วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

English Program ของลูก เรียนอย่างไรให้สัมฤทธิ์ผล

        หากจะพูดถึง EP คงจำเป็นต้องเท้าความถึง Bilingual Education ในเด็ก ซึ่งเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นเสียก่อน Bilingual Education นั้น แรกเริ่มเดิมทีนั้น เกิดจาก "ความจำเป็น" ของเด็กที่อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ใช้ภาษาแตกต่างจากภาษาหลักในสังคม ความจำเป็นนั้นส่งผลให้เด็กนอกจากจะต้องใช้ภาษาแม่ของตนเพื่อสื่อสารกันใน ครอบครัวแล้ว ยังต้องเรียนภาษาหลักเพื่อใช้สื่อสารกับคนในสังคมให้ได้ด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัดคือ เด็กเชื้อสายละติน หรือจีน ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องพูดภาษาสเปนหรือภาษาจีนภายในครอบครัว เด็กกลุ่มนี้มีความจำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เป็นทางการ ในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย อันนำมาสู่หลักสูตรการเรียนการสอนแบบผสมผสาน มีทั้งภาษาสเปน และภาษาอังกฤษเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กกลุ่มนี้
      
       สำหรับในประเทศไทย จะพบว่าการเรียนการสอนในระบบสองภาษา ก็เกิดจาก "ความจำเป็น" เช่นกัน ทว่าเป็นความจำเป็นที่แตกต่างออกไป โดยพ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทยส่วนหนึ่งเล็งเห็นว่า หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เด็กไทยไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ จากโลกภายนอกที่มักอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษ จึงนำไปสู่การจัดหลักสูตร "English Program" (การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลาง และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับโรงเรียนเอกชนกลุ่มหนึ่ง จัดการเรียนการสอนนำร่องหลักสูตร English Program ขึ้น
      
       อย่างไรก็ดี การมีหลักสูตร EP เกิดขึ้นก็ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันได้ว่า เด็กไทยจะประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษจนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพราะในระหว่างทางของการเรียนของเด็กแต่ละคน ยังมีความแตกต่าง และรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ที่รอการช่วยเหลือและแก้ไขให้บรรลุผล

      อาจารย์อัชฌา เสียงหลาย คณะทำงานโครงการศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษา อังกฤษ และผู้อำนวยการบริหารกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้า เปิดเผยว่า หลัง จากที่ประเทศไทยเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program (EP) มากว่า 15 ปีพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เด็กปรับตัวเข้ากับหลักสูตรไม่ได้นั้นมีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น ระดับชั้นของเด็กเมื่อเริ่มเข้าเรียนในหลักสูตร EP, พื้นฐานเดิมทางภาษาอังกฤษของเด็ก, พื้นฐานทางวิชาการของเด็ก และปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กเอง
      
       "ถ้า นักเรียนไม่ได้เริ่มเรียนหลักสูตร EP ตั้งแต่ระดับชั้นเริ่มต้น และมีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ นักเรียนจะเกิดความท้อแท้และปรับตัวลำบาก นอกจากนั้น หากความรู้ด้านวิชาการไม่เพียงพอด้วยแล้ว นักเรียนก็จะยิ่งปรับตัวยากมากขึ้น เพราะการเรียนในวิชาการต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน และมีศัพท์เฉพาะของแต่ละศาสตร์"
      
       ใน จุดนี้ แนวทางช่วยเหลือสำหรับเด็ก ๆ สามารถเริ่มได้จากโรงเรียนและครู นั่นก็คือ การจัดการเรียนการสอนกลุ่มย่อย (ไม่เกิน 1 - 3 คน) ให้แก่เด็ก ซึ่งพบว่า ภายใน 1 ภาคเรียน เด็ก ๆ จะสามารถพัฒนาพื้นฐานทางภาษาอังกฤษให้มีความพร้อมเพียงพอที่จะกลับไปเรียน ร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนปกติได้
      
       "นอกจากนี้ คุณครูอาจใช้เวลาว่าง เช่น ชั่วโมงห้องสมุด จัดกิจกรรมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ โดยให้เด็กเลือกหนังสือที่สนใจ และสอนเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นโดยเฉพาะ วิธีนี้ จะทำให้เด็กมีแรงบันดาลใจในการเรียนสูงมาก เพราะจะได้เรียนในเรื่องที่เด็กมีความสนใจเป็นพิเศษ ทำให้พร้อมที่จะเปิดรับความรู้ และมีความพยายามในการเรียนสูงขึ้น ถึงแม้จะต้องใช้ภาษาที่ไม่ถนัดก็ตาม"
      
       สำหรับแนวทางอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้แก่เด็กนั้น ยกตัวอย่างเช่น การสังเกตและติดตามผลของเด็กในห้องเรียน เพื่อให้ครูได้ทราบว่าเด็กตามเพื่อนไม่ทันในจุดใดบ้าง ตลอดจนให้เด็กได้มีโอกาสซักถามในสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจในการเรียน ด้วยวิธีดังกล่าวนี้พบว่านักเรียนที่ไม่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) จะสามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการเรียนในหลักสูตร EP ได้ในเวลาอันสั้น
      
       นอกจากกระบวนการการเรียนการสอนดังกล่าวแล้ว นักเรียนไทยยังมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ภายในห้องเรียน ที่ครูชาวต่างชาติในหลักสูตร EP ให้ข้อสังเกตเอาไว้ด้วยว่า นักเรียนไทยมักให้ความร่วมมือในการเรียนกับครูสูงกว่า อีกทั้งยังให้ความเคารพ และเชื่อฟังครู ส่งผลให้บรรยากาศในห้องเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น เอื้อต่อการเรียนการสอน

แนะผู้ปกครองเข้าใจหลักสูตร
       

       ในยุคที่พ่อแม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในเวลาเพียงเสี้ยว นาที คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มีพ่อแม่หลายครอบครัวที่คาดหวังว่าลูกจะสามารถเรียนรู้และใช้ภาษาได้เป็น อย่างดี ในเวลาอันสั้นเหมือนเช่นคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งความคาดหวังดังกล่าว อาจไม่เป็นผลดีกับการเรียนของลูกแต่ประการใด
      
       "อยาก ฝากบอกผู้ปกครองว่า การเรียนภาษา เป็นเรื่องของทักษะ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา จึงขอให้ผู้ปกครองใช้ความอดทนและทำความเข้าใจถึงความแตกต่างและวิธีเรียนของ เด็กแต่ละคน หากผู้ปกครองเข้าใจในประเด็นดังกล่าว นอกจากจะสามารถสั่งสอนลูก ปลุกปั้นลูก เพื่อที่จะดึงศักยภาพของลูกออกมาได้ในแบบที่เขาถนัดแล้ว ยังทำให้ลูกมีกำลังใจในการเรียนและสามารถพัฒนาตนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย"
       

      
       4 ข้อควรทำ ก่อนนำเจ้าตัวเล็กเข้าเรียน EP
       

       - เตรียมความพร้อมให้ลูกเช่นเดียวกับการเข้าเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สอนให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ห้องน้ำ รับประทานอาหาร รักษาความสะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสร้างทัศนคติที่ดีในการไปโรงเรียน ให้เด็กได้ทราบว่าจะได้เจอคุณครูใจดี มีเพื่อน ๆ มีกิจกรรมสนุก ๆ รอให้ทำรออยู่
      
       - สร้างให้ลูกคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ เช่น การพูดภาษาอังกฤษกับลูก หรือเปิดรายการการ์ตูนหรือสารคดีสำหรับเด็กดูร่วมกัน เนื่องจากรายการเหล่านี้จะมีภาพประกอบ-เสียงให้เด็กสามารถคาดเดาความหมายของ คำศัพท์นั้น ๆ ได้ เป็นการสร้างความคุ้นเคยให้เด็กโดยอัตโนมัติ และทำให้เด็กเรียนในหลักสูตรได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ไม่เกิดความคับข้อง หรืออึดอัดใจ
      
       - ถ้าพ่อแม่ใช้ภาษาอังกฤษได้ก็ควรพูดโต้ตอบกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเมื่อเด็กคุ้นเคยและสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษ เด็กจะเกิดความมั่นใจที่จะกล้าพูดโต้ตอบต่อไปได้
      
       - อ่านหนังสือ นิทานต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษให้ลูกฟัง พร้อมทั้งชี้ชวนให้ดูภาพในหนังสือประกอบ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น