นะครับ
  

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

แบบไหนเรียกว่าโรงเรียนสองภาษา

สวัสดีครับ วันนี้มีบทความดีดีมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ อีกละครับ  ผมเชื่อว่าผู้ปกครองหลายๆท่านยังอาจไม่คุ้นเคยกับ คําว่า โรงเรียนสองภาษา  English Program  Biligual  MEP  EP  ซึ่งแต่ละคําจริงๆแล้วบางส่วนถูกเรียกขึ้นมาโดยโรงเรียนเจ้าของหลักสูตร และ บางคําตั้งขึ้นจากกระทรวงศึกษา  ดังนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ และผู้ปกครองทุกท่าน รู้ความแตกต่างของแต่ละประเภทของโรงเรียนสองภาษา วันนี้ผมนําข้อมูลดีดีมาแบ่งครับ


เนื่องจากทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษา จึงขออนุญาตรวบรวมข้อมูลโรงเรียนสองภาษามาลงไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งไม่ได้เป็นข้อมูลของผู้เขียนแต่อย่างใด


กระทรวงศึกษาธิการได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับโรงเรียนสองภาษา ซึ่งถือเป็นมาตรฐานกำหนดแนวทางการเรียนการสอนของโรงเรียนประเภทนี้ทั้ง โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ว่า... เป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะทางภาษาของผู้เรียน และในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของความผสมผสานเป็นสากล...

ที่ผ่านมามีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
English Program (EP) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นภาษาไทย และสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย

Mini English Program (MEP) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ไม่เกิน 50% ของชั่วโมงสอนทั้งหมดต่อสัปดาห์

แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับก่อนประถม (อนุบาล) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ไม่เกิน 50% ของ
เวลาที่จัดกิจกรรม รับนักเรียนไม่เกินห้องละ 25 คน

ระดับ ประถมศึกษา จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา โดยคำนึงถึงความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชานั้นควบคู่กับภาษาอังกฤษ รับนักเรียนไม่เกินห้องละ 30 คน

ระดับมัธยมศึกษา จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นภาษาไทย และสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย รับนักเรียนไม่เกินห้องละ 30 คน

ค่าเล่าเรียนแพงกว่าเท่าไร
โรงเรียน สองภาษาของรัฐบาล อนุญาตให้เก็บค่าเล่าเรียนในระดับ ม.ปลายไม่เกิน 40,000 บาทต่อภาคการศึกษา และม.ต้นไม่เกิน 35,000 บาทต่อภาคการศึกษา

ส่วนในโรงเรียนเอกชนจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนเอง
ภาย ใต้ข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาฯ นอกจากนี้บางแห่งอาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของกิจกรรมต่างๆ หรือจัดให้นักเรียนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ ทั้ง TOEFL, IELTS ซึ่งอาจใช้จ่ายเพิ่มเติม

เมื่อคำนวณแล้วจะสูงกว่าการเรียนภาคปกติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนนานาชาติ และการไปเรียนต่อต่างประเทศ ก็ถือว่าถูกกว่า

ใช้หลักสูตร และตำราเรียนแบบไหน
เนื่อง จากหลักสูตรมาตรฐานฉบับภาษาอังกฤษของโรงเรียนสองภาษาโดยตรงที่กระทรวงศึกษาฯ กำลังทำอยู่นั้น ยังไม่มีกำหนดแล้วเสร็จที่แน่นอน ที่ผ่านมาแต่ละโรงเรียนจึงใช้หลักสูตรและตำราเรียนที่หลากหลาย
แต่ถ้าเป็นโรงเรียนของรัฐบาลก็จะปรับใช้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เป็นหลัก

พอจะสรุปได้ว่า
1. ใช้ตำราเรียนจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเอกชนที่ใช้หลักสูตรของต่างประเทศมาสอน ทั้งจากอังกฤษและสิงคโปร์ ซึ่งเนื้อหาบางส่วนอาจไม่สอดคล้องกับสังคมไทย

2. แปลตำราภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยพื้นฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาฯแบบ content by content ซึ่งอาจทำให้ดูไม่ต่างจากการเรียนในภาคภาษาไทยปกติมากนัก

3. แปลตำราภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยยึดจุดประสงค์สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาฯ มาประยุกต์เข้ากับกิจกรรมการสอน

4. ครูผู้สอนคัดเลือกจากหลักสูตรไทยและต่างประเทศควบคู่กัน เน้นเนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้แล้วทำเป็นรูปเล่มตำราใหม่

ทั้งนี้แต่ละโรงเรียนอาจประยุกต์หลายแบบมารวมกันได้
ซึ่งในเรื่องของหลักสูตรจะเห็นได้ว่าขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนดำเนินการเอง ยังขาดความเป็นมาตรฐานกลาง

จึง อาจส่งผลถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน เมื่อต้องเข้าสู่ระบบการแข่งขันกับนักเรียนในภาคปกติที่ข้อสอบเป็นภาษาไทย โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะมีศัพท์เทคนิค และมีรายละเอียดของการทดลองมาเป็นข้อจำกัด ไม่สามารถลงลึกในหลักวิชาเหมือนในภาคปกติได้ ซึ่งเป็นจุดบกพร่องที่พบและหลายแห่งพยายามแก้ไข

เรียนสองภาษาดีแน่หรือ
เมื่อ โรงเรียนสองภาษาเริ่มมีบทบาทในวงการศึกษามากขึ้น และเป็นกระแสที่พ่อแม่สนใจ ส่งผลให้เกิดงานวิจัยโดยคุณปานจิต รัตนพล และคณะศึกษาปริญญาโท คณะครุศาสตร์จุฬาฯ เลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจงโรงเรียน 4 แห่ง พอจะทำให้เห็นภาพความเคลื่อนไหว สภาพการณ์และปัญหาของการจัดการศึกษาในโรงเรียนสองภาษาในเวลานี้ชัดขึ้น
 ด้านครูผู้สอน
ในหนึ่งห้องเรียนจะมีครูชาวต่างชาติ และครูไทยร่วมกันจัดการเรียนการสอน โดยวิชา
ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จะเป็นครูต่างชาติสอน ส่วนในด้านวิชาที่ต้องคงความเป็นไทย เช่น ศาสนา ภาษาไทย สังคมไทย อาจารย์คนไทยจะสอนประกอบกัน
ด้วยจำนวนนักเรียนน้อยจึงดูแลได้ทั่วถึง เอื้อให้ครูรับทราบปัญหาของนักเรียนได้เป็น
รายบุคคล โดยมีข้อกำหนดว่าครูไทยที่สอนร่วมต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี ได้คะแนนโทเฟล 550 คะแนนขึ้นไป

ปัญหา
ด้วยเหตุที่มีการเปิดการเรียนระบบสองภาษามากขึ้นในโรงเรียนต่างๆ ทำให้ขาดแคลนครูต่างชาติ และบางแห่งครูไทยก็ได้คะแนนโทเฟลไม่ถึง 550

ปัญหาครูต่างชาติเจ้าของภาษาสร้างความยุ่งยากให้ทางโรงเรียนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่หลายๆ สาเหตุด้วยกัน เช่น
 ครูต่างชาติบางคนแม้จะมีวุฒิหรือความรู้ทางวิชาการด้านที่ต้องการ แต่ไม่ได้จบด้านการสอนด้วย ทำให้ถ่ายทอดความรู้ได้ไม่ดี
 ครูต่างชาติอยู่สอนไม่นาน อาจเป็นนักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาที่เพิ่งจบมาท่องเที่ยวหาประสบการณ์ชีวิต ทำให้เกิดภาวะขาดครูบ่อยๆ และขาดความต่อเนื่องในการสอน
 ครูขาดคุณภาพ ไม่มีทักษะในการถ่ายทอดและสื่อความหมายเท่าที่ควร ไม่เข้าใจจิตวิทยาเด็ก คุมห้องเรียนไม่ได้ กระทั่งทำใบปริญญาปลอม
ทางกระทรวง ศึกษาฯ ได้ช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้นด้วยการจัดตั้งศูนย์รับครู ทั้งชาวไทยและต่างชาติ และประสานงานกับสถานทูต สถาบันการศึกษาในต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนครูมาสอน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน

 ด้านการจัดการเรียนการสอน
เนื่อง ด้วยจำนวนนักเรียนต่อห้องน้อย ส่วนใหญ่จึงสามารถจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ ใช้การเล่นเกม กิจกรรมมาเป็นสื่อการสอน มากกว่าการสอนด้วยการบรรยาย และมีสื่อการเรียนการสอนทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือประกอบการเรียนจากต่างประเทศที่มักมีรูปเล่มสวยงาม กระตุ้นให้อยากเปิดอ่าน

บางแห่งมีการจัดการสอนเสริมวิชาต่างๆ เป็นภาษาไทย โดยครูไทยในช่วงเย็นหลักเลิกเรียน ในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

เนื่องจากเด็กไทยบางคนที่เข้าเรียนโปรแกรมนี้ อาจยังไม่ชินสำเนียงภาษา หรือไม่เข้าใจศัพท์ ปัญหา
เด็ก ที่ไม่ได้เรียนสองภาษามาตั้งแต่ต้น หรือไม่มีทักษะทางด้านภาษามาก่อน ต้องใช้ความพยายามในการเรียนมากขึ้นเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะหากเข้ามาเรียนในช่วงชั้นที่สูง วิชาการต่างๆ ยากขึ้น

ผู้ปกครองต้องเข้ามาช่วยเหลือลูกมากขึ้น และยังมีปัญหาอื่นๆ ที่พบในการเรียนการสอนดังนี้

 เด็กไม่คุ้นกับระบบการเรียนที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ในการทำกิจกรรมร่วมกับครูและเพื่อน จะมีปัญหาการปรับตัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเมื่อครูถาม โดยเฉพาะในช่วงชั้นแรกที่เปลี่ยนจากระบบธรรมดามาเรียนในระบบสองภาษา

 การย้ายเข้าระหว่างปีการศึกษา เช่นจาก ป.4 มาเข้าสองภาษาตอน ป.5 ในขณะที่เพื่อนๆ เรียนมาตั้งแต่ ป.1 ก็จะมีปัญหาตามเพื่อนไม่ทัน เข้ากับระบบไม่ได้ เกิดความเครียดกังวล

 การเรียนเสริมทำให้เด็กค่อนข้างเครียด และขาดเวลาสำหรับการพัฒนาด้านอื่นๆ

 ด้านสภาพแวดล้อม
การเก็บค่าเล่าเรียนที่แพงกว่าการเรียนระบบปกติ เอื้อให้สภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ห้อง เรียน อุปกรณ์ในการเรียนการสอนดีกว่า ซึ่งจะเห็นความแตกต่างได้ชัดในโรงเรียนที่มีทั้งสองระบบในโรงเรียนเดียวกัน รวมทั้งบางแห่งอาจใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องแบบแตกต่าง อาหารและกิจกรรมที่พิเศษกว่านักเรียนภาคภาษาไทย

ซึ่งทางโรงเรียนบอกว่า ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของผู้ปกครองที่เรียกร้องว่าเสียค่าเล่าเรียนแพงก็อยากได้รับการปฏิบัติที่พิเศษ

ความ แตกต่างนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำ ซึ่งบางแห่งที่เห็นจุดเปราะบางตรงนี้ก็ได้พยายามที่จะแก้ปัญหา โดยเอื้อเครื่องมืออุปกรณ์ สื่อการสอนต่างๆ ครูต่างชาติ ของนักเรียนสองภาษามาให้ภาคปกติได้ใช้ร่วมกันด้วย หรือให้นักเรียนภาคปกติจับคู่ติวแลกเปลี่ยนระหว่างสาระวิชาและภาษาอังกฤษกับ นักเรียนโปรแกรมสองภาษา

เด็กเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษจะเอ็นทรานซ์ได้ไหม
ปัจจุบันมีตัวอย่างเด็กโปรแกรมภาษาอังกฤษสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
ได้ โดยเฉพาะโรงเรียนรัฐบาลที่ใช้หลักสูตรพื้นฐานเดียวกันไม่น่าจะมีปัญหา
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากโรงเรียนโยธินบูรณะ และกรุงเทพคริสเตียน ที่ได้มีการประเมิน
คุณภาพนักเรียน ด้วยการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเชิงเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนในโครงการกับภาคปกติ
ผลปรากฏว่าวิชาการต่างๆ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นวิทยาศาสตร์ คะแนนกลางจะไม่สูงมาก ส่วนภาษาอังกฤษนั้นแน่นอนว่าสูงกว่าภาคปกติ

นอก จากนี้ยังมีความกังวลในการทำข้อสอบระดับประเทศ (National Test) ที่เป็นภาษาไทย เด็กอาจสับสนเพราะเรียนเป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องมาทำข้อสอบภาษาไทย จึงต้องมีการเตรียมตัวมากขึ้น โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีศัพท์เทคนิคมาก จึงอาจแก้ไขด้วยการทำดรรชนีคำศัพท์ให้
โรงเรียนหลายแห่งมีการประสานกับ สถาบันภาษาจากทั้งภาครัฐบาลและเอกชน มาทำการทดสอบประเมินผลทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของนักเรียนแต่ละ ช่วงชั้น เพื่อตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนด้วย

นักวิชาการหลายท่าน มองว่า ในอนาคตควรวางยุทธศาสตร์การใช้หลักสูตรโรงเรียนสองภาษา เป็นฐานสร้างความเข้มแข็งให้กับการสอนภาษาอังกฤษโดยรวม และต้องคอยทบทวนว่าโรงเรียนสองภาษา ได้สนองตอบต่อนโยบายที่มุ่งเน้นพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถในการสื่อสาร เจรจาต่อรองในเวทีโลกได้อย่างแท้จริงหรือไม่


สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง อยากให้ใคร่ครวญกันก่อนว่า ทางเลือกทางการศึกษา
ทางนี้ ใช่ทางที่นำไปสู่ชีวิตที่สมดุล และความสำเร็จที่แท้จริงตามเป้าหมายที่ครอบครัวของเราวางไว้หรือไม่

เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้
1. ข้อมูล ต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วนตามสภาพจริงที่มีในโรงเรียน ทั้งด้านดีและด้านที่เป็นปัญหาอยู่ เพื่อประเมินสถานการณ์ หากตัดสินใจจะได้เตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เช่น ครูผู้สอน รูปแบบการสอน หลักสูตรที่ใช้ การประเมินผลและแนวทางการศึกษาต่อ เป็นต้น ดูว่าโรงเรียนมีความพร้อมในเรื่องเหล่านี้หรือไม่ โดยอาจหาข้อมูลเบื้องต้นจากเว็บไซต์ สอบถามทางโรงเรียนโดยตรง หรือผ่านผู้ปกครองและนักเรียนที่เรียนอยู่ เพื่อนำมาเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจ ถ้าเป็นไปได้น่าจะเลือกโรงเรียนที่มีประสบการณ์พอสมควร ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว เพื่อลูกของเราจะได้ไม่กลายเป็นหนูทดลอง