วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

สพฐ.เผยหลักสูตร EP ในไทย บริหารจัดการดี ครูชาวต่างชาติเก่ง แต่ขาดความรู้เรื่องหลักสูตร-ประเมินผล

สพฐ.เผยหลักสูตร EP ในไทย บริหารจัดการดี ครูชาวต่างชาติเก่ง แต่ขาดความรู้เรื่องหลักสูตร-ประเมินผล สั่งเพิ่มมาตรฐานหลายระดับสร้างคุณภาพครูใหม่

วันนี้ (22 มิ.ย.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า

มีการพิจารณาการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมพร้อมประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเชียนภายในปี 2558 และใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นภาษากลางในประชาคมอาเชียน ดังนั้น ศธ.จึงมีนโยบายการส่งเสริมเรื่องภาษาอังกฤษ และ สพฐ.ก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาโดยลำดับ ซึ่งในวันนี้มีการเสนอรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบใหม่ ที่เรียกว่า English bilingual Education (EBE) โดย สพฐ.ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสอนภาษาอังกฤษบริติชเคาน์ซิล ให้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยครูไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษโดยตรงจึงน่าจะนำมาประยุกต์ได้กับประเทศไทย

นาย ชินภัทรกล่าวต่อว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในหลายประเทศที่มีระดับการ จัดการสอนที่แตกต่างกัน ซึ่งหากเปรียบการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนในแถบประเทศเอเชียแล้วพบว่า ประเทศอินโดนีเชียจะใช้ครูชาวอินโดนีเชียสอนทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ ดี แต่คุณภาพยังไม่ได้มาตรฐาน ขณะที่ ประเทศเกาหลีใต้ใช้งบประมาณจำนวนมากในการจ้างครูชาวต่างชาติมาสอนทำให้ได้ผล ค่อนข้างดี แต่ในส่วนประเทศไทยโรงเรียนที่จัดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือ English Program (EP) มีการบริหารจัดการที่ดี มีครูต่างชาติสอนและมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่ดี แต่ยังขาดความรู้เรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนรวมทั้งการวัดและประเมินผลของ ผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทำให้อาจไม่ได้คุณภาพตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้นจึงต้องนำมาปรับปรุงต่อไป

"ผมได้มอบสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.ไปพัฒนาหลักเกณฑ์และมาตรฐานต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในหลายระดับความพร้อมในสถานศึกษาต่างๆ เพื่อให้มีมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีครูต่างชาติที่สอนอยู่ในโรงเรียนที่เปิดหลักสูตร EP สังกัด สพฐ.มีอยู่หลายร้อยคน" เลขาฯ กพฐ.กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น