วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เล่าความเป็นมาของ โครงการ English Program

      โครงการ EP หรือที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า “โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(English Program)” ซึ่งแต่เดิม ชื่อภาษาไทยอาจใช้เป็นอย่างอื่น อาทิ โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ หรือ โครงการโรงเรียนสองภาษา เป็นต้น เดิมทีในระดับชั้นมัธยมศึกษา หากใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนจำนวนชั่วโมงไม่ถึง 18 ชั่วโมง จะเรียกว่า Mini English Program (MEP) แต่นับตั้งแต่ปลายปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้จัดเฉพาะ “โครงการ English Program (EP)” ไม่มีนโยบายให้จัด “โครงการ Mini English Program (MEP)” หรือถ้าหากโรงเรียนที่จัดโครงการ MEP อยู่แล้ว ก็ให้เร่งพัฒนารูปแบบเป็น โครงการ EP ต่อไป เหตุที่มีการส่งเสริมให้โรงเรียนจัดโครงการ EP ก็สืบเนื่องมาจากรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญของภาษาอังกฤษ ที่นับวันจะทวีความจำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสารในสังคมโลกแห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)มากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็นับว่าเป็นประเทศหนึ่งในประชาคมโลกที่ได้รับผลกระทบอย่างมากนับแต่ในช่วงต้นคริสตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เพราะสารสนเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ดังนั้นระบบการศึกษาไทยในขณะนี้จึงจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทยให้อยู่ในระดับที่จะรับและเข้าใจสารสนเทศภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ต่อไป สืบเนื่องนับแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยมีนโยบายให้โรงเรียนเอกชนเปิดสอนวิชาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนไทยมีความรู้ความสามารถไม่ด้อยไปกว่าเด็กนักเรียนชาติ อื่น ๆ ในโลก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว และให้คนไทยมีความสามารถติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ การค้าและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และทางสังคมด้านต่าง ๆ กับคนได้ทั่วโลก ต่อมาในปีการศึกษา 2538 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาตให้โรงเรียนเอกชนดำเนินโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) และมีโรงเรียนเอกชนขานรับนโยบายทันที 3 โรง คือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา และโรงเรียนอุดมศึกษา หลังจากนั้นอีก 3 ปี คือ ในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนรัฐบาลสังกัดกรมสามัญศึกษาได้เปิดโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้หลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเป็นแนวปฏิบัติ ในปี พ.ศ. 2544 กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งที่ วก 1065/2544 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เรื่อง ให้ใช้นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งในสถานศึกษาของเอกชนและของรัฐเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีความเท่าเทียม มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับหลักการและจุดหมายของหลักสูตรแต่ละระดับ และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายแบ่งหลักสูตรออกเป็น 2 รูปแบบ สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน และโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา คือ โครงการ English Program หรือ EP และโครงการ Mini English Program หรือ MEP (สุชาดา เปลี่ยนสุภาพ. 2546 : 121 อ้างถึงใน นงนุช เอี่ยมสวัสดิ์, 2547) สำหรับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าได้เริ่มเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ ใน ๓ รายวิชา คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๖ และเมื่อปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ได้เปิดสอนทุกรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ โดยจัดตั้งเป็นโครงการ English Program มีหัวหน้าโครงการ เป็นผู้บริหารงานและรับผิดชอบในการดำเนินการภายใต้สายงานบังคับบัญชาของรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปีพุทธศักราช 2535 ตั้งอยู่เลขที่ 248/89 ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ภายในหมู่บ้านสัมมากร อันเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในระยะเริ่มต้นที่เปิดทำการ โรงเรียนได้รับนักเรียนชาย – หญิง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 453 คน โดยเปิด 11 ห้องเรียน และให้นักเรียนได้เรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายแบบลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน พุทธศักราช 2535 ซึ่งนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้ใช้หลักสูตรนี้ จนกระทั่งปีการศึกษา 2539 โรงเรียนได้รับนโยบายจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นควบคู่กันไป ในปัจจุบัน (2548) โรงเรียนเปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจำนวน 63 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 3,022 คน และครูอาจารย์จำนวน 136 คน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอองและชุมชนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและจากการประชุม สัมมนา ที่จัดขึ้นเพื่อระดมสมองในการพัฒนาโรงเรียน ที่ประชุมได้เสนอแนวความคิดในการพัฒนาโรงเรียนอย่างหลากหลายและที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ แนวความคิดที่จะพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้สู่ความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษเพื่อตอบรับกระแสแห่งยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) และยุคข้อมูลข่าวสารสมัยใหม่ (Information Technology) จากแนวความคิดดังกล่าว โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จึงได้ร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนจัดทำโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ขึ้น การบริหารงานโครงการ English Program ดังกล่าวของโรงเรียนสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ยุค ดังนี้ ยุคแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น