วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การเรียนการสอนในหลักสูตร IEP (Intensive English Program) ของสาธิตเกษตร ครับ

พอดีเจอรายละเอียดของการเรียนการสอนที่เป็น EP ของ สาธิตเกษตร เลยเก็บมาฝากเพื่อนครับ

         ด้วยโรงเรียนสาธิตฯของเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษเพราะภาษา อังกฤษนั้นเข้ามามีบทบาทในการสื่อสาร  การค้นคว้าหาความรู้ การศึกษาต่อและประกอบอาชีพ โรงเรียนจึงมีนโยบายเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร IEP (Intensive English Program) ในแต่ละระดับชั้น โดยเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3  โดยเน้นด้านการปฎิสัมพันธ์โต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน

Satreephuket School International English Program Training

ตัวอย่างโครงการภาษาอังกฤษสําหรับโรงเรียน EP ที่น่าสนใจครับ พอดีได้มาจาก เว็ป อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง http://gotoknow.org/blog/yahoo/356126


 โครงงานภาษาอังกฤษหลักการใหญ่ๆคือ นักเรียนมีปัญหาอยากทำโครงงานเองโดยครู
วางกรอบใหญ่ๆไว้เมื่อนักเรียนทำโครงงาน ครูต้องช่วยเหลือในด้านภาษา ด้านแหล่งข้อมูล 
ซึ่งนักเรียนจะขวนขวาย
ค้นข้อมูลของตนเองเพราะเป็นเรื่อง
ที่นักเรียนสนใจ โครงงานภาษาอังกฤษนั้น นักเรียนได้พัฒนาในทักษะ การฟัง การพูด 
การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ
 นอกจากนี้นักเรียนยังมีการพัฒนาทักษะด้านสังคม(social skill) เช่นความรับผิดชอบ
 การทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
 


 

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ความเห็นของน้องๆ ที่มีประสบการณ์ตรงครับ เกี่ยวกับการเรียน bilingual หรือ english program

        ลูกชายอายุจะ 3 ขวบครับ พูดไทยคล่อง พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย พูดภาษาต่างดาวได้บ้าง
คือ ตั้งใจจะให้ลูกเข้าเรียนอนุบาล english program และต่อประถม english program เพื่อให้ได้ทักษะภาษาอังกฤษ ไทย และวิชาการด้วย เพื่อจะเข้ามัธยมโรงเรียนรัฐบาลเช่นสวนกุหลาบเป็นต้น
ไม่ได้ตั้งใจให้ลูกเรียน  international school ครับ เพราะคิดว่าต้องอยู่เมืองไทยใช้ภาษาไทยและไม่สามารถจ่ายค่าเทอมที่สูงขนาดนั้นได้
จึงอยากถามความเห็นของน้องๆ ที่มีประสบการณ์ตรงครับ คือเรียน bilingual หรือ english program ไม่ว่าจะเริ่มจากอนุบาลหรือประถม 1 ครับว่า

1 เรียนที่ไหนครับ บอกชื่อโรงเรียนด้วยก็ดีครับ เป็นข้อมูลให้ท่านอื่นตัดสินใจด้วย
2 ความสามารถทางภาษาอังกฤษจนถึงระดับที่น้องเรียนอยู่เป็นอย่างไร เช่นแค่ฟังได้ พูดได้คล่อง ง่ายๆคือ มี english proficiency ระดับไหน
3 น้องวางแผนศึกษาต่อหลังจากจบ ประถม 6 หรือ มัธยมต้นอย่างไร ถ้าอยู่ม.ปลายแล้ว จะเข้าในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือไม่
4 วิชาการด้านอื่นๆเช่น คณิต วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย เป็นอย่างไร แข็งแรงพอจะสอบแข่งขันหรือไม่
5 วัฒนธรรมไทย นิสัยของน้อง เป็นไปในทางใดครับ เพื่อนๆที่ไม่ได้เรียน EP แบบน้องเห็นว่าท่านเป็นคนอย่างไร
6 อื่นๆ ข้อดีข้อเสียของโรงเรียนที่น้องเรียนอยู่
7 ถ้าย้อนเวลาได้น้องอยากเรียน english program หรือ bilingual หรือไม่

ผมตั้งคำถามปลายเปิดเพื่อให้น้องได้แสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆด้วย
ปล. คำถามยาวครับ อยากให้ตอบในเชิงสร้างสรรค์ อย่าได้ว่าโรงเรียนอื่นที่น้องไม่ได้เรียนนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

Mathayomwatsing School: English Program

Mathayomwatsing School is located on Ekachai Road, Bangkuntien, Jomthong, Bangkok.  It was established  as a co-educational government school in 1953.  Permission to start the Mini-English Program was given by the Ministry of Education in 2003, and in 2004 the Ministry of Education gave the school permission to start the English Program making it the third school in Bangkok to do so.



More information:
http://www.ep-watsing.com/

แนะนํา โรงเรียน EP "CHONRADSADORNUMRUNG SCHOOL"

CHONRADSADORNUMRUNG SCHOOL
ENGLISH PROGRAM
LOGO BY: RATTASAK, THANADETCH & SUPACHAT

School Vision

  • Learn more language skills
  • Sharpen intelligence with technology
  • Uphold Thai citizenship and progress to international level

School Vision

  • To develop EP students to achieve competence using English for communication
  • To inspire EP students to reinforce, enhance and update their knowledge through technology
  • To instill nationalism to EP students (proud to be Thai and aware of the value of their citizenship)
  • To enthuse EP students to disseminate their knowledge, share their experiences to public, in and out of the country with the application of Thai culture and ethical principles as members of the global community

                                       Chonrasassadornumrung School is a Government Secondary School with a current roll of approximately 3,970 students and 182 teachers.  It is under the Thai office of the Basic Education Commission in the Educational Area Chonburi 1 and was allowed by the Ministry of Education to open the English Program in the year 2007.  We take pride in the fact that our school has met the global need of providing intensive learning of English in education. 
The provision of English Program is in accordance with the National Education Act B.E. 2542 that defines participation of societies in providing education with appropriate and systematic structure for the talented students to be knowledgeable and self-sufficient.  It specifically emphasizes students’ maximum development on language skills as stated in Article 23 (4) that defines that the educational institution can operate by using English as a medium of instruction in various areas, except Thai and Social Studies.
Thus, we humbly present our English Program which is an expression of the school’s vision and goals. Everyone participates in the ongoing achievement of Learning Goals: united we work to integrate effectively standard based-curriculum into our syllabi; teachers create assignments addressing specific Learning Goals, parents encourage their children’s ongoing development and students reflect on their achievement.

More information, please visit http://epchonchai.webs.com/

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การเรียนแผนการเรียน English Program (EP) ของที่โรงเรียนสตรีนนทบุรี

สวัสดีจ้าชาว Dek-D.com วันนี้ก็มาเจอพี่แนนกันอีกเช่นเคย และตามสัญญาที่พี่แนนบอกไว้ในคราวที่แล้วกับ 3 แผน.. ว่า คราวรี้พี่แนนจะนำเรื่องราวแบบลึกๆ ของการเรียนแผน EP หรือ English Program มาฝากน้องๆที่สนใจกันค่ะ

     ซึ่งข้อมูลนี้พี่แนนก็ได้จากการพูดคุยกับอาจารย์อังศนา นาคสวัสดิ์ หัวหน้าโครงการภาคภาษาอังกฤษ โรงเรียนสตรีนนทบุรี มา ค่ะ ซึ่งอาจารย์ก็ใจดีให้ข้อมูลมาค่ะว่า สำหรับการเรียนแผนการเรียน English Program หรือ เรียนกันว่า EP อย่างของที่โรงเรียนสตรีนนทบุรีแห่งนี้ เปิดสอนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 แล้ว

เด็กดีดอทคอม :: ชี้ชัดๆ แผน EP เรียนอะไรกัน?; tags: English Program,สตรีนนทบุรี,EP,โปรแกรม,ภาษาอังกฤษ
 
     โดยเปิดการเรียนแผน EP ตั้งแต่ระดับชั้น ม.1-ม.6 ระดับละ 2 ห้องเรียน ห้องเรียนหนึ่งก็มีประมาณ 30 คน ารเรียน การสอนก็จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ยกเว้นในบางวิชาที่เกี่ยวกับความเป็นไทย เช่น ศิลปะ บางบทของวิชาสังคม (กฎหมาย) นาฎศิลป์ พละศึกษา

     นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น

     - จัดสอนเสริมในรายวิชาวิทย์ คณิต อังกฤษ สังคม ภาษาไทย ในวันเสาร์ หรือหลังเลิกเรียน
 
     - จัดสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาสามารถ  เลือกเรียนภาษาจีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น หรือเยอรมัน ตามความสนใจ- ทัศนศึกษา อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

     - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดให้เข้าค่ายทักษะชีวิตในต่างแดน (มาเลเซีย,สิงคโปร์ หรือประเทศใกล้เคียงอื่นๆที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร) ฯลฯ

     ส่วนข้อสอบ เวลาสอบ 90% ก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้นค่ะ ยกเว้นบางวิชาที่ได้กล่าวไป  ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาได้กำหนดไว้ ซึ่งการเปิดสอนก็ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก่อน ซึ่งต้องดูความพร้อม และมาตรฐานได้ด้านต่างๆ มีกรรมการตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายแผนการเรียนนี้จะเท่ากันอยู่ที่ 35,000บาท/เทอม ซึ่ง จะรวมเอกสารประกอบการเรียนตลอดทั้งปีการศึกษา เรียนห้องปรับอากาศ  ซึ่งนักเรียนที่จบออกไปก็สามารถไปสอบได้ทั้งสายสามัญหรือจะเรียนต่ออินเตอร์ ก็ได้

     อาจารย์อังศนาฝากบอกมาค่ะว่า การเรียน English Program ถือว่าได้ประโยชน์อย่างมาก เพราะถือว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีแนวโน้มว่าจะกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองด้วยในหลายๆเรื่อง เรียนก่อน ได้เปรียบค่ะ

     โอโห้ ฟังแล้วพี่แนนอยากเรียนบ้างจังเลยค่ะ เพราะภาษาอังกฤษก็เป็นที่รู้กันว่า เป็นภาษาสากล สื่อสารได้รอบโลก เดี๋ยวนี้ใครเก่งภาษาอังกฤษ แบบฟังรู้เรื่อง พูดได้คล่อง ได้เปรียบที่สุด สำหรับพี่แนน ถ้าฟังได้พูดคล่องละก็ อิอิ จะเก็บตังค์ไปเที่ยวเมืองนอกบ้าง คอยดู!!

     น้องๆชาว Dek-D.com คนไหนสนใจเรียน  EP กันบ้าง ยกมือหน่อย ส่วนคนไหนที่เรียนอยู่ ก็แวะมาเมนท์บอกกันบ้างนะคะว่า เรียนสนุกสนานแค่ไหน ยากไหม เผื่อใครสนใจจะได้ไปเรียนกันเยอะๆนะคะ

     ปล.อาิทิตย์หน้า ติดตามเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของน้องคนหนึ่งที่เรียน EP มาเล่าใ้ห้ฟังกันค่ะว่า เรียนแผนนี้เค้าเรียนอะไรบ้าง ยากกว่าคนอื่น แล้วแตกต่างจากคนอื่นจริงหรือ??
เด็กดีดอทคอม :: ชี้ชัดๆ แผน EP เรียนอะไรกัน?; tags: English Program,สตรีนนทบุรี,EP,โปรแกรม,ภาษาอังกฤษ 
 

เด็กดีดอทคอม :: ชี้ชัดๆ แผน EP เรียนอะไรกัน?; tags: English Program,สตรีนนทบุรี,EP,โปรแกรม,ภาษาอังกฤษ
ขอบคุณ dek-d.com สําหรับข้อมูลครับ
ที่มา http://www.dek-d.com/content/print.php?id=22418
 

กลยุทธ์ในการสอบเข้าภาคภาษาอังกฤษ (ภาคอีพี) English Program

การสอบเข้าภาค ภาษาอังกฤษ English Program นั้น มีการสอบทั้งสิ้น 5 วิชา นั่นคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และวิชาืที่เพิ่มเข้ามาจากภาคปกติ คือวิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาอังกฤษนี้แหละ ที่มีสัดส่วนสูงถึง 50% เลยทีเดียว ดังนั้นการที่จะสอบเข้าภาคEP ให้ได้นั้น ควรจะมีกลยุทธ์ในการเตรียมตัวสอบ ดังนี้


วิชาที่มีความ สำคัญอันดับหนึ่ง แน่นอนว่า หนีไม่พ้นวิชาภาษาอังกฤษ เพราะมีสัดส่วนในการสอบเข้าสูงและเป็นภาษาหลักที่ต้องใช้ในการเรียน ดังนั้นน้องๆควรจะมีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษให้ครบทุกทักษะ ทุกด้าน (เพราะข้อสอบจะสอบวัดทุกด้าน) 


ไม่ว่าจะเป็น Grammar and Structure, Conversation, Listening, Reading และ Writing น้องบางคนมั่นใจว่าเรียนโรงเรียนอินเตอร์,นานาชาติ, Bilingual, English program หรือ International Program มา จะมั่นใจในภาษาอังกฤษของตน แต่จากประสบการณ์ของผู้สอน จะเห็นว่าบางคนเพียงแค่พูดและฟังได้ แต่ในเรื่องของ Grammart กลับไม่แม่น


แน่นอนว่าถ้าวิชาภาษาอังกฤษดีแล้ว จะมีโอกาสในการสอบเข้าสูง แต่ถ้าภาษาอังกฤษไม่ได้แล้ว โอกาสสอบเข้ายากมากครับ ฟันธง!!


และเมื่อภาษา อังกฤษดีแล้ว หน้าที่ต่อไปคือ ต้องทำอีกสี่วิชาหลัก (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา )ให้ดีครับ โดยเฉพาะ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะจากข้อมูลระบุว่า น้องส่วนใหญ่ที่มาสอบเข้าภาคอีพีนั้น ส่วนใหญ่เป็นเด็กอินเตอร์ Bilingual International Program มาจากโรงเรียนประถมเดิม ซะเป็นส่วนใหญ่


ดังนั้น จึงมีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี จึงทำให้เวลาผลสอบออกมาแล้ว เด็กที่มีพื้นอังกฤษดี มักได้คะแนนสูงพอๆกัน วิชาที่จะตัดกันจริงๆคือ สี่วิชาหลักนั่นเอง และเนื่องจากน้องที่เรียนอินเตอร์มาแต่เดิม มักมีความอ่อนแอในสี่วิชาหลักนี้มากโดยเฉพาะ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จะคะแนนไม่สูงมาก เนื่องจากเรียนมาอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ใครก็ตามที่มีคะแนนภาษาอังกฤษดี และสามารถทำคะแนนสี่วิชาหลักได้มากกว่าคนอื่น


สอบติดแน่นอนครับ 


กล่าวโดยสรุป ถ้าจะสอบเข้าภาคภาษาอังกฤษนั้น ห้ามละเลยสี่วิชาหลักโดยเฉพาะ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นอันขาด เพราะจะเป็นตัวตัดสินเลยทีเดียว (น้องที่เรียนอินเตอร์หรือสองภาษามา สี่วิชาหลักอ่อนจริงๆครับ และข้อสอบสี่วิชาหลักนี้เป็นข้อสอบชุดเดียวกับของภาคปกติ ซึ่งยากๆมากๆๆๆๆครับ)

ดังนั้นเพื่อการเพิ่มคะแนนและโอกาสการสอบติดน้องๆควรเรียนเพิ่มวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และต้องหาที่กวดวิชาที่สอนแบบEnglish Programและให้เนื้อหาเท่าภาคปกติด้วย เพราะจะได้เตรียมเจอโจทย์ยากๆในรูปแบบภาษาอังกฤษ ที่พี่แนะนําคือ smartep ครับ 

Guideline for preparing for admission (แนะนำการเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียน EP)

โดยปกติค่าเทอมของภาคภาษาอังกฤษนั้น เฉลี่ยประมาณปีละ 300000 บาท (สามแสนบาท)

ครับ อาจจะสูงนิดนึงนะครับ แต่การันตีคุณภาพ ไม่เหมือนที่อื่น

ที่ท่านอาจเคยได้ยินมา บอกเป็นภาค EP แต่พอเอาเข้าจริง

ไทยบ้าง อังกฤษบ้าง บางที่อังกฤษล้วนจริง แต่ใช้ครูไทยสอนแล้วพูดภาษาอังกฤษเอา

จะได้สำเนียงไหมครับนั่น บางที่ใช้ฝรั่งสอน แต่เป็นฝรั่งที่มาเที่ยวไทยแล้วไม่มีไรทำบ้าง

ฝรั่งที่ไม่ได้จบครูหรือไม่ได้เชียวชาญด้านนั้นโดยตรงบ้าง

ทำให้การเรียนการสอนไม่มีคุณภาพนั่นเอง


กลับเข้ามาสู่เรื่องของเรากันนะครับ สำหรับการเข้าไปเป็นนักเรียน

ภาคภาษาอังกฤษสาธิตปทุมวันนั้น ต้องผ่านการทดสอบ จากจำนวนนักเรียนที่สมัครประมาณ

โดยเฉลี่ย 400-500 คนต่อปี และมีจำนวนรับตามประกาศ 70 คน(แต่ในทางปฏิบัติประมาณ

35 คนครับ ที่เหลือเป็นโควตาสาธิตประสานมิตรประถม และผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียน)

ซึ่งจะสอบประมาณต้นเดือนมีนาคมของทุกปีครับ

สำหรับวิชาที่ใช้สอบมีทั้งสิ้น 5 วิชาคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ภาษาไทย สังคมศึกษาและวิชาสำคัญคือภาษาอังกฤษ

เพราะวิชาภาษาอังกฤษนั้นๆ มีสัดส่วนที่สูงถึง 50%

ส่วนอีก 4 วิชาก้เหลือค่าน้ำหนักโดยประมาณวิชาละ 12.5 %

ซึ่ง 4 วิชาหลักก็จะสอบร่วมกับนักเรียนที่สอบภาคปกติ

ซึ่งจะยากส์มากส์ๆๆๆ ครับ

เพราะฉะนั้น สำหรับน้องที่ต้องการสอบเข้าภาษาอังกฤษแน่นอนว่าต้องเน้นอังกฤษเป็นพิเศษ

เพราะไม่ได้สอบเป็นเพียง Multiple Choice ซึ่งจะเป็น Advanced Grammarเท่านั้น

แต่ยังมีในส่วนของ listening และ Writing ซึ่งจะเป็น

Short Essay อีกด้วย

ดังนั้น น้องๆควรทุ่มเทความสำคัญกับวิชาภาษาอังกฤษ และห้ามทิ้ง 4 วิชาหลัก

เด็ดขาด เพราะบางครั้งเป็นตัวตัดสินเลยทีเดียว

ขอให้ทุกคนโชคดีครับ


สำหรับน้องหรือผู้ปกครองที่สนใจอยากเรียนคอร์สเลขหรือวิทยาศาสตร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อการสอบเข้าภาคอีพีโดยเฉพาะผมแนะนํา smartep ครับ

Introduction to PDS English Program (แนะนำภาคภาษาอังกฤษ สาธิตปทุมวัน)

หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ สาธิตปทุมวัน หรือที่เราเรียกกันทับศัพท์

ว่าภาคอีพี (EP) มีชื่อเต็มว่า โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ

The English Program for Talented Students (EPTS)

เปิดดำเนินโครงการมาตั้งแต่ ปี 2540 จนถึงบัดนี้ก็กว่า 13 ปีมาแล้ว

ซึ่งจะทำการเรียนการสอนทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์ชาวต่างประเทศ

ผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ในระดับสูง ยกเว้น วิชาภาษาไทย และสังคมศึกษา

โดยหลักสูตรนั้น จะยึดตามหลักสูตรภาคปกติ ของโรงเรียนสาธิตปทุมวัน

ซึ่งแน่นอนว่าชื่อของสาธิตปทุมวัน การันตีความเป็นเลิศด้านวิชาการอยู่แล้ว

ทำให้ภาคอีพีของเรา ก็มีความเป็นเลิศด้านวิชาการไม่แพ้ภาคปกติ

พิสูจน์ได้จาก ผลงานจากผลงานสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ของรุ่นน้องภาคอีพีนั้น ก็สอบเข้าแพทย์ สอบเข้าวิศวะมหาวิทยาลัยชั้นนำ

เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และมหิดล (ปีที่แล้ว 46 คน จากทั้งหมด 103 คน

ดู ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.epts.satitpatumwan.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=50&Itemid=27)

ได้ในสัดส่วนพอๆกับภาคปกติ

อีกทั้งยังได้ภาษาอังกฤษที่พูดได้เสมือนภาษาตนเองไปอีก

ดังนั้น มักมีคำถามหลายๆครั้ง ที่ถามมาทางผมซึ่งเป็นติวเตอร์ หรือ รายอื่นๆ เช่น smartep ว่า

อีพีของสาธิตปทุมวันดีจริงหรือไม่ ผมก็การันตีคุณภาพว่า

ดีมากครับ แนะนำให้ผู้ปกครองส่งน้องเข้าเรียนที่นี่ครับ

What is Bilingual Program?

What is Bilingual Program?

Bilingual education, as the term suggests, is education in two languages. This means more than just the inclusion of a foreign language in the school curriculum. For bilingual education to occur students must be studying key learning areas of the curriculum in two languages. Usually this means that core content areas, such as Mathematics, Science or Computer, are taught in both languages. Immersion, when it refers to students learning a subject in a foreign language, such as English, is a means of delivering bilingual education, but is different from learning bilingually. In a broader sense, immersion refers to the kind of experience a Thai student might have at a fully English-medium school, such as an International school. In this kind of education the Thai student’s mother tongue is not developed at school. The student is immersed in English.

Is bilingual education the same as "English Program (EP)”?

The term ‘English Program’ has come into use in Thailand because policy makers felt it may be easier to understand than ‘bilingual education’ or ‘bilingual school’. In probably most cases EP schools are providing a form of bilingual education. However, if students are learning perhaps certain key subjects in English only, it is a limited form of bilingual education. It is also a limited form of immersion.

English Program Schools Career Opportunities

The alumni of English Program schools are typically more mature, broad minded and confident than other children of their age. This is a consequence of having been exposed to new cultures so young and the confidence they gain from being able to express themselves in more than one language. Especially in Thailand, there are a lot of opportunities for who knows English in advanced level.

The Importance of Learning English

As students near the school leaving age, they become more concerned with their future opportunities. Which university should I attend or which career should I follow? But, with more students vying for these positions, competition is increasing. Universities and employers can now afford to select the best individuals who they think will be beneficial to their organization. Consequently, secondary schools across the country have converted to bilingual, trilingual and English programs to produce students with the necessary English skills to meet the demands of today’s market. At Chindamanee School, our English Program develops the English skills our students will need to gain places at the most prestigious universities or gain employment with the top companies. Our English Program develops the academic English skills required to enter Thailand’s best universities and the English communication skills required for the business sector. In addition to these benefits, Chindamanee School is a truly multicultural school with teachers from Turkey, the Philippines, England and America supporting our Thai teaching staff.
Hence, the last benefit that studying English provides is a greater understanding of other cultures. In today’s world, with globalization bringing down the barriers between countries, an improved cultural understanding is a vital aspect of success in the business world. In this way, studying English in Chindamanee School’s English Program provides our students with an advantage over students coming from the standard Thai education system in three main areas; tertiary education, employment and personal development.
 

Yothinburana English Program

Introduction video for the FIRST ENGLISH PROGRAM in Thailand ~!

EPTS Program - English Version

Learn about the English Program for Talented Students at Satit Patumwan School in Bangkok


  

The English Program for Talented Students - Debate Team
 


Thailand World Schools Debating Championship

Thailand World Schools Debating Championship at Asia Hotel. News from Channel MB.

Mr.Chaiwut Bannawat, Minister of Industry, presided over the Award Ceremony of the "1st Thailand World School Debating Championship" (TWSDC) under the theme "Speak Out, The World Is Listening" on June 14, 2010 at the Asia Hotel. The Competition was hosted by Patumwan Demonstration School of Srinakarinwirot University during June 12-14,2010. The President of this tournament was Mrs.Sirichan Daomanee, English Program Manager. There were 140 participants from 12 schools.


Sarakhampittayakhom School English Program Promotional Video Sept 2009

Sarakhampittayakhom School is located in Maha Sarakham Thailand. It is the center of EP/MEP Schools in the Northeast Region. Visit the School's website at http://ep.spk.ac.th

#1 Thai English Speaking Contest winner Poompatai Pantipong

  Poompatai Pantipong  won first place in National English Speaking contest this school year 2007-2008. He is in 3rd grade English Program at Siridet school, Chanthaburi, Thailand. This is the Channel 11 TV interview. Starring Poom and yes Me as the teacher... Enjoy

Saritdidet School English Program Interview CTV Chanthaburi Thailand

Saritdidet Schools has won many awards and funding for the development of a dual language program, The students learn 50% in Thand and English over a variety of subjects. Here are 3 top studnets who have one 1st place in many speech contest around Thailand.


ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนสาขาวิชา English Program

ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนสาขาวิชา English Program

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนสาขาวิชา English Programการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนสาขาวิชา English Program นี้ ทางด้านครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจเสียก่อนว่า นักเรียนที่เรียนในโปรแกรมนี้ โดยส่วนใหญ่ หรือแทบจะทั้งหมดของหลากหลายวิชาหลัก คือการเรียนกับครูชาวต่างชาติ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านการสอนจากครูคนไทยมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมภายในชั่วโมงเรียน หรือการใช้คำพูดเพื่อการสื่อสาร ลักษณะการสอนของครูต่างชาติมักจะเน้นให้เด็กไทยได้แสดงออกทางด้านภาษาจาก กิจกรรมภายในห้องเรียน รวมไปถึงการสร้างความตื่นตัวทางด้านการรับรู้ของเด็กไทย ซึ่งครูต่างชาติมีกิจกรรมหลากหลายที่คัดสรรมาเพื่อสร้างความตื่นเต้นให้แก่ เด็กภายในชั่วโมงเรียนนั้น ๆ และอีกหลากหลายอย่างที่ครูต่างชาติได้มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ต่าง จากแบบที่เด็กไทยเคยได้รับมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นโครงงานต่าง ๆ ที่ครูจัดสรรมาให้กับเด็กเอง

เมื่อเราสามารถมองเห็น ภาพการสอนของครูต่างชาติออกแล้วนั้น สิ่งที่เด็กไทยควรนำมาปรับเพื่อให้เกิดศักยภาพในตัวเด็กได้อย่างสูงที่สุด คือ การพัฒนาทางด้านภาษาที่ใช้สื่อสารเป็นลำดับแรก อย่าลืมว่าถ้าหากบุตรหลาน หรือแม้แต่ตัวของคุณเองฟังการสื่อสารจากบุคคลหนึ่ง แต่ไม่ได้เข้าใจในเนื้อหาที่บุคคลนั้นสื่อสารมา ก็จะเป็นที่แน่นอนว่าเราก็ไม่สามารถที่จะตอบโต้กลับใด ๆ ได้ทั้งสิ้น และเมื่อไม่มีการโต้ตอบซึ่งการสื่อสารระหว่างกันในความเข้าใจ ก็เท่ากับว่าการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program กลับ กลายเป็นการสร้างปัญหาที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ตัวคุณ และบุตรหลานของคุณมากขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นจึงควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือการเพิ่มทักษะในการทำความเข้าใจทางด้าน ภาษาอังกฤษให้เพิ่มมากขึ้นจะดีกว่าการแก้ปัญหาด้วยการส่งเด็กไปเรียนกวดวิชา ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุที่แท้จริงคือเด็กไม่ได้มีความเข้าใจทางภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง มากกว่า

ดังนั้นการแก้ปัญหา คงต้องเริ่มจากการมองให้ลึกซึ้งถึงเหตุแห่งปัญหาว่า บุตรหลานของท่านมีปัญหาทางด้านภาษาเน้นหนักไปในด้านใด และวางรูปแบบแผนการแก้ไขปัญหาให้เป็นระบบ ระเบียบโดยชัดเจน เมื่อท่านได้วิเคราะห์ถึงเหตุแห่งปัญหาได้แล้ว และได้จัดการแก้ไขจากต้นเหตุแห่งปัญหาซึ่งเป็นจุดสำคัญไปจนถึงจุดที่เป็น ปลายเหตุแห่งปัญหาได้แล้ว ท่าน หรือ บุตรหลานของท่านจะมีศักยภาพทางภาษาเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อศักยภาพทางภาษาเพิ่มมากขึ้น ก็สามารถที่จะนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากอย่างเห็นได้ ชัด เพื่อผลสำเร็จในด้านต่าง ๆ ในทุกทักษะได้อย่างดีที่สุด

ทาง ผู้เขียนมีความชำนาญในการวิเคราะห์ถึงเหตุแห่งปัญหา และได้ทำการออกแบบการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนานช่วง เวลาหนึ่งมาแล้ว และได้นำหัวข้อการเรียนการสอนแบบนี้มานำเสนอให้แก่ ท่านและบุตรหลานของท่านเพื่อให้ได้นำไปพิจารณาถึงการแก้ไขปัญหาให้ถูก ต้องอย่างเป็นระบบ 


ที่มา http://www.myspace.com/ms.rinda/blog/512353686?__preferredculture=en-US&__ipculture=en-US

ระบบการเรียนสองภาษามีผลอะไรต่อเชาว์ปัญญาของเด็กบ้าง?



          บางทีข้อสอบวัด IQ ก็ไม่ใช่เป็นตัววัดเชาว์ปัญญาที่แท้จริง เป็นเพียงแค่กระดาษและรอยดินสอที่มีคำตอบให้เห็นเพียงว่า " ถูก " หรือ " ผิด " แล้วเราจะสามารถสรุปความสามารถของเชาว์ปัญญาทั้งหมด เพียงแค่จากกระดาษคำตอบแค่นั้นหรือ ถ้าระบบความคิดของทั้งสองภาษาได้รับการพัฒนา แล้วล่ะก็ ย่อมส่งผลดีด้านวิธีคิดมากกว่าผู้ที่ใช้ภาษาเดียว
          ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กใช้คำถามง่าย ๆ ว่า How many uses can you think of for a brick ? หมายถึง อิฐใช้ประโยชน์ ได้กี่อย่าง เด็กบางคนตอบว่า สองหรือสามอย่างเท่านั้นคือ สร้างกำแพงและสร้างบ้าน หรืออะไรทำนองนี้ แต่เด็กสองภาษาอาจจะมีความคิดที่แตกต่างออกไป เช่น สร้างโพรงกระต่าย ทำกรอบหน้าต่าง ใช้เป็นบ่อน้ำสำหรับนก ทำท่อ หรือจะใช้ในงานศิลปะก็ได้ เห็นได้ว่า ระบบสองภาษานั้นจะให้คำตอบที่ละเอียด ถูกต้อง ยืดหยุ่นและลื่นไหลมากกว่า

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

ความสมดุลระหว่างสองภาษาของลูกฉันดูเหมือนจะค่อยๆเปลี่ยนไป ฉันจะมั่นใจได้อย่างไรว่าภาษาใดภาษาหนึ่งจะไม่หายไป?

 เป็นเรื่องธรรมดาว่าความคล่องในสองภาษาของแต่ละคนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเวลา ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆอย่างเช่น ได้ใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า, เมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน, พี่น้องใช้ภาษาอะไร และเพื่อนๆ ใช้ภาษาอะไร ที่สำคัญคือ ความชอบและภาษาที่แต่ละคนเลือกใช้ เช่น เด็กอาจรู้สึกว่าภาษาอังกฤษนั้นง่ายกว่าภาษา สเปน ความชอบและความถนัดของเด็กจะเปลี่ยนไปพร้อมๆกับการฝึกฝนและประสบการณ์
           บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่พอสมควร เด็กอาจหยุดพูดภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถเข้าใจภาษานั้น ในช่วงวัยรุ่นเด็กอาจหันไปใช้ภาษาหลักมากขึ้นเรื่อยๆ และใช้ภาษารองน้อยลงเรื่อยๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากสำหรับผู้ปกครองหลายคน
          การผลักดันหรือบังคับให้ลูกพูดภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และไม่สมควรทำ บางครั้งพ่อแม่อาจใช้วิธีอื่น เช่น บอกกับลูกว่าพวกเขาไม่เข้าใจเวลาที่ลูกพูดภาษาหลัก พ่อแม่ต้องใช้วิธีที่ดีและบังคับลูกทางอ้อม แต่การบังคับจะไม่ได้ผลในระยะยาว
          วิธีแก้ไขก็คือ เมื่อเด็กยังเล็กให้หาวิธีอื่นๆที่จะทำให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษาที่เด็กชอบน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น พาไปอยู่กับญาติ, พาไปออกงานเทศกาลที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม และใช้สื่อต่างๆที่บ้านเพื่อส่งเสริมภาษาที่อ่อนกว่า (เช่น วิดีโอ, ญาติ, เทปเพลง ) เด็กที่เรียนสองภาษาตั้งแต่เริ่มส่วนใหญ่จะสื่อสารได้ทั้งสองภาษา และสื่อสารได้ดีเหมือนกับที่พวกเขารู้ภาษาเดียว

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

เด็กบางคนมองว่าการเป็นเด็กสองภาษาเป็นเรื่องง่าย ใช่หรือไม่?

 เด็ก แต่ละคนมีพัฒนาการในด้านของสองภาษาที่แตกต่างกัน เด็กบางคนจะพัฒนาได้เร็วกว่าคนอื่นๆ เช่นเดียวกับเด็กแต่ละคนตอนเล็กๆ บางคนก็คลาน เดิน หรือหัดพูดคำแรกได้เร็วกว่าเด็กคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาสองภาษา ความเร็วในการการเรียนรู้ภาษาบางส่วนขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็ก จริงๆแล้วเด็กบางคนที่เก่งในด้านวิชาการจะมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ช้ากว่า เด็กคนอื่น การที่แต่ละคนเรียนรู้ที่จะพูดภาษาได้เร็วนั้นไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับความ สำเร็จทางการศึกษา เด็กที่มีการพัฒนาภาษาตั้งแต่เล็กจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และอาจประสบความสำเร็จมากกว่าคนอื่นๆอีกด้วย
           ความ สนใจของเด็กในเรื่องของภาษานั้นเป็นสิ่งสำคัญ และไม่เกี่ยวกับความสามารถและสมรรถภาพของเด็ก เมื่อเด็กได้รับการสนับสนุนและถูกกระตุ้นให้พัฒนาภาษา เด็กก็จะมีความสนใจมากขึ้น ผู้ปกครองที่ตั้งใจฟังเด็กพูด, ตอบเด็กด้วยวิธีที่เด็กสามารถเข้าใจได้ และทำให้ภาษาเป็นเรื่องที่สนุกโดยใช้เสียงเพลงนั้นจะช่วยในการพัฒนาภาษาของ เด็ก ความสนใจของเด็กในด้านของภาษาและการกระตุ้นให้เด็กพูดภาษาล้วนมีผลกระทบต่อ ความเร็วในการพัฒนาภาษาของเด็กทั้งนั้น
          ถ้า เด็กได้รับการสนับสนุนและการฝึกฝนที่เพียงพอ และมีสภาพแวดล้อมในการพัฒนาภาษาที่ดี เด็กก็จะรู้สึกว่าการเรียนรู้สองภาษาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างง่าย ไม่เหนื่อยและไม่ลำบาก พ่อแม่ที่มั่นใจในตัวลูกมักจะมีลูกที่ประสบความสำเร็จ ส่วนพ่อแม่ที่คาดคิดถึงความล้มเหลวมักจะมีลูกที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่า
          เด็กที่รู้สองภาษาหลายคนมีความสามารถในภาษาใดภาษาหนึ่งคล้ายกับคนที่รู้ภาษาเดียว แต่บางคนก็มีความสามารถในภาษาที่สอง ไม่กี่คนที่รู้สองภาษาจะคล่องทั้งสองภาษาเท่าๆกัน เด็กแต่ละคนถึงจุดหมายปลายทางที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนอาจไม่รู้สองภาษาอย่างสมบูรณ์แบบ (เข้าใจแต่ไม่สามารถพูดภาษาที่สองได้) การพัฒนาภาษาเปรียบเสมือนการวิ่งไกล บางคนวิ่งด้วยความเร็วจนถึงเส้นชัย บางคนก็วิ่งช้าๆแต่ก็ยังถึงเส้นชัย เช่นเดียวกับการเรียนภาษา บางคนเรียนรู้ได้เร็ว บางคนเรียนรู้ได้ช้า พ่อแม่ซึ่งเป็นผู้สังเกต อาจรู้สึกหงุดหงิดกับความช้าของหลักสูตรสองภาษาบ้างเป็นบางครั้ง การฝึกสองภาษาให้คล่องนั้นเป็นสิ่งที่ช้ากว่าการฝึกวิ่ง
          ไม่มีเหตุผลว่าทำไมเด็กบางคนจึงพัฒนาสองภาษาได้เร็วกว่าคนอื่นๆ เด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการของตัวเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆข้อเช่น บุคลิกลักษณะของเด็ก, ความสามารถและสมรรถภาพของเด็กในการเรียนภาษา, การสื่อสารกับผู้ปกครองและเพื่อนๆ, เพื่อนบ้านและญาติ, ทัศนคติของคนสำคัญในครอบครัวและทัศนคติของเด็กเกี่ยวกับสองภาษา
          คนที่เรียนภาษาแล้วได้ผลมักจะเป็นพวกที่กล้าใช้ภาษาและไม่กลัวที่จะพูดผิด, รู้สึกสนุกกับการพูดคุยในสังคม, เป็นผู้ที่ชอบเอาใจใส่ต่อสิ่งภายนอก และคอยดูตัวเองตลอดว่าได้เรียนรู้ภาษามากน้อยแค่ไหน ความชอบของเด็ก, พื้นฐานภาษาของครอบครัว และภาษาของสังคมที่เด็กอยู่ล้วนแต่จะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

ลูกของฉันควรแบ่งแยกสองภาษาในแต่ละสถานการณ์และกับบุคคลต่างๆหรือไม่? (เช่น กับแขก)

  ข้อสำคัญหลักในการเลี้ยงดูเด็กโดยการใช้สองภาษาคือขอบเขตของภาษา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ปกครองคนหนึ่งพูดภาษาใดภาษาหนึ่งกับลูก และผู้ปกครองอีกคนหนึ่งพูดอีกภาษาหนึ่งกับลูก สำหรับเด็กจะมีการแบ่งแยกที่ชัดเจนเมื่อเด็กได้ฟังสองภาษานั้น การแบ่งแยกภาษาจะช่วยทำให้เด็กรู้ว่าควรใช้ภาษาอะไรกับผู้ปกครองคนใด
          อีกตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งภาษาคือ โรงเรียนสองภาษาในประเทศอเมริกา โรงเรียนเหล่านี้จะมีการปรับเปลี่ยนภาษาที่ใช้ในการสอนเด็กนักเรียน ยกตัวอย่างเช่น วันหนึ่งใช้ภาษาสเปนสอนวิชาต่างๆ และวันต่อไปก็จะใช้ภาษาอังกฤษสอนแทน จะมีการสลับกันเช่นนี้เพื่อที่จะได้ใช้สองภาษาเท่าๆกัน การแบ่งสอนวันเว้นวันก็เพื่อที่จะได้มีขอบเขตการใช้ภาษาที่ชัดเจน ผู้ปกครองบางคนพูดทั้งสองภาษากับเด็ก (ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ) ผู้ปกครองคนนี้อาจใช้สองภาษาผสมกัน แรกๆเด็กก็อาจจะรู้สึกว่าการผสมภาษาเป็นเรื่องธรรมดาและยอมรับได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้น การแบ่งแยกภาษาก็ยิ่งสำคัญมากขึ้น หากผู้ปกครองคนหนึ่งผสมสองภาษาเด็กอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นธรรมชาติที่ทุกคนจะผสมสองภาษา ผู้ปกครองของเด็กสองภาษาส่วนใหญ่อยากที่จะหลีกเลี่ยงการผสมภาษา (นอกจากว่าจะเปลี่ยนภาษาเป็นบางครั้งเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง)

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

เพื่อนบ้านของฉันมีความคิดเห็นว่าพวกเขาควรรวมทั้งสองภาษา ซึ่งหมายถึงการใช้ภาษาที่ไม่ได้ใช้ที่บ้าน พวกเราควรที่จะแบ่งแยกภาษาหรือรวมทั้งสองภาษา?

   เพื่อนบ้านเหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่ใช้ภาษาเดียว พวกเขาจะมองว่าภาษาจะทำให้ประเทศและคนห่างกัน การใช้ภาษาเดียวกันเป็นวิธีเดียวที่ทำให้รวมตัวกันได้ ปัญหามีอยู่ว่า การรวมตัวกันมักจะหมายถึงการปรับให้เข้ากับลักษณะของสังคม เพื่อนบ้านที่ใช้ภาษาเดียวหวังที่จะให้คุณเป็นเหมือนพวกเขา
          เพื่อนบ้านที่ใช้สองภาษามักจะชอบและเห็นด้วยกับหลากหลายภาษา คนที่ใช้สองภาษาส่วนใหญ่จะยอมรับการใช้หลายภาษา และรับฟังได้หลายภาษา คำถามมีอยู่ว่า ควรที่จะให้เด็กอยู่ห่างจากเพื่อนบ้านเพื่อที่เด็กจะได้ไม่เก่งภาษาใดภาษาหนึ่งมากกว่าหรือไม่ คำตอบคือ การพัฒนาภาษาใดภาษาหนึ่งจะไม่มีผลกระทบต่ออีกภาษาหนึ่ง ภาษาแต่ละภาษาจะมีการพัฒนาที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเด็กควรจะฝึกใช้ภาษากับคนรอบข้าง และกับคนที่มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกัน และในเครือญาติ

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

การฝึกและสนับสนุนให้เด็กใช้สองภาษานอกบ้านมีความสำคัญอย่างไร?

 ส่วนใหญ่แล้วสังคมจะบังคับให้พูดภาษาท้องถิ่น ไม่ใช่ภาษาต่างประเทศ ครอบครัวที่อพยพเข้ามาหรือ ผู้หนีภัยจะไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนให้ใช้ภาษาบ้านเกิดในสังคมหรือในโรงเรียน ซึ่งอาจทำให้ผู้ปกครองเหล่านี้เลิกพูดภาษาตัวเองแล้วกลับมาใช้ภาษาหลักของท้องถิ่นกับเด็ก อย่างไรก็ตาม เด็กก็ยังคงมีความสามารถในทั้งสองภาษา เนื่องจากว่าภาษาของตนนั้นแตกต่างจากภาษาที่สังคมใช้ หากเด็กเรียนรู้ภาษาของสังคมจากโรงเรียน เด็กก็ยังได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอในเรื่องของการใช้สองภาษานอกบ้าน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การเรียนรู้ภาษาหลักของท้องถิ่น แต่อยู่ที่การคงภาษาของตนเองไว้

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

ฉันเป็นผู้ปกครองคนเดียวในครอบครัว แล้วฉันจะสนับสนุนให้ลูกพูดสองภาษาได้อย่างไร?

   เป็นที่เชื่อกันว่าครอบครัวที่มีผู้ปกครองคนเดียวจะมีโอกาสน้อยหรือไม่มีโอกาสส่งเสริมให้ลูกรู้ภาษาเลย เนื่องจากมีปัญหาอื่นๆมากพอแล้ว จึงไม่มีเวลาให้กับปัญหาของการสนับสนุนให้ลูกรู้ทั้งสองภาษา ครอบครัวที่มีผู้ปกครองคนเดียวมักจะเก่งในเรื่องที่ท้าทายหลายๆเรื่อง เช่น การเงิน สังคม หลักความประพฤติ และอื่นๆ เด็กในครอบครัวที่มีผู้ปกครองคนเดียวก็สามารถเรียนรู้สองภาษาได้ เพราะเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้จากคนอื่นๆนอกเหนือจากพ่อและแม่ พี่น้องพูดภาษาอะไร? ญาติๆ เพื่อนบ้าน และเพื่อนๆพูดภาษาอะไรกับเด็ก? เด็กไปโรงเรียนที่ใช้ภาษาที่เด็กไม่ได้ใช้ที่บ้านหรือไม่ ? สังคมนิยมใช้ภาษาอะไร? หากเด็กได้มีประสบการณ์ในการใช้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาที่ใช้ที่บ้าน เด็กก็จะสามารถเรียนรู้ได้ทั้งสองภาษาอย่างง่ายดาย ยกตัวอย่างเช่น ที่บ้านแม่อาจใช้ภาษาหนึ่งกับเด็กเป็นประจำ แต่เด็กอาจได้เรียนรู้ภาษาที่สองจากโรงเรียนเพื่อเป็นการพัฒนาทั้งสองภาษา
          อีกทางเลือกหนึ่งคือ ให้ผู้ปกครองใช้ทั้งสองภาษาในแต่ละสถานการณ์ หากผู้ปกครองใช้สองภาษากับเด็กทั้งวัน อาจทำให้เด็กมีปัญหาในการแยกแยะระหว่างสองภาษา
แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

อะไรจะเกิดขึ้นหากญาติผู้ใหญ่ และญาติสนิทของครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เด็กมีความรู้ทั้งสองภาษา?

 หากมีญาติผู้ใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอื่น เด็กที่รู้ภาษาเดียวอาจไม่สามารถสื่อสารกับพวกเขาได้ ส่วนใหญ่คนที่ไม่เห็นด้วยกับสองภาษามักจะเป็นพวกญาติผู้ใหญ่ และญาติสนิทคนอื่นๆที่รู้เพียงภาษาเดียว ยกตัวอย่างเช่น หากคนที่พูดภาษาอังกฤษแต่งงานกับคนที่พูดภาษาฝรั่งเศส ญาติผู้ใหญ่ที่รู้ภาษาเดียวและวัฒนธรรมเดียวจะไม่ชอบและไม่พอใจกับหลานๆที่ใช้สองภาษา ญาติผู้ใหญ่และคนอื่นๆจะไม่เห็นด้วยกับการใช้สองภาษาหากมันทำให้เขารู้สึกเหมือนเป็นคนนอก เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องอธิบายให้ลูกและญาติเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของภาษา ผู้ปกครองอาจอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าปู่ ย่า ตา ยาย อาจไม่เข้าใจเวลาที่ลูกพูดภาษาอังกฤษ และเพราะฉะนั้นลูกจึงควรที่จะใช้ภาษาสเปน เด็กจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเปลี่ยนมาใช้ภาษาที่เหมาะสม และจะได้รับประโยชน์จากการพูดคุยกับญาติผู้ใหญ่ในภาษาที่ผู้ใหญ่เลือกใช้
           ควร จะอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่และคนอื่นๆ เข้าใจถึงผลประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากความสามารถในการใช้สองภาษา และความรักความห่วงใยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาที่ญาติผู้ใหญ่ไม่ เข้าใจ หากปู่ ย่า ตา ยายอยู่ในบ้านเดียวกันกับเด็ก เด็กจะได้รับผลประโยชน์ทางด้านภาษามาก เพราะจะทำให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาอื่น ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ปกครองพูดภาษาหนึ่งกับลูก และปู่ ย่า ตา ยาย ไม่พูดภาษานั้น พวกเขาจะช่วยเด็กในภาษาที่สองได้ และจะเป็นแบบอย่างให้กับเด็กในการใช้ภาษาที่สอง นอกจากจะได้เรียนรู้ภาษาที่สองแล้ว เด็กยังจะได้เรียนรู้อีกหลายๆอย่างเช่น เพลง กลอน นิทาน และประเพณีของภาษานั้นๆ ซึ่งเป็นการสืบทอดภาษาต่อไป

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

หากพวกเราส่งเสริมให้ลูกพูดสองภาษาจะมีผลต่อการแต่งงานของเราหรือไม่ ?

  หากการส่งเสริมให้ลูกพูดสองภาษาไม่มีผลต่อการแต่งงาน แสดงว่ามีสิ่งที่ผิดปกติเกี่ยวกับการแต่งงาน อย่างไรก็ตามคำถามนี้เหมือนจะบอกให้รู้ว่าจะมีผลต่อการแต่งงานในทางที่ไม่ดี ยกตัวอย่างเช่น หากลูกสามารถพูดเกี่ยวกับแม่ให้พ่อฟังในภาษาที่แม่ไม่สามารถจะเข้าใจได้ ลูกอาจทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมื่อผู้ปกครองต้องพิจารณาว่าจะใช้ภาษาใดต่อหน้าลูก ควรเปลี่ยนภาษาเมื่อญาติๆ, เพื่อน หรือคนอื่นมาที่บ้านหรือเปล่า เมื่อใช้ภาษารองที่บ้านและคนที่ใช้ภาษาหลักภาษาเดียวมาที่บ้าน ผู้ปกครองเปลี่ยนภาษาที่พูดกับลูกหรือเปล่า? ควรที่จะพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของภาษาในบ้านเช่นเดียวกับที่พูดคุยเรื่องเงิน หรือเรื่องอื่นๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้คุยกันครั้งเดียวไม่จบ ต้องคุยเป็นระยะๆ เช่นเดียวกันกับภาษาของลูกซึ่งควรจะพูดคุยกันเป็นประจำ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเรื่อยๆ
          ในการพัฒนาสองภาษามีทั้งขึ้นและลง มีทั้งความสุขและความกังวล ผู้ปกครองจะมีความสุขเมื่อได้ยินลูกพูดสองภาษากับคนแต่ละกลุ่ม และเมื่อลูกสามารถสร้างสะพานระหว่างสองภาษาได้ แต่ผู้ปกครองก็จะกังวลใจว่าลูกจะเก่งในทั่งสองภาษาหรือไม่ เพราะฉะนั้นคำตอบคือ การพัฒนาเด็กให้พูดได้สองภาษามีผลกระทบต่อชีวิต แต่งงานแน่นอน ภาษาของเด็กจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของเด็กทางกาย และจิตใจ ผู้ปกครองควรคอยเอาใจใส่เรื่องภาษาของเด็ก เช่นเดียวกับที่เอาใจใส่ในเรื่องอื่นๆ
          อะไรจะเกิดขึ้นหากญาติผู้ใหญ่ และญาติสนิทของครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เด็กมีความรู้ทั้งสองภาษา? หากมีญาติผู้ใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอื่น เด็กที่รู้ภาษาเดียวอาจไม่สามารถสื่อสารกับพวกเขาได้ ส่วนใหญ่คนที่ไม่เห็นด้วยกับสองภาษามักจะเป็นพวกญาติผู้ใหญ่ และญาติสนิทคนอื่นๆที่รู้เพียงภาษาเดียว ยกตัวอย่างเช่น หากคนที่พูดภาษาอังกฤษแต่งงานกับคนที่พูดภาษาฝรั่งเศส ญาติผู้ใหญ่ที่รู้ภาษาเดียวและวัฒนธรรมเดียวจะไม่ชอบและไม่พอใจกับหลานๆที่ใช้สองภาษา ญาติผู้ใหญ่และคนอื่นๆจะไม่เห็นด้วยกับการใช้สองภาษาหากมันทำให้เขารู้สึกเหมือนเป็นคนนอก เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องอธิบายให้ลูกและญาติเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของภาษา ผู้ปกครองอาจอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าปู่ ย่า ตา ยาย อาจไม่เข้าใจเวลาที่ลูกพูดภาษาอังกฤษ และเพราะฉะนั้นลูกจึงควรที่จะใช้ภาษาสเปน เด็กจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเปลี่ยนมาใช้ภาษาที่เหมาะสม และจะได้รับประโยชน์จากการพูดคุยกับญาติผู้ใหญ่ในภาษาที่ผู้ใหญ่เลือกใช้
          ควร จะอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่และคนอื่นๆ เข้าใจถึงผลประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากความสามารถในการใช้สองภาษา และความรักความห่วงใยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาที่ญาติผู้ใหญ่ไม่ เข้าใจ หากปู่ ย่า ตา ยายอยู่ในบ้านเดียวกันกับเด็ก เด็กจะได้รับผลประโยชน์ทางด้านภาษามาก เพราะจะทำให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาอื่น ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ปกครองพูดภาษาหนึ่งกับลูก และปู่ ย่า ตา ยาย ไม่พูดภาษานั้น พวกเขาจะช่วยเด็กในภาษาที่สองได้ และจะเป็นแบบอย่างให้กับเด็กในการใช้ภาษาที่สอง นอกจากจะได้เรียนรู้ภาษาที่สองแล้ว เด็กยังจะได้เรียนรู้อีกหลายๆอย่างเช่น เพลง กลอน นิทาน และประเพณีของภาษานั้นๆ ซึ่งเป็นการสืบทอดภาษาต่อไป

จะเป็นอย่างไรหากผู้ปกครองไม่เห็นด้วยกับการที่เด็กควรมีความสามารถในการใช้ทั้งสองภาษา ?

  สำหรับผู้ปกครองบางคน การส่งเสริมเด็กสองภาษาเป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดาและไม่มีอะไรที่ต้องอธิบาย ในหลายๆ ประเทศเด็กสองภาษา, สามภาษา และหลายภาษามักจะเป็นมาตรฐานและไม่ใช่กรณีพิเศษ การใช้สองภาษาเป็นที่ยอมรับและเป็นที่คาดหวัง ภาษาก็เป็นเรื่องสำคัญที่ครอบครัวควรจะพูดถึง เช่นเดียวกับการที่ ผู้ปกครองหลายๆ ท่านพูดคุยเรื่องมารยาท, การดูโทรทัศน์, ทรงผมและเสื้อผ้าของเด็กๆ
           ภาษา ของเด็กเกี่ยวข้องกับหลายๆ เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ความสัมพันธ์กับญาติๆ, การเรียน,การมีส่วนร่วมในสังคม, อาชีพการงานในอนาคต และที่สำคัญที่สุดคือ ศักดิ์ศรีและความคิดของตัวเด็กเอง การพูดคุยกันเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เด็กรู้สองภาษาหรือภาษาเดียวไม่ใช่เป็น เรื่องภาษาเท่านั้น แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กโดยรวมในทุกๆ ด้าน เกี่ยวกับความรู้สึกปลอดภัยที่เด็กมี, เอกลักษณ์ของตัวเอง และสถานะของตัวเด็กเองในสังคม
          หาก มีการขัดแย้งเกิดขึ้นในครอบครัว ควรพิจารณาข้อดีและข้อเสีย ผู้ปกครองควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกไม่ใช่ความต้องการของตัวผู้ปกครองเอง ด้วยความห่วงใยผู้ปกครองอาจยอมเสียสละความคิดเห็นของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ของลูก ยกตัวอย่างเช่น หากพ่อกังวลว่าพ่อไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่แม่พูดกับลูกในภาษาแม่ควรให้เด็ก เสียสละความสามารถในการใช้สองภาษาเพราะพ่อหรือไม่? ในกรณีที่พ่ออาจยอมที่จะไม่เข้าใจสิ่งที่แม่กับลูกคุยกัน เพื่อช่วยให้ลูกคล่องในสองภาษามากขึ้น พ่อควรจะเป็นผู้เปลี่ยนแทนลูก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผลประโยชน์ของลูกในระยะยาว

แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

แม่สำคัญกว่าพ่อในการพัฒนาภาษาของเด็ก ใช่หรือไม่?

ไม่ เป็นเรื่องแปลกหากจะใช้คำว่า "ภาษาแม่" ในครอบครัวที่พ่อออกไปทำงาน และแม่อยู่เลี้ยงลูกที่บ้าน ในสถานการณ์เช่นนี้ เวลาที่แม่มีให้กับลูกจะมีผลต่อการพัฒนาภาษาของลูกมาก แม่หลายๆ คน ที่มีภาษาแรกแตกต่างจากภาษาของสังคม มักจะเลือกใช้ภาษาแรกกับลูก การพูดภาษาอื่น หรือแม้กระทั่งภาษาของพ่อ, ภาษาของสังคม หรือภาษาหลักของประเทศ อาจทำให้รู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง, แปลก, แตกต่าง และแม้กระทั่งน่ารังเกียจ
แม่ บางคนไม่เลือกที่จะใช้ภาษาของตนเองกับลูก สำหรับพวกเขา การใช้ภาษาท้องถิ่น, ภาษาของพ่อ หรือภาษาของโรงเรียนเป็นสิ่งที่ดูดี ได้ผลดี และให้ความรู้กับเด็ก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม่จะใช้ภาษาตัวเองกับลูกในเรื่องทั่วๆไป ( เช่น ป้อนข้าว, อาบน้ำ, แต่งตัว, ระเบียบวินัย ) พ่อมีโอกาสได้เล่นกับลูก ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นการใช้ภาษา เพราะฉะนั้น พ่อควรรู้ถึงความสำคัญของบทบาทตัวเองในการพัฒนาภาษาของเด็ก พ่อบางคนอยู่เลี้ยงลูกที่บ้าน ส่วนแม่ออกไปทำงานข้างนอก
ใน บางครอบครัว ( เช่น แม่พูดภาษาหนึ่ง พ่อพูดอีกภาษาหนึ่ง ) ผู้ปกครองทั้งสองคนช่วยสนับสนุนการใช้สองภาษา ทั้งพ่อและแม่ควรรู้ว่าตัวเองมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภาษาของเด็กมาก ก่อนที่เด็กจะหัดพูดคำแรก เขาจะออกเสียงภาษาที่สองที่พ่อและแม่ใช้ เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น พ่อจะมีบทบาทสำคัญมาก พ่อมีอิทธิพลต่อทัศนคติของเด็กที่มีต่อภาษา ไม่ว่าพ่อจะมองการใช้สองภาษาในแง่ดีหรือแง่ลบ ก็มีผลกระทบต่อลูกทั้งนั้น หากพ่อคิดว่าการที่แม่ใช้ภาษาของตัวเองเป็นสิ่งที่ดี ลูกก็จะรู้สึกดีด้วย และจะทำให้ลูกมั่นใจในการใช้ภาษามากขึ้น
เรื่อง สำคัญอีกเรื่องหนึ่งระหว่างสามีภรรยาคือ พวกเขาควรจะใช้ภาษาอะไรคุยกันเมื่อลูกอยู่ด้วย ควรจะใช้สองภาษาให้เท่าๆ กัน เช่น ถ้าเด็กได้ฟังภาษาหนึ่ง 80% และภาษาที่สอง 20% จากพ่อ สามีและภรรยาอาจเลือกใช้ภาษาที่เด็กได้ฟังน้อยกว่าเมื่อคุยกันต่อหน้าลูก
หาก ผู้ปกครองพูดภาษาหลักไม่ถูกต้องและด้วยสำเนียง "ต่างประเทศ" เด็กวัยรุ่นอาจรู้สึกอับอาย ผู้ปกครองอาจทำให้เด็กวัยรุ่นเชื่อถือ และพอใจในตัวผู้ปกครองได้ด้วยการพูดภาษารอง เพราะฉะนั้นคำตอบคือ ผู้ปกครองทั้งสองคนมีบทบาทที่สำคัญมากในการพัฒนาภาษาของเด็ก ผู้ปกครองควรรู้ถึงความสำคัญของภาษาที่เด็กได้ฟังและใช้กับผู้ปกครอง ผู้ปกครองควรดูแลเรื่องภาษาเช่นเดียวกันกับที่ดูแลเรื่องอาหาร
แหล่งที่มา : A PARENTS' AND TEACHERS' GUIDE TO BILINGUALISM

แนะนำโครงการภาคภาษาอังกฤษ (IP) และ โครงการนานาชาติ (EP)

แนะนำโครงการภาคภาษาอังกฤษ (IP) และ โครงการนานาชาติ (EP) EP-Open House 2011
ในวัน อาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2554 เวลา 08.00- 12.00 น. ณ โรงเรียนโยธินบูรณะ


http://www.yothinburana.ac.th


วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

แนะนำน้อง ๆ ที่อยากเรียน English Program ชั้น ม. 1

โครงการ English Program คือ เป็นโครงการของ รร รัฐบาล เน้นการเรียนเป็นภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด  โรงเรียนที่เปิดโปรแกรมนี้ที่ใกล้ ๆ ประชานิเวศน์ คือ  สตรีนนทบุรี เปิดประมาณ 3 ปี  สามเสนวิทยาลัย เปิดประมาณ 2 ปี  โยธินบูรณะ ประมาณ 3 ปี สาธิตสวนสุนันทา 2 ปี สิ่งที่ต้องเตรียมตัว และ คุณสมบัติ
- เกรดเฉลี่ยของ ป 4 + ป 5 + ป 6 เทอม 1  =  3.5  ขี้นไป บาง รร คิดเฉพาะป 4+ป 5
- ชอบภาษาอังกฤษ  แต่ถ้าไม่ชอบ เรียน ๆ ไปก็จะชอบเอง เพราะมีการปรับพื้นฐาน ม.1 ก็จะขรุขระนิดหน่อย แต่ทาง รร จะช่วยเสริมให้ด้วย ม 2 happy เลย
- เตรียมเรื่องค่าใช้จ่าย เท่าที่ทราบ ค่าแรกเข้าเสียครั้งแรก ตามตัวเลขด้านล่าง
โยธิน  แรกเข้า 100,000  ค่าเทอม  30,000  ปีนึงมี 2 เทอม
สามเสน      100,000         35,000   
สตรีนน        50,000         35,000
สวนสุนันทา     50,000         45,000  รวมอาหารกลางวันด้วย
- จากที่เช็คข้อมูลเบื้องต้น เพราะลูกสอบปีนี้ โรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางด้าน EP 
อันดับ 1 โยธิน เนื่องจากเปิดมานาน หลักสูตร และครู ค่อนข้างลงตัว เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ  ปีนี้อัตราส่วนการสอบ 6:1
อันดับ 2 สามเสน ถึงแม้เพิ่งเปิด แต่มี ผอ ที่ย้ายมาจากโยธิน และ ทาง รร ได้เตรียม ครูต่างชาติที่สอน ค่อนข้างคัดมาอย่างดี  ส่วนครูไทยที่สอนเป็นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะเป็น อาจารย์จาก มหิดล  อย่างไรสามเสนก็ได้เปรียบจากที่มีชื่อเสียงมาก ของภาคปกติ ปีนี้ ent ติดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ต่อจากเตรียม  อัตราส่วนการสอบ 6:1
ส่วน สวนสุนันทา กับสตรีนน ยังไม่มีข้อมูลมากนัก  แต่อัตรส่วนในการสอบของ สตรีนนจะน้อยสุดค่ะ
- ข้อสอบในปีนี้ สำหรับ โยธิน กับสามเสน  (โยธินจะยากกว่า ไม่รุ้ว่าถ้าออกง่ายกลัวจะแพ้สามเสนหรือไง ยากกว่าทุกปี) ให้เวลา 3 ชม
 ภาษาอังกฤษ ศัพท์จะยากมาก แนะนำให้ดูศัพท์เยอะ ๆ Gramma ออกน้อยค่ะ รร ของเราภาษาอังกฤษ จะสู้พวกที่มาจาก เซนต์ ๆ ทั้งหลายไม่ค่อยได้ อยากให้น้อง ๆ เตรียมตัวเรื่องภาษาอังกฤษ มาก ๆ นะ มี 100 ข้อ อ่านแล้วมึนเลยล่ะ
คณิตศาสตร์ ก็ยากนะ เด็กเราทำไม่ทันก็เยอะ ควรฝึกทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ เพราะเห็นข้อสอบแล้วจะได้ไม่ต้องคิดนาน  มี 50 ข้อ    
  สอบสัมภาษณ์ จะมีเฉพาะ สตรีนน (จะสอบก่อนที่อื่น สอบ spare ไว้ก็ดี) ครูต่างชาติจะเป็นคนสัมภาษณ์ แนะนำนะถ้ามี ผลงานให้เก็บเป็นแฟ้มไว้ เวลาสัมภาษณ์เอาติดเข้าไปสัมภาษณ์ด้วย เพราะเขาจะชอบเด็กกิจกรรมด้วย  ก็จะถามผลงานตามแฟ้มแหละ  ควรจะมีการไปเข้าค่าย ภาษาอังกฤษบ้าง เช่น ypdc ,ayc
  ข้อมูลข้างต้น จะเป็นข้อมูลที่ได้ตรวจเช็คเอง อาจมีผิดพลาดหรือตกหล่นบ้าง ก็ขออภัยด้วย เพราะปีนี้ลูกสอบจึงหาข้อมูลไว้เท่าที่หาได้  คงจะช่วยน้อง ๆ หรือ ผู้ปกครองที่อยากจะให้เข้า EP จะได้เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ  หากมีส่วนใดผิดพลาด ผู้ปกครองที่ทราบจริงก็ตอบแก้ไขให้ด้วยก็จะดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ผู้ปกครอง ป 6

การเรียน CHEMISTRY M.4 @ EP yothin! ภาค1

การเรียน CHEMISTRY M.4 @ EP yothin! ภาค1
 ที่มา ( http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=klaprobean&date=08-11-2009&group=5&gblog=1)

การเรียนที่อีพีโยธินก็ดีครับ สอนเป็นภาษาอังกฤษหมด(ใครๆก็รู้เนอะ) อาจารย์ที่มาสอนก็ดีครับ เป็นระดับอาจารย์มหาลัย(บางวิชาonly) ผมจะเล่าให้ฟังเรียงวิชาเคมีแล้วกันว่าเป็นไง แถมก่อนอ่านนะ ที่เรียนไม่ค่อยได้ใช้หนังสือเลย แจก text เล่นยักษ์มาใช้อ้างอิงเฉยๆ แต่ตอนเรียน จดเอง 100% ตามกระดาน




Photobucket

นี่บร๊ะคัมภีร์จ้า




เคมี ม.4 สุดยอดวิชาครับเพ่น้อง เรียนที่โยธินอีพี ไม่มีผิดหวังแน่นอน อาจารย์ท่านสอนได้แบบสุดยอดครับ ท่านชื่อ รศ.ดร.สมศักดิ์ สอนอยู่ที่ลาดกระบัง จารย์เค้าสอนแบบเกินหลักสูตรแบบโคตรๆ คือเรียนอุ๊มามีส่วนช่วยแค่เบสิกเท่านั้น ที่เหลือซัก94% คือเกินหลักสูตรแบบสุดตรีนครับ คือเป็นเนื้อหาระดับมหาลัยมาสอนเพิ่มสุดๆ อย่างที่เราเรียนๆกันในเรื่องโครงสร้างอะตอมที่อุ๊ ก็มีดอลตัน ทอมสัน รัเทอร์ฟอร์ด โบร์ และ กลุ่มหมอก ของที่โยธินก็แบบนี้แต่ลงรายละเอียดแบบสุดๆ ชัดๆเลยในเรื่องของ โบร์ กับ กลุ่มหมอก ที่อย่างที่เรียนอุ๊ก็ E=hv ก็ยากแล้ว พอมาเจอที่นี่แล้วจะหนาวครับ สูตรนี้เบที่สุด เพราะมันจะมีสูตรการหา wave function(ไม่มีในม.ปลายนะ มีมหาลัยนู่น) ค่าคงที่ของ rydburg และ photoelectric effect ที่จะมีเรียนในฟิสิกส์ตอนม.6ครับ มี eV แถมอีก = = ก็ที่จะเรียนกลุ่มหมอก ก็มีเรื่อง ความยาวคลื่นเดอบรอย(De Brogile) คือ เป็นทฤษฎีควอมตัม ที่ทุกอนุภาคbehaveเป็นคลื่นได้ อย่างเช่นเวลาเราเดิน ขับรถ จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นเส้นตรงสัมบูรณ์ แต่เป็นคลื่นต่างหาก แต่มันน้อยจนเราไม่สังเกตได้




Photobucket

สมการของน้องโบร์



ต่อ กันเรื่องกลุ่มหมอกดีกว่านะ ที่อุ๊เค้าก็สอนแค่รูปภาพใช่มั้ยหล่ะ เป็นจุดเขียวๆ รอบๆ ที่อิเล็กตรอนจะอยู่เป็นกลุ่ม ไม่ได้ลงลึก ซึ่งที่เรียนตาม รร ทั่วไปก็คงไม่ลงลึก แต่โยธินอีพีไม่เลย อิอิ สอนเริ่มอันแรกที่ the uncertaintl principle ของ heisenburg ที่ว่าด้วย"เราไม่สามารถรู้ตำแหน่งที่แม่นยำ พร้อมๆกับรู้ความเร็ว(โมเมนตัม)ได้พร้อมๆกัน" ซึ่งเป็นหัวใจของ quantum เลย บวกกับว่าอิเล็กตรอนเล็กมากจนเห็นเป็นคลื่นเด่นชัด ทำให้อิเล็กตรอนมีตำแหน่งที่ไม่แน่นอน โคจรรอบนิวเคลียส เลยไม่เป็นวงเหมือนอย่างโบร์กล่าว เจ๋งมากครับ เป็นจุดพลิกทำให้ผมอยากเรียนเรื่องนี้ในมหาลัยมาก อิอิ ต่อที่พระเอกครับ อีตา Schrodinger ชาวออสเตรีย ได้นำเสนอสมการคลื่นของตนเอง ที่สำคัญพอๆกับ F=ma ของนิวตันเลย แต่มันเป็นสมการที่ยากแบบขี้แตกขี้แตน เกินเด็กม.ปลายจะตรัสได้ เลยแค่รู้สมการไว้ กับรู้ว่ามัน derive ได้ไรบ้าง พอแล้ว




Photobucket

หลักแห่งความไม่แน่นอน

Photobucket
สมการคลื่น schrodinger เรียนในมหาลัยนะจ๊ะ



p.s. เรื่องที่เกินๆหลักสูตร ออกสอบหมด(แถมยากด้วย) ยกเว้นschrodinger's equation อย่างเดียวที่ไม่ออก


เจอกันภาค2 นะจ๊ะ เดี๋ยวมาเล่าเคมีหรรษาต่อ

English Program ของลูก เรียนอย่างไรให้สัมฤทธิ์ผล

        หากจะพูดถึง EP คงจำเป็นต้องเท้าความถึง Bilingual Education ในเด็ก ซึ่งเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นเสียก่อน Bilingual Education นั้น แรกเริ่มเดิมทีนั้น เกิดจาก "ความจำเป็น" ของเด็กที่อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ใช้ภาษาแตกต่างจากภาษาหลักในสังคม ความจำเป็นนั้นส่งผลให้เด็กนอกจากจะต้องใช้ภาษาแม่ของตนเพื่อสื่อสารกันใน ครอบครัวแล้ว ยังต้องเรียนภาษาหลักเพื่อใช้สื่อสารกับคนในสังคมให้ได้ด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัดคือ เด็กเชื้อสายละติน หรือจีน ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องพูดภาษาสเปนหรือภาษาจีนภายในครอบครัว เด็กกลุ่มนี้มีความจำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เป็นทางการ ในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย อันนำมาสู่หลักสูตรการเรียนการสอนแบบผสมผสาน มีทั้งภาษาสเปน และภาษาอังกฤษเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กกลุ่มนี้
      
       สำหรับในประเทศไทย จะพบว่าการเรียนการสอนในระบบสองภาษา ก็เกิดจาก "ความจำเป็น" เช่นกัน ทว่าเป็นความจำเป็นที่แตกต่างออกไป โดยพ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทยส่วนหนึ่งเล็งเห็นว่า หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เด็กไทยไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ จากโลกภายนอกที่มักอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษ จึงนำไปสู่การจัดหลักสูตร "English Program" (การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลาง และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับโรงเรียนเอกชนกลุ่มหนึ่ง จัดการเรียนการสอนนำร่องหลักสูตร English Program ขึ้น
      
       อย่างไรก็ดี การมีหลักสูตร EP เกิดขึ้นก็ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันได้ว่า เด็กไทยจะประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษจนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพราะในระหว่างทางของการเรียนของเด็กแต่ละคน ยังมีความแตกต่าง และรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ที่รอการช่วยเหลือและแก้ไขให้บรรลุผล

      อาจารย์อัชฌา เสียงหลาย คณะทำงานโครงการศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษา อังกฤษ และผู้อำนวยการบริหารกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้า เปิดเผยว่า หลัง จากที่ประเทศไทยเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program (EP) มากว่า 15 ปีพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เด็กปรับตัวเข้ากับหลักสูตรไม่ได้นั้นมีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น ระดับชั้นของเด็กเมื่อเริ่มเข้าเรียนในหลักสูตร EP, พื้นฐานเดิมทางภาษาอังกฤษของเด็ก, พื้นฐานทางวิชาการของเด็ก และปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กเอง
      
       "ถ้า นักเรียนไม่ได้เริ่มเรียนหลักสูตร EP ตั้งแต่ระดับชั้นเริ่มต้น และมีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ นักเรียนจะเกิดความท้อแท้และปรับตัวลำบาก นอกจากนั้น หากความรู้ด้านวิชาการไม่เพียงพอด้วยแล้ว นักเรียนก็จะยิ่งปรับตัวยากมากขึ้น เพราะการเรียนในวิชาการต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน และมีศัพท์เฉพาะของแต่ละศาสตร์"
      
       ใน จุดนี้ แนวทางช่วยเหลือสำหรับเด็ก ๆ สามารถเริ่มได้จากโรงเรียนและครู นั่นก็คือ การจัดการเรียนการสอนกลุ่มย่อย (ไม่เกิน 1 - 3 คน) ให้แก่เด็ก ซึ่งพบว่า ภายใน 1 ภาคเรียน เด็ก ๆ จะสามารถพัฒนาพื้นฐานทางภาษาอังกฤษให้มีความพร้อมเพียงพอที่จะกลับไปเรียน ร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนปกติได้
      
       "นอกจากนี้ คุณครูอาจใช้เวลาว่าง เช่น ชั่วโมงห้องสมุด จัดกิจกรรมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ โดยให้เด็กเลือกหนังสือที่สนใจ และสอนเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นโดยเฉพาะ วิธีนี้ จะทำให้เด็กมีแรงบันดาลใจในการเรียนสูงมาก เพราะจะได้เรียนในเรื่องที่เด็กมีความสนใจเป็นพิเศษ ทำให้พร้อมที่จะเปิดรับความรู้ และมีความพยายามในการเรียนสูงขึ้น ถึงแม้จะต้องใช้ภาษาที่ไม่ถนัดก็ตาม"
      
       สำหรับแนวทางอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้แก่เด็กนั้น ยกตัวอย่างเช่น การสังเกตและติดตามผลของเด็กในห้องเรียน เพื่อให้ครูได้ทราบว่าเด็กตามเพื่อนไม่ทันในจุดใดบ้าง ตลอดจนให้เด็กได้มีโอกาสซักถามในสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจในการเรียน ด้วยวิธีดังกล่าวนี้พบว่านักเรียนที่ไม่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) จะสามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการเรียนในหลักสูตร EP ได้ในเวลาอันสั้น
      
       นอกจากกระบวนการการเรียนการสอนดังกล่าวแล้ว นักเรียนไทยยังมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ภายในห้องเรียน ที่ครูชาวต่างชาติในหลักสูตร EP ให้ข้อสังเกตเอาไว้ด้วยว่า นักเรียนไทยมักให้ความร่วมมือในการเรียนกับครูสูงกว่า อีกทั้งยังให้ความเคารพ และเชื่อฟังครู ส่งผลให้บรรยากาศในห้องเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น เอื้อต่อการเรียนการสอน

แนะผู้ปกครองเข้าใจหลักสูตร
       

       ในยุคที่พ่อแม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในเวลาเพียงเสี้ยว นาที คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มีพ่อแม่หลายครอบครัวที่คาดหวังว่าลูกจะสามารถเรียนรู้และใช้ภาษาได้เป็น อย่างดี ในเวลาอันสั้นเหมือนเช่นคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งความคาดหวังดังกล่าว อาจไม่เป็นผลดีกับการเรียนของลูกแต่ประการใด
      
       "อยาก ฝากบอกผู้ปกครองว่า การเรียนภาษา เป็นเรื่องของทักษะ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา จึงขอให้ผู้ปกครองใช้ความอดทนและทำความเข้าใจถึงความแตกต่างและวิธีเรียนของ เด็กแต่ละคน หากผู้ปกครองเข้าใจในประเด็นดังกล่าว นอกจากจะสามารถสั่งสอนลูก ปลุกปั้นลูก เพื่อที่จะดึงศักยภาพของลูกออกมาได้ในแบบที่เขาถนัดแล้ว ยังทำให้ลูกมีกำลังใจในการเรียนและสามารถพัฒนาตนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย"
       

      
       4 ข้อควรทำ ก่อนนำเจ้าตัวเล็กเข้าเรียน EP
       

       - เตรียมความพร้อมให้ลูกเช่นเดียวกับการเข้าเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สอนให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ห้องน้ำ รับประทานอาหาร รักษาความสะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสร้างทัศนคติที่ดีในการไปโรงเรียน ให้เด็กได้ทราบว่าจะได้เจอคุณครูใจดี มีเพื่อน ๆ มีกิจกรรมสนุก ๆ รอให้ทำรออยู่
      
       - สร้างให้ลูกคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ เช่น การพูดภาษาอังกฤษกับลูก หรือเปิดรายการการ์ตูนหรือสารคดีสำหรับเด็กดูร่วมกัน เนื่องจากรายการเหล่านี้จะมีภาพประกอบ-เสียงให้เด็กสามารถคาดเดาความหมายของ คำศัพท์นั้น ๆ ได้ เป็นการสร้างความคุ้นเคยให้เด็กโดยอัตโนมัติ และทำให้เด็กเรียนในหลักสูตรได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ไม่เกิดความคับข้อง หรืออึดอัดใจ
      
       - ถ้าพ่อแม่ใช้ภาษาอังกฤษได้ก็ควรพูดโต้ตอบกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเมื่อเด็กคุ้นเคยและสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษ เด็กจะเกิดความมั่นใจที่จะกล้าพูดโต้ตอบต่อไปได้
      
       - อ่านหนังสือ นิทานต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษให้ลูกฟัง พร้อมทั้งชี้ชวนให้ดูภาพในหนังสือประกอบ
 

เรียน EP แล้วจะสอบได้มั้ยคะ?

คือตอนนี้เราเรียนอยู่ร.ร.เอกชนแห่งหนึ่งซึ่งไม่ส่งเสริมการเรียนเท่าไหร่(เน้นเก็บเงิน)
มาตรฐาน...ก็นะ = ="
แล้วคือว่าเราเรียนพิเศษอยู่ที่นึง ซึ่งไม่มีชื่อเรื่องที่มีคนติดเตรียมแต่ก็มีสาขาเยอะมาก
(คนเรียนก็เยอะนะ)
เราเรียนเป็นEPแล้วหลักสูตรมันไม่ตรงกับที่เราเรียนพิเศษเลยอ่ะ
คือคนอื่นเขารู้เรื่องส่วนเราไม่เข้าใจ แบบมันเรียนคนละหลักสูตร
คนอื่นทำโจทย์ได้ ส่วนเรานั่งเอ๋อ
เรารู้วิธีทำ แต่ทำโจทย์ไม่ได้ คือวิเคราะห์โจทย์ไม่เป็น
พี่ๆว่าเรียนพิเศษที่ไหนดีคะ
อ่านหนังสือเล่มไหนดี เอาแบบไม่ต้องเยอะนะคะ เน้นข้อสอบ
เนื้อหาก็ได้ค่ะ พอประปราย
อยากเข้าวิทย์คอมค่ะ เพราะต่อยอดถึงอนาคตเลย ฮ่าๆๆ
เราสอบได้เกรด 3.98 ตอนม.1 (นี่ปล่อยเกรดนะ - -)
เคยสอบราชวินิตติดห้องพิเศษไรของเขาไม่รู้ด้วย ที่เรียนวิทย์ คณิตเป็นภาษาอังกฤษอ่ะ มั้งไม่แน่ใจ แต่เราไม่ใช่คนเก่งหรอก เพราะเรียนเอกชนแต่เด็กๆ เกรดก็ได้เกรด 4 ตามมาตรฐานเอกชนอ่ะแหละ แบบรู้ๆกันอยู่อ่ะนะ ^^'
ก็ตอนนี้ก็เริ่มออ่านหนังสือแล้ว กำลังขึ้นม.3 ค่ะ
สรุปคำถาม
1.เรียนพิเศษที่ไหนดี (เอาแบบรวมๆ แยกก็ได้แต่เอาน้อยๆนะคะ ไม่ค่อยมีตังค์)
2.แล้วลงเรียนคอร์สไหนดีคะ (บางทีมีคอร์สยอะมาก)
3.หนังสือที่ควรอ่าน เอาทั้ง ข้อสอบ (ที่ตรงๆ)และเนื้อหา (ที่แน่นพอประมาณ)
ป.ล.อยากเข้าวิทย์คอมจ้า
หมายเหตุ*วิทย์อินเตอร์คือไรคะ ?

สพฐ.จัดโรดโชว์ร.ร.หลักสูตร EP 80โรง

 สพฐ.เตรียมเปิดหลักสูตร English Programs (EP) นำร่อง 2 โรงโดยผู้ปกครองไม่ต้องควักกระเป๋าเพิ่ม ในปีการศึกษา 52 เพื่อเพิ่มช่องทางให้เด็กยากจนได้มีโอกาสเรียน
       คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีแนวคิดที่เปิดสอนหลักสูตร English Programs (EP) ในโรงเรียนปกตินำร่อง 1 หรือ 2 โรง ในปีการศึกษา 2552 โดยจะให้เรียนฟรีและไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในเบื้องต้นคิดว่าจะส่งครูไทยที่เก่งภาษาไปอบรมภาษาอังกฤษ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับมหาวิทยาลัยออสเตรเลียหรือมหาวิทยาลัยใน เมืองไทย ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะพัฒนาครูไทยที่เก่งด้านภาษา ให้มีความสามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ตนจะไปหารือกับโรงเรียนทวีวัฒนา ซึ่งเปิดสอน EP โดยไม่มีการเรียกเก็บจากผู้ปกครองเพิ่มเติมอีก
      
       “หลายฝ่ายมองว่า หากเป็นครูไทยสอนจะไม่มีความเลื่อมใสจากนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งในช่วงแรก ดิฉันคิดว่าอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่หากสามารถที่จะประเมินได้ ทั้งในแง่ความสามารถในการใช้ภาษาและรวมทั้งความรู้ในเรื่องของสาระก็สามารถ ทำได้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรจะมีบริการสำหรับเด็กที่ไม่มีฐานะดีพอที่จะไปเสียเงินเรียนหลักสูตรดัง กล่าว ซึ่งเด็กเหล่านี้ก็ต้องได้รับโอกาสเช่นเดียวกัน “ เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
      
       คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ในอนาคตจะนำนักเรียนที่จบ EP. มาสอนเป็น 2 ภาษา เนื่องจากเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่จะสามารถสอนโรงเรียนที่เปิด EP ในปัจจุบันได้ เพราะมีจำนวนนักเรียนที่จบมาแล้วในแต่ละปีมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสำหรับอัตราค่าตอบแทนนั้น ศธ.จะบรรจุให้เป็นครู นอกจากนี้อาจจะมีทุนการศึกษาให้กับนักเรียน หลังจากนั้นเด็กที่ได้รับทุนการศึกษาต้องกลับมาสอน ซึ่งอาจจะเป็นทุนของ สพฐ.หรือ ศธ.โดยจะเลือกจากคนที่มีพื้นฐานภาษาดีอยู่แล้ว ที่จบในสาขาตรงและสามารถส่งไปเรียนเพิ่มเติมในการเรียนการสอนได้
      
       นายชัยอนันต์ แก่นดี ผู้ อำนวยการโรงเรียนทวีวัฒนา เปิดเผยว่า เมื่อปี 50 ตนทดลองเปิดสอน EP ชั้น ม. 1 จำนวน 1 ห้อง ใน 3 รายวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอังกฤษ โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเน้นความเข้มข้น เพื่อให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น แต่ให้อาจารย์ไทยเป็นผู้สอน ซึ่งมีการตอบรับดีมากจากผู้ปกครอง เนื่องจากโรงเรียนไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่โรงเรียนใช้เงินอุดหนุน รายหัวนักเรียนมาดำเนินการ
      
       “สมัยที่ตนบริหารโรงเรียนสวนกุหลาบ ได้ร่างหลักสูตร EP ไว้ เมื่อย้ายมาบริหารที่ทวีวัฒนาจึงได้ดัดแปลงหลักสูตรดังกล่าวให้เหมาะสมกับ เด็ก เพื่อให้เด็กที่นี่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งเด็กที่เรียนหลักสูตร EP รายหนึ่ง ได้เกรดเฉลี่ย 3.97 และเด็กรายนี้ได้ย้ายโรงเรียนไปเรียนที่สวนกุหลาบ”
      
       นายชัยอนันต์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังมีแนวคิดที่จะให้เขย สะใภ้ ที่มีความมีเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษมาสอน แต่จะให้ค่าตอบแทนบ้าง ซึ่งมีชาวฟิลิปปินส์หลายรายติดต่อเข้ามาแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน เสนอว่าให้จ้างอาจารย์ชาวต่างชาติที่โรงเรียนจ้างมาสอนอยู่ขณะนี้ไปสอนก็ได้ โดยคิดชั่วโมงละ 500 บาท ซึ่งตนยังไม่ได้ตัดสินใจเพราะว่าการที่จะนำเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนมาจ่าย เพื่อเด็ก 50 คนนั้นจะเกิดปัญหาตามมาหรือไม่ เกรงว่าจะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเลือกปฏิบัติ

เตรียมเปิดหลักสูตร EP ให้เรียนฟรีเปิดโอกาส นักเรียนยากจน

 สพฐ.เตรียมเปิดหลักสูตร English Programs (EP) นำร่อง 2 โรงโดยผู้ปกครองไม่ต้องควักกระเป๋าเพิ่ม ในปีการศึกษา 52 เพื่อเพิ่มช่องทางให้เด็กยากจนได้มีโอกาสเรียน
       คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีแนวคิดที่เปิดสอนหลักสูตร English Programs (EP) ในโรงเรียนปกตินำร่อง 1 หรือ 2 โรง ในปีการศึกษา 2552 โดยจะให้เรียนฟรีและไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในเบื้องต้นคิดว่าจะส่งครูไทยที่เก่งภาษาไปอบรมภาษาอังกฤษ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับมหาวิทยาลัยออสเตรเลียหรือมหาวิทยาลัยใน เมืองไทย ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะพัฒนาครูไทยที่เก่งด้านภาษา ให้มีความสามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ตนจะไปหารือกับโรงเรียนทวีวัฒนา ซึ่งเปิดสอน EP โดยไม่มีการเรียกเก็บจากผู้ปกครองเพิ่มเติมอีก
      
       “หลายฝ่ายมองว่า หากเป็นครูไทยสอนจะไม่มีความเลื่อมใสจากนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งในช่วงแรก ดิฉันคิดว่าอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่หากสามารถที่จะประเมินได้ ทั้งในแง่ความสามารถในการใช้ภาษาและรวมทั้งความรู้ในเรื่องของสาระก็สามารถ ทำได้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรจะมีบริการสำหรับเด็กที่ไม่มีฐานะดีพอที่จะไปเสียเงินเรียนหลักสูตรดัง กล่าว ซึ่งเด็กเหล่านี้ก็ต้องได้รับโอกาสเช่นเดียวกัน “ เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
      
       คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ในอนาคตจะนำนักเรียนที่จบ EP. มาสอนเป็น 2 ภาษา เนื่องจากเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่จะสามารถสอนโรงเรียนที่เปิด EP ในปัจจุบันได้ เพราะมีจำนวนนักเรียนที่จบมาแล้วในแต่ละปีมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสำหรับอัตราค่าตอบแทนนั้น ศธ.จะบรรจุให้เป็นครู นอกจากนี้อาจจะมีทุนการศึกษาให้กับนักเรียน หลังจากนั้นเด็กที่ได้รับทุนการศึกษาต้องกลับมาสอน ซึ่งอาจจะเป็นทุนของ สพฐ.หรือ ศธ.โดยจะเลือกจากคนที่มีพื้นฐานภาษาดีอยู่แล้ว ที่จบในสาขาตรงและสามารถส่งไปเรียนเพิ่มเติมในการเรียนการสอนได้
      
       นายชัยอนันต์ แก่นดี ผู้ อำนวยการโรงเรียนทวีวัฒนา เปิดเผยว่า เมื่อปี 50 ตนทดลองเปิดสอน EP ชั้น ม. 1 จำนวน 1 ห้อง ใน 3 รายวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอังกฤษ โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเน้นความเข้มข้น เพื่อให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น แต่ให้อาจารย์ไทยเป็นผู้สอน ซึ่งมีการตอบรับดีมากจากผู้ปกครอง เนื่องจากโรงเรียนไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่โรงเรียนใช้เงินอุดหนุน รายหัวนักเรียนมาดำเนินการ
      
       “สมัยที่ตนบริหารโรงเรียนสวนกุหลาบ ได้ร่างหลักสูตร EP ไว้ เมื่อย้ายมาบริหารที่ทวีวัฒนาจึงได้ดัดแปลงหลักสูตรดังกล่าวให้เหมาะสมกับ เด็ก เพื่อให้เด็กที่นี่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งเด็กที่เรียนหลักสูตร EP รายหนึ่ง ได้เกรดเฉลี่ย 3.97 และเด็กรายนี้ได้ย้ายโรงเรียนไปเรียนที่สวนกุหลาบ”
      
       นายชัยอนันต์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังมีแนวคิดที่จะให้เขย สะใภ้ ที่มีความมีเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษมาสอน แต่จะให้ค่าตอบแทนบ้าง ซึ่งมีชาวฟิลิปปินส์หลายรายติดต่อเข้ามาแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน เสนอว่าให้จ้างอาจารย์ชาวต่างชาติที่โรงเรียนจ้างมาสอนอยู่ขณะนี้ไปสอนก็ได้ โดยคิดชั่วโมงละ 500 บาท ซึ่งตนยังไม่ได้ตัดสินใจเพราะว่าการที่จะนำเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนมาจ่าย เพื่อเด็ก 50 คนนั้นจะเกิดปัญหาตามมาหรือไม่ เกรงว่าจะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเลือกปฏิบัติ

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย English Program

     
                  โครงการโรงเรียนสองภาษา  (English Program)  ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย  ในการจัดการเรียนการสอน  จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  การวัดและประเมินผล
การเรียน  เป็นไปตามแนวทางของโรงเรียน  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถทั้งทางด้าน
วิชาการ  และด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร  ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ซึ่งโรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม  และเอื้อต่อการเรียนรู้ดังนี้
         7.1  การจัดตำราเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษยกเว้นวิชาภาษาไทย  เอกสาร
              ตำราเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษทุกรายวิชา  ใช้หนังสือที่สั่งซื้อจากต่างประเทศหรือในประเทศ
              ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับหนังสือของโรงเรียน  หรืออาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นผู้ชำนาญการสอนและ
              มีความสามารถในการแปล  เป็นผู้จัดทำ และหลังจากนั้นจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง
              ด้านภาษาจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของภาษาอีกครั้ง
         7.2  อุปกรณ์การเรียนการสอน  ห้องเรียน  ห้องประกอบ  และวัสดุครุภัณฑ์ที่ใช้ในโครงการฯ
              ปัจจุบันโรงเรียนมีการเตรียมความพร้อม  และสามารถใช้ได้ทันทีดังนี้
              1.  ห้องเรียนทุกห้องขนาด 30 ที่นั่ง  ติดเครื่องปรับอากาศ  พร้อมอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ทันสมัย
                   มีคอมพิวเตอร์ประจำสำหรับช่วยสอนโดยใช้จอทีวี 29 นิ้ว  เป็น Monitor
              2.  ห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ (E-Library)  มีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อค้นคว้าทาง Internet  จำนวน
                   36  เครื่อง
                   3.  ห้องเรียนที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในระบบ E-Learning มีสื่อค้นคว้าทาง Internet จำนวน
                   36  เครื่อง  พร้อมจอภาพ LCD
              4.  ห้องศูนย์เรียนรวม 120 ที่นั่ง  พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยในระบบ Multi Media โดยใช้จอภาพ
                   ขนาด 120  นิ้ว
              5.  ห้องเรียนคอมพิวเตอร์  มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยจำนวน 55 ชุด  และมีความพร้อม
                   สามารถสื่อสาร  2  ทาง ได้เป็นอย่างดี
              6.  ห้องปฏิบัติการทางภาษา  พร้อมอุปกรณ์ครบถ้วน 55  ชุด
              7.  ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  และคณิตศาสตร์ที่ทันสมัย  4  ห้องเรียน

เขาเรียนเกือบทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาภาษาไทย ที่โรงเรียนนี้เขาสอนในระบบ bilingual immersion

ลูกผมเรียนโรงเรียนสองภาษา ซึ่งจริง ๆ ก็คือโรงเรียนที่เปิดสอน english program เพียงอย่างเดียว ค่าเรียนจะตกอยู่ประมาณแสนกว่าบาทต่อปี สำหรับส่วนตัวของผม ผมคิดว่าคุ้มค่ามาก เพราะผมได้เห็นพัฒนาการที่ดีของเขา ในแต่ละช่วงอายุ ผมส่งลูกชายเข้าโรงเรียนในชั้น PG หรือ Play Group ปัจจุบันจบชั้น KG3 หรือ อนุบาล 3 และกำลังจะเข้าเรียนต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเดิม

ใน ด้านการพัฒนาเกี่ยวกับภาษา เขาสามารถอ่านหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ดีพอสมควร เขาชอบสะกดคำเพื่ออ่านเองทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยากรู้ว่าในหนังสือหรือตามป้ายประกาศต่าง ๆ หมายถึงอะไร แต่พัฒนาการด้านต่าง ๆ ในเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือน และไม่เท่ากัน ลูกผมเริ่มเขียนหนังสือได้จริง ๆ ประมาณ KG2 เริ่มอ่านหนังสือได้ก็เกือบจะจบ KG3 แล้ว แต่เราก็รอความพร้อมของเขา โดยไม่กังวลใด ๆ

ในด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผมถือว่าเขาพัฒนาตัวเองได้ดีที่เดียว ในบ้านไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษกับเขา ยกเว้นผมในบ้างเวลาเท่านั้น เมื่อเขามีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษของผม เขาสามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี เล่าเรื่องได้ บอกความต้องการของตัวเองได้ดี ตลอดจนใช้คำทักทายต่าง ๆ ได้ดี

จริง ๆ แล้วอยากให้เขาเรียนโรงเรียน INTER เพียงแต่ผมเป็นห่วงเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย และสังคมแบบไทย ๆ จึงให้เขาเรียนในโรงเรียนสองภาษา คาดหวังว่าเขาจะพัฒนาตัวเองไปตามช่วงอายุของเขา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

จริง ๆ แล้วเขาเรียนเกือบทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาภาษาไทย ที่โรงเรียนนี้เขาสอนในระบบ bilingual immersion ลองค้นหาระบบการเรียนการสอนใน internet ดูนะครับ มีในหลายประเทศ ผมชอบอ่านงานวิจัยจาก ประเทศออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ผมอ่านแล้วเขาใจว่าเขามีประสบการณ์เรื่องนี้มากที่เดียว และคิดว่าในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา ก็มีการจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษาเช่นกัน

ลูกผมที่ความชอบในด้านวิทยาศาสตร์มากพอสมควร และเขารู้สึกสนุกมาก ที่ได้เรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนแห่งนี้


ปิด ท้ายว่า การเลือกโรงเรียน หรือ ระบบการเรียน ให้ลูก อยู่บนความเสี่ยงทั้งสิ้น เพราะเราไม่สามารถประเมินแบบ ปีต่อปีได้ กว่าจะรู้ผลจริง ๆ ผมคิดว่าอย่างน้อยก็สิบปีผ่านไปแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องเลือกด้วยข้อมูลเท่าที่เราจะหามาได้ ลองใช้ http://scholar.google.com แล้วใช้ keyword "bilingual education" เราก็จะได้รายงานการศึกษา งานวิจัยต่าง ๆ มากมาย เกี่ยวกับ การเรียนการสอนแบบ สองภาษา

ในประเทศไทยโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน แบบสองภาษามีหลายแบบ แต่เรียกชื่อเดียวกันทั้งสิ้น มีตั้งแต่เรียนภาษาอังกฤษ 25% ไปจนถึง 80-90% คงต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี

ที่โรงเรียนของลูกผมเขาจะมีครูเจ้าของภาษาประจำชั้นหนึ่งคน และครูไทยสองคน ในระดับอนุบาล พออยู่ชั้นประถม เขาก็จะให้พูดเฉพาะภาษาอังกฤษในห้องเรียน ยกเว้นในวิชาภาษาไทย ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องของการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมในการพัฒนาเด็ก