วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อมูลหลักสูตรโรงเรียนสองภาษา จาก กระทรวงศึกษา

โรงเรียนสองภาษา เป็นโรงเรียนที่นัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ความสามารถและทักษะทางภาษาของผู้เรียน และในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันดีงาม  ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของความเป็นผสมผสานกับความเป็นสากล สำหรับรูปแบบการจัด  สามารถทำได้ ๒ แบบ คือ English Program (EP) และ Mini English Program (MEP) (คลิกศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม) ซึ่งมีความแตกต่างกัน คือ EP จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นภาษาไทยและสังคมศึกษา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ส่วน MEP สอนได้ไม่เกิน ๕๐% ของชั่วโมงสอนทั้งหมดต่อสัปดาห์ ทั้งนี้โรงเรียนสามารถเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มจากโรงเรียนปกติได้ ในเบื้องต้น จะคัดเลือกโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ดังต่อไปนี้
หลักการคิดเลือกโรงเรียนติวเข้ม
          ๑. โรงเรียนสอนภาษาประเภท English Program (EP)
                  ๑.๑ เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อม มีครูเกณฑ์ (๑:๒๐) และมีครูภาษาอังกฤษตามเกณฑ์คืออย่างน้อย ๑ คน ต่อ ๑ ห้องเรียน
          ๒ โรงเรียนสองภาษาประเภท Mini English Program (MEP)
                  ๒.๑ ควรเปิดในปีแรกของการแต่ละระดับเท่านั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ก็ควรเปิดสอนเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ หรือระดับมัธยมศึกษาก็ควรเปิดสอนเฉพาะไม่ควรเปิดมากกว่า ๑ ระดับ สำหรับโรงเรียนที่มีทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และปีที่ ๔ ก็ควรเปิดระดับเดียว
                  ๒.๒ ห้องเรียนที่อยู่ในโครงการโรงเรียนสอนภาษาทุกห้องเรียนต้อง ทั้งครูไทยและครูต่างชาติสอนคู่กันเป็น Team teaching
                  ๒.๓ การเก็บค่าเล่าเรียนนักเรียนในโครงการเก็บได้ไม่เกินครึ่งหนึ่ง ของ EP ซึ่ง EP  เก็บได้สูงสุดไม่เกินคนละ ๓๕,๐๐๐ บาทต่อภาคเรียน ดังนั้นนักเรียก MEP เก็บค่าเล่าเรียนได้ไม่เกิน ๑๗,๕๐๐ บาทต่อภาคเรียน
                  ๒.๔ มีอาคารสถานที่ที่ต้องมีความพร้อม มีห้องเรียนเหลือเพียงพอที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ
                  ๒.๕ ในทางปฏิบัติสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติอาจเปิดคู่ขนานกับกรมสามัญศึกษาในแต่ละจังหวัด เพื่อกรมสามัญศึกษาจะได้เป็นพี่เลี้ยงและรับช่วงต่อในระดับมัธยมศึกษา
รายชื่อโรงเรียนตามโครงการ
          ๑. โรงเรียน English Program (EP) มีทั้งหมด ๕๖ โรง ประกอบด้วย โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน ๘ โรง สังกัดสักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ๔๘ โรง ซึ่งกรมได้ให้ความเห็นให้โรงเรียนดังกล่าวดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๕๔๒
          ๒. โรงเรียน Mini English Program (MEP) จะเริ่มดำเนินการปีการศึกษา ๒๕๔๖ มีจำนวน ๕๓ โรง ประกอบด้วย โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน ๓๖ โรง และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน ๑๗ โรง ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการคัดเลือกแล้ว ดังรายละเอียดที่แนบมาพร้อม
การสนับสนุนของกระทรวงศึกษาธิการ
          ๑. จัดตั้งศูนย์รับครู recruitment center เพื่อเป็นศูนย์กลาง (กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง) ทั้งที่เป็นคนไทยและครูที่เป็นชาวต่างประเทศ
          ๒. โรงเรียนจัดหาครูทั้งคนไทยและต่างประเทศ
          ๓. ประสานการรับครูที่เป็นชาวต่างประเทศ โดยผ่านสถานฑูตของประเทศนั้น ๆ และประสานกับสถาบันภาษาในแต่ละจังหวัด
          ๔. ปรับปรุงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการมีงานทำ เพื่อให้มีลักษณะ One Stop Service
          ๕. อบรมครูต้นแบบ โดยประสานบริดิช เคาน์ซิล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อบรมครูที่อยู่ในโครงการ EP และประสานสภาสถาบันราชภัฏสวนดุสิต และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมครูให้มีคุณวุฒิ ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก ๑๐๖๕/๒๕๔๔
          ๖. จัดทำสื่อ ตำราเรียน โดยคณะกรรมการจากส่วนกลางให้คำแนะนำเรื่องสื่อและตำราเรียนที่เหมาะสมกับช่วงชั้น และกรมวิชาการ และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดแปลตำราบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
          ๗. E-learning โดยจัดหาสื่อและตำราเรียน จากการสั่งซื้อทาง  Internet
          ๘. ติดตามและประเมินผล โดยจัดทำเป็น ๒ ระดับ คือ
                 (๑)  วิจัยเพื่อหาข้อมูลการดำเนินงานทั้งหมด โดยคาดว่าจะมีแนวทาง ในการดำเนินการการบริหารจัดการ วัดประเมินผลคุณภาพโรงเรียนและนักเรียน ตลอดจนจัดทำมาตรฐานและตัวบ่งชี้
                 (๒)  เสนอผลการวิจัย เพื่อสรุปผลการติดตามประเมินผล
         ๙. การให้โควต้าเด็กด้อยโอกาส ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก ๑๐๖๕/๒๕๔๔ ให้สถานศึกษาคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถผ่านเกณฑ์ได้เข้าเรียน โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างน้อย ๓% ของจำนวนนักเรียนในโครงการ
การจัดการที่มีคณะกรรมการโดยมีภาคเอกชนเข้ามาร่วม
         ๑.  โรงเรียนของรัฐจะมีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรรมการโรงเรียน ซึ่งจะประกอบด้วยผู้แทนจากชุมชนและภาคเอกชนเจ้ามาร่วมด้วย
         ๒. โรงเรียนเอกชนจะ มีผู้แทนโรงเรียนเอกชนนายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการใน คณะกรรมการเเนินงานการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
เป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพ
          ๑. เชิงปริมาณ โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา จะรับนักเรียนได้ไม่เกินห้องละ ๓๐ คน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ไม่เกินห้องละ ๓๕ คน ตามจำนวนห้องที่ได้รับอนุมัติให้เปิดสอน
          ๒. เชิงคุณภาพ มุ่งเน้นให้เด็กมีความรู้ความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษและมีความคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษ
นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ
การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นภาษาอังกฤษ

แนบท้ายคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก ๑๐๖๕/๒๕๔๔
ลงวันที่  ๙  ตุลาคม พ..๒๕๔๔

pen02_green_1.gif นโยบาย
           เพื่อให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ  ซึ่งกำหนดจัดเป็นภาษาไทยสามารถจัดเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างมีคุณภาพ  มีความเท่าเทียม  และเป็นธรรม  กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายดังนี้
          ๑. การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของการจัดการศึกษา โดยให้สถานศึกษาจัดเป็นบางวิชาเท่านั้น
          ๒. ในกรณีที่สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษมีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มจากผู้ปกครอง สถานศึกษาต้องจัดเงินส่วนหนึ่งเป็นกองทุนสำหรับนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ความสามารถให้ได้เรียนตามต้องการ  ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
          ๓. การบริหารจัดการการการจัดเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษต้องเอื้อประโยชน์ไปยัง ระบบการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยในเรื่องการใช้สื่ออุปกรณ์  การใช้ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ห้องปฏิบัติการวิชาอื่น ๆ และบุคลากรในสถานศึกษา
          ๔. การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ต้องคงไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภาษาไทย ศิลปะไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย
          ๕. การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษต้องมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ เป็นระยะ ๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
          ๖. การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ  ให้หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้กำหนดและตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
          ๗. การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงศึกษาธิการ  และเป็นไปตามข้อกำหนดในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
pen02_green_1.gif หลักเกณฑ์และวิธีการ
           การบริหารจัดการ
               ๑. สถานศึกษาที่มีความพร้อม สามารถจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาเป็นต้นไป สถานศึกษาใดประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องเสนอโครงการให้หน่วยงานต้นสังกัดพิจารณาตามลำดับขั้น ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนการเปิดสอน หน่วยงานต้นสังกัดต้องกำหนด หัวข้อเรื่องและวิธีการในการเขียนโครงการ
               ๒. การขออนุมัติโครงการ
                         ๒.๑ สถานศึกษาเสนอโครงการต่อหน่วยงานต้นสังกัดตามลำดับ
                         ๒.๒ หน่วยงานต้นสังกัดแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการ
                         ๒.๓ คณะกรรมการตรวจสอบความพร้อมที่สถานศึกษา
                         ๒.๔ คณะกรรมการประเมินผลการตรวจสอบ และแจ้งผลการประเมินต่อหน่วยงานต้นสังกัด                 
                         ๒.๕ หน่วยงานต้นสังกัดให้ความเห็นชอบ
                         ๒.๖ หน่วยงานต้นสังกัดเสนอขออนุมัติต่อกระทรวงศึกษาธิการ
               ๓ . สถานศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว ให้ดำเนินการภายใน ๒ ปี ถ้าไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าโครงการนั้นสิ้นสุด
               ๔. สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษแล้วมีความประสงค์จะหยุดดำเนินการ ต้องแจ้งต่อหน่วยงานต้นสังกัดและผู้ปกครองนักเรียนล่วงหน้าอย่างน้อย ๒ ปี ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงการจบตัวประโยคของนักเรียนชั้นสุดท้ายที่รับเข้าเรียนด้วย
               ๕. สถานศึกษาที่จะการเรียนการสอนสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่จัดเป็นภาษาไทย และกลุ่มที่จัดเป็นภาษาอังกฤษ ต้องกำหนดให้มีกิจกรรมการพัฒนาครูสอนภาษาอังกฤษสำหรับกลุ่มที่จัดเป็นภาษาไทยไว้ในโครงการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสารได้เหมือนเจ้าของภาษา
               ๖. สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษต้องจัดให้มีคณะกรรมการของสถานศึกษา ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนการดำเนินงานของสถานศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนทั้งคุณลักษณะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แล้วจัดทำเป็นรายงานประจำปีเสนอหน่วยงานต้นสังกัดและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ต่อเนื่อง
               ๗. เวลาและวิชาที่เปิดสอน
                        ๗.๑ ระดับก่อนประถมศึกษา
                               จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของเวลาที่จัดกิจกรรม
                        ๗.๒ ระดับประถมศึกษา
                               จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา โดยคำนึงถึงความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาของศาสตร์นั้น ควบคู่กับภาษาอังกฤษ
                        ๗.๓ ระดับมัธยมศึกษา
                               จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมายไทย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
               ๘. ครูผู้สอน
                        ๘.๑ ระดับก่อนประถมศึกษา และประถมศึกษา ครูผู้สอนที่เป็นชาวต่างชาติต้องสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องตามสำเนียงของเจ้าของภาษา และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารง่าย ๆ ได้ หรือจัดให้มีครูไทยที่สามารถใช้ภาษาในการสื่อสาร เข้าไปมีส่วนร่วมตลอดเวลา
                        ๘.๒ จัดให้ครูผู้สอนทำสัญญาปฏิบัติงาน ให้ครบ ๑ ปี การศึกษาเป็นอย่างน้อย และมีบทลงโทษที่เข้มงวดหากละเมิดสัญญา
                        ๘.๓ ครูผู้สอนทุกคนต้องจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย และต้องมีหลักฐานการศึกษาในสาขาวิชาที่จะสอนหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง      
                        ๘.๔ ครูผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ในการสื่อสารได้เหมือนเจ้าของภาษาและได้คะแนนสอบ TOEFL ไม่น้อยกว่า ๕๕๐ หรือ IELTS ไม่น้อยกว่า ๕.๕
                        ๘.๕ ครูผู้สอนทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจเด็กและวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยมีหลักฐานการศึกษาด้านการสอนไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต
                        ๘.๖ ครูผู้สอนชาวต่างประเทศต้องได้รับการอบรมด้านหลักสูตรของประเทศไทยภาษาและวัฒนธรรมไทย อย่างน้อย ๑๕ ชั่วโมง
                        ๘.๗ สถานศึกษาต้องจัดให้ครูผู้สอนทุกคนทั้งที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด
                        ๘.๘ ครูผู้สอนทุกคนต้องมีโอกาสได้รับการพัฒนา โดยได้รับการฝึกอบรมศึกษาดูงานในประเทศหรือต่างประเทศ อย่างน้อย ๓ ปีต่อครั้ง
               ๙. การรับนักเรียน
                         ๙.๑ รับนักเรียนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
                         ๙.๒ สถานศึกษาสามารถกำหนดเงื่อนไขความสามารถของผู้เรียนได้ตามความเห็นชอบของหน่วยงานต้นสังกัด
                         ๙.๓ ให้สถานศึกษาคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถผ่านเกณฑ์ ได้เข้าเรียนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มอย่างน้อย ๓ % ของจำนวนนักเรียนในโครงการ
                         ๙.๔ การจัดจำนวนนักเรียนแต่ละห้องเรียนควรเป็น ดังนี้
                                 - ระดับก่อนประถมศึกษา ไม่เกินห้องละ ๒๕ คน
                                 - ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย ไม่เกินห้องละ ๓๐ คน
                                 - ระดับวิชาชีพ (ปวช.) ไม่เกินห้องละ ๓๐ คน
                                 - ระดับวิชาชีพ (ปวส.) ไม่เกินห้องละ ๓๐ คน
               ๑๐. การเก็บค่าเล่าเรียน และการตั้งกองทุน
                         ๑๐.๑ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่นในสถานศึกษาเอกชน และค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มจากการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยในสถานศึกษาของรัฐ ให้หน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดในอัตราที่เหมาะสม
                         ๑๐.๒ สถานศึกษาและกรรมการสถานศึกษาต้องจัดตั้งกองทุน เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนที่ไม่ได้อยู่ในโครงการและมีความสามารถผ่านเกณฑ์ ให้เข้าเรียนในโครงการอย่างน้อย ๓ % ของจำนวนนักเรียนแต่ละปี และเพื่อใช้ดอกผลจากกองทุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างนักเรียนในโครงการกับนักเรียนที่เรียนเป็นภาษาไทย
               ๑๑. การจัดการทรัพยากรและกิจกรรมของสถานศึกษา
                          ๑๑.๑ สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องบริหารจัดการ บุคลากร สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ และสถานที่ต่าง ๆ ให้ครูและนักเรียน ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันและอย่างเท่าเทียมกับ โดยเฉพาะสถานศึกษาของรัฐซึ่งใช้งบประมาณของรัฐ ต้องดูแลให้เกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
                         ๑๑.๒ สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสองกลุ่ม ต้องจัดให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมของโรงเรียน/ชุมชน โดยเฉพาะกิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นไทย ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
          การจัดการเรียนการสอน
               ๑. สถานศึกษาต้องจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒
               ๒. การจัดการเรียนการสอน ควรจัดในบริบทของความเป็นไทยผสมผสานความเป็นสากล โดยมุ่งเน้นความรักท้องถิ่น ประเทศชาติ และความเป็นไทย
               ๓. สถานศึกษาต้องจัดการเรียนการสอนทุกวิชา โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม สร้างความมั่นใจ และส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าใช้ภาษาในการสื่อสาร
               ๔. การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในระดับก่อนประถมศึกษา ต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาไทยของผู้เรียน ความพร้อม ความสนใจที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ควรจัดกิจกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้นักเรียนมีความสุขสนุกสนาน สร้างความกระตือรือร้น และประสบความสำเร็จ เช่น การร้องเพลง การฟังนิทานประกอบภาพ การเล่นบทบาทสมมุติ การเล่นเกมการศึกษา เป็นต้น
          การกับกับ ติดตาม และประเมินโครงการ
               ๑. กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาต้องจัดให้มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งในด้านความพร้อมในด้านการเตรียมการของสถานศึกษา การบริหารจัดการ การดำเนินงานของสถานศึกษาและคุณภาพของผู้เรียน
               ๒. กระทรวงศึกษาธิการต้องส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การลดค่าใช้จ่าย คุณภาพของครูผู้สอน และวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
               ๓. กระทรวงศึกษาธิการต้องส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หมายเหตุ   สำหรับการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในสถานศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ให้ใช้นโยบาย และหลักเกณฑ์วิธีการนี้ไปจนกว่าจะโอนไปอยู่ในระดับอุดมศึกษา

1 ความคิดเห็น:

  1. ฉันเสียเวลาไปมากในการมองหาคาสิโนออนไลน์ที่ดีในประเทศไทย ภายในระยะเวลาอันสั้นคุณสามารถมั่นใจได้ว่าทรัพยากรนี้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและซื่อสัตย์ https://www.inwasiacasino.com/gtr168bet-casino/ การถอนทันทีอาจเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญ

    ตอบลบ