วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

English Program คืออะไร

ห้องเรียนประถมของโรงเรียนสาธิตฯสวนสุนันทา หนึ่งในผู้จัดการเรียนการสอนแบบ english program 
  
         ความเป็นมาของ English Program เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เมื่อ โรงเรียนเอกชน 3 แห่งได้แก่ สารสาสน์เอกตรา กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และ อุดมศึกษา ได้นำรูปแบบการเรียนการสอน Bilingualism Education มาใช้ใน โรงเรียน ผลก็คือ ผู้ปกครองพึงพอใจในการเรียนดังกล่าว โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ของลูก ๆ จึงทำให้ความนิยมในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในหลักสูตรดังกล่าวมี มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันมีโรงเรียนเอกชนสองภาษามาก ถึง 145 โรงเรียนทั่วประเทศ
       
       English Program และ Bilingualism Education เหมือนหรือต่าง ..อย่างไร
       
       คำว่า English Program เป็นคำที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดขึ้นเพื่อ อธิบายรูปแบบการจัดการศึกษาประเภทหนึ่ง โดยมีชื่อภาษาไทยว่า "การจัดการ เรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ"
       
       ส่วนคำว่า Bilingualism Education เป็นทฤษฎีการจัดการศึกษารูปแบบ หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ทั่วโลก เนื่องจากเป็นทฤษฎีสากลที่ใช้ในหลาย ประเทศ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างภาษาที่ 1 (ภาษาหลัก) กับภาษา ที่สอง (ภาษารอง) โดยไม่มีข้อจำกัดถึงอัตราส่วนที่แน่นอนระหว่างภาษา ที่ 1 และภาษาที่ 2 และไม่บังคับวิชาที่จะใช้สอนเป็นสองภาษา ซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการได้กำหนดอัตราส่วนและรูปแบบของ English Program ไว้ดังนี้
       
       ระดับอนุบาล จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์
       
       ระดับประถม จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา
       
       ระดับมัธยม สามารถจัดได้ทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย และสังคมศึกษาใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย กฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย
       
       การพิจารณาเลือกโรงเรียน
       
       สิ่งสำคัญคือภาษาที่ใช้จริง ๆ ในหลักสูตรของโรงเรียนเป็นภาษาอะไร ใน หลักสูตรของโรงเรียนสองภาษาที่ดีจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการ สอนสองภาษาของโรงเรียน อีกประการหนึ่งคือต้องดูว่า คุณครูในโรงเรียนสนับ สนุนการพัฒนาทั้งสองภาษาหรืไม่ อย่ามองเพียงผลสอบหรือลำดับของโรงเรียนในการ วัดผล เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก เช่น กิจกรรมนอกเวลาที่ช่วยส่งเสริม การเรียนรู้สองภาษา
       
       ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมโรงเรียนเอกชนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน (ส.อ.ส.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น