วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

video ประชาสัมพันธ์ Smart EP

พอดีเจอวิดีโอนําเสนอของกวดวิชาแห่งนี้ น่าสนใจ เพราะสอนโรงเรียน และ เด็กที่เรียนใน โปรแกรมสองภาษาต่างๆ เช่น English Program (EP), MEP, Inter, และ Gifted จึงนํามาเผยแพร่ครับ เหมือนว่าที่นี่ สอนเป็น ภาษาอัวกฤษ เลยด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เล่าความเป็นมาของ โครงการ English Program

      โครงการ EP หรือที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า “โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(English Program)” ซึ่งแต่เดิม ชื่อภาษาไทยอาจใช้เป็นอย่างอื่น อาทิ โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ หรือ โครงการโรงเรียนสองภาษา เป็นต้น เดิมทีในระดับชั้นมัธยมศึกษา หากใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนจำนวนชั่วโมงไม่ถึง 18 ชั่วโมง จะเรียกว่า Mini English Program (MEP) แต่นับตั้งแต่ปลายปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้จัดเฉพาะ “โครงการ English Program (EP)” ไม่มีนโยบายให้จัด “โครงการ Mini English Program (MEP)” หรือถ้าหากโรงเรียนที่จัดโครงการ MEP อยู่แล้ว ก็ให้เร่งพัฒนารูปแบบเป็น โครงการ EP ต่อไป เหตุที่มีการส่งเสริมให้โรงเรียนจัดโครงการ EP ก็สืบเนื่องมาจากรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญของภาษาอังกฤษ ที่นับวันจะทวีความจำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสารในสังคมโลกแห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)มากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็นับว่าเป็นประเทศหนึ่งในประชาคมโลกที่ได้รับผลกระทบอย่างมากนับแต่ในช่วงต้นคริสตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เพราะสารสนเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ดังนั้นระบบการศึกษาไทยในขณะนี้จึงจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทยให้อยู่ในระดับที่จะรับและเข้าใจสารสนเทศภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ต่อไป สืบเนื่องนับแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยมีนโยบายให้โรงเรียนเอกชนเปิดสอนวิชาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนไทยมีความรู้ความสามารถไม่ด้อยไปกว่าเด็กนักเรียนชาติ อื่น ๆ ในโลก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว และให้คนไทยมีความสามารถติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ การค้าและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และทางสังคมด้านต่าง ๆ กับคนได้ทั่วโลก ต่อมาในปีการศึกษา 2538 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาตให้โรงเรียนเอกชนดำเนินโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) และมีโรงเรียนเอกชนขานรับนโยบายทันที 3 โรง คือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา และโรงเรียนอุดมศึกษา หลังจากนั้นอีก 3 ปี คือ ในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนรัฐบาลสังกัดกรมสามัญศึกษาได้เปิดโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้หลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเป็นแนวปฏิบัติ ในปี พ.ศ. 2544 กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งที่ วก 1065/2544 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เรื่อง ให้ใช้นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งในสถานศึกษาของเอกชนและของรัฐเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีความเท่าเทียม มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับหลักการและจุดหมายของหลักสูตรแต่ละระดับ และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายแบ่งหลักสูตรออกเป็น 2 รูปแบบ สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน และโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา คือ โครงการ English Program หรือ EP และโครงการ Mini English Program หรือ MEP (สุชาดา เปลี่ยนสุภาพ. 2546 : 121 อ้างถึงใน นงนุช เอี่ยมสวัสดิ์, 2547) สำหรับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าได้เริ่มเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ ใน ๓ รายวิชา คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๖ และเมื่อปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ได้เปิดสอนทุกรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ โดยจัดตั้งเป็นโครงการ English Program มีหัวหน้าโครงการ เป็นผู้บริหารงานและรับผิดชอบในการดำเนินการภายใต้สายงานบังคับบัญชาของรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปีพุทธศักราช 2535 ตั้งอยู่เลขที่ 248/89 ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ภายในหมู่บ้านสัมมากร อันเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในระยะเริ่มต้นที่เปิดทำการ โรงเรียนได้รับนักเรียนชาย – หญิง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 453 คน โดยเปิด 11 ห้องเรียน และให้นักเรียนได้เรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายแบบลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน พุทธศักราช 2535 ซึ่งนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้ใช้หลักสูตรนี้ จนกระทั่งปีการศึกษา 2539 โรงเรียนได้รับนโยบายจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นควบคู่กันไป ในปัจจุบัน (2548) โรงเรียนเปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจำนวน 63 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 3,022 คน และครูอาจารย์จำนวน 136 คน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอองและชุมชนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและจากการประชุม สัมมนา ที่จัดขึ้นเพื่อระดมสมองในการพัฒนาโรงเรียน ที่ประชุมได้เสนอแนวความคิดในการพัฒนาโรงเรียนอย่างหลากหลายและที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ แนวความคิดที่จะพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้สู่ความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษเพื่อตอบรับกระแสแห่งยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) และยุคข้อมูลข่าวสารสมัยใหม่ (Information Technology) จากแนวความคิดดังกล่าว โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จึงได้ร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนจัดทำโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ขึ้น การบริหารงานโครงการ English Program ดังกล่าวของโรงเรียนสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ยุค ดังนี้ ยุคแรก

สําหรับน้องๆที่จะสอบเข้าภาคภาษาอังกฤษ (ภาคอีพี) English Program ครับ

พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันที่ น้องๆ ทั้งระดับ ป6 และ ม3 จะทําการสอบเข้าโรงเรียน EP กันนะครับ พี่ๆ ในฐานะที่ก็เป็นคนหนึ่งที่อยู่ในแวดวง อีพี และ มีหลานๆหลายคนเรียนในโปรแกรมนี้ ก็เลยอยากลองเขียนแนะนํากลยุทธ์ในการสอบเข้าภาคภาษาอังกฤษ (ภาคอีพี) English Program ไว้ให้น้องๆ อ่านก่อนสอบครับ ซึ่งหัวข้อนี้พี่เคยได้เขียนไว้ ประมาณเดือนกว่าๆ เลยได้โอกาสนํามาโพสอีกครั้งครับ น้องๆหรือผู้ปกครองที่สนใจสามารถติดตาม ได้ ที่นี่ ครับ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ blog โปรแกรมการเรียนภาคภาษาอังกฤษ หรือ English Program (EP) Blog ได้ทาง  facebook นะครับ https://www.facebook.com/pages/English-Program-EP-Blog/131317166936324?ref=ts


วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อยากให้ลูกเข้าเรียน EP ป.1 ไม่ทราบมีเกณฑ์การคัดเลือกยังงัยบ้างคะ

ลูกชายเรียนอยู่ อ.2 กำลังจะขึ้น อ.3 พ.ค.นี้ ที่โรงเรียนไทย เคยเข้าไปดู ๆ สาธิตรามบ้างไม่นานนี้ สนใจให้ลูกชายเข้าเรียน ป.1 EP มาก ๆ อยากรบกวนขอทราบเกณฑ์การคัดเลือกเด็กเข้าป. 1EP ค่ะ ว่าต้องเก่งขนาดไหน เน้นการทดสอบเกี่ยวกับอะไร จำเป็นต้องมีพื้นฐานอังกฤษขนาดไหน คืออยากให้เรียนที่นี่น่ะคะ รบกวนคุณครูและคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความนิยมของนักเรียน โรงเรียนสองภาษา ในการเรียนอย่างถูกวิธี

        โรงเรียนสองภาษา เป็นเรื่องปกติไปซะแล้ว หากเห็นนักเรียนตามโรงเรียนสองภาษาต่างๆพากันไปเรียนพิเศษยิ่งในช่วงของการ ปิดภาคเรียนแบบนี้ สถานที่เปิดเรียนพิเศษจะเต็มไปด้วยนักเรียนจากโรงเรียนสองภาษาต่างๆ พากันขวนขวายความรู้กันอย่างเต็มที่ ยิ่งเด็กเรียนมากๆ จะเรียนครบทุกวิชาตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำหรือบางคนก็ยังชวนกันไปเรียนดนตรี วาดภาพ ฯลฯ อะไรเยอะแยะเพิ่มเติมกันเป็นแถวเลย ด้วยเพราะในขณะนี้วัยรุ่นนิยมความทันสมัยกันมากขึ้น ถ้าใครไม่เรียนหรือไม่เป็นแบบที่กำลังนิยมมีหวังเชยเป็นแน่แท้เลยจริงๆ โรงเรียนสองภาษาทั่วประเทศมีอยู่หลายหมื่นโรงเรียนสองภาษาทั่วประเทศไทยซึ่ง อาจจะแบ่งเป็นระดับอนุบาล ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย อุดมศึกษา ความนิยมของนักเรียน คำ ร ร สอง ภาษา ในการเรียนอย่างถูกวิธี รวมถึงสายอาชีพ แต่ละจังหวัดก็จะมีโรงเรียนหลากหลายรูปแบบซึ่งโรงเรียนสองภาษาทั้ง หมดจะขึ้นอยู่กับสังกัดกระทรวงศึกษาธิการด้วยกันเป็นหลักเพื่อทำให้การศึกษา ของเด็กไทยทัดเทียมไม่แพ้ต่างประเทศกันเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้โรงเรียนสองภาษาต่างๆจึงพากันประชุมเพื่อฟื้นฟูพัฒนาเทคโนโลยี การเรียนการสอนอยู่เป็นประจำโดยจะเห็นคุณภาพจากเด็กเป็นสำคัญ
โรงเรียนสองภาษา

โรงเรียนสองภาษา มีความพร้อมที่จะก้าวสู่ระดับประถมศึกษาอย่างสมบูรณ์แบบ

      โรงเรียนสองภาษาคือ โรงเรียนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างมีคุณภาพ พร้อมรับนักเรียนที่มีความพร้อมทางด้านการเรียนภาษาเข้ามาเรียนรู้และศึกษา เพิ่มเติมในที่โรงเรียนสองภาษา ซึ่งในปัจจุบันนี้โรงเรียนสองภาษาได้ พัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ หวังว่านักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่จะกอบโกยความรู้ได้อย่างเต็มที่จริงๆ ใครเลยจะเก่งไปซะทุกเรื่องเลย แต่เมื่อวานได้ดูทีวีช่องหนึ่งพิธีกรเค้าเก่งจริงๆพูดได้หลายภาษาเลย แถมเป็นพิธีกรที่ดีอีกด้วย งั้นเราลองเข้าไปสมัครเรียนภาษาเพิ่มเติมดีกว่า จากที่เรียนมาหลายภาษาแล้ว วันนี้จะไปสมัครเรียนเพิ่มเติมที่โรงเรียนสองภาษาอีก โรงเรียนสาธิต มีความพร้อมที่จะก้าวสู่ระดับประถมศึกษาอย่างสมบูรณ์แบบ ความรู้เป็นสิ่งที่ดี ยิ่งเรียนรู้มากเท่าไหร่ก็จะเป็นผลดีกับเราไปในอนาคต สักวันคงได้ใช้มัน โรงเรียนสองภาษาของเราก็ให้คำแนะนำดีจริงๆ ไม่ว่าจะเรียนกี่ภาษาก็ยังให้ความรู้เราไม่เปลี่ยนแปลง
โรงเรียนสองภาษา

English Speaking Day

     The office of National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization) certified Satit Bilingual School of Rangsit University as a model for bilingual school. SBS possesses a clear policy in order to be a good alternative for a need in education especially nowadays that language becomes more crucial in everyday life of the people. Recently, SBS has organized “English Speaking Day” Project to enhance the motivation in learning and language skills development. This project will be held every Thursday for students in every level (from primary levels to secondary ones) to have a chance to communicate to one another in English throughout the day.
         Asst. Prof. Dr. Wipada Kupatanonta, SBS school director, said that the project is a process which can assist students to become more familiar and confident in using the language. Since SBS is a bilingual school, the students must be equally competent both in Thai and English.  Assessment and awards will be given to students.
             This project will be held continuously in every semester to enhance language learning skills. It can also reflect a role model in teaching and learning of bilingual education which is significant for Thai youth in the future.  Read more http://www.sbs.ac.th/en/

EP Open House Yothinburana School 2011

EP Open House at Yothinburana School for this academic year (2011). See this video and you will realize why we recommend Yothinburana as one of the top ten English Program (EP) schools in Thailand.

“มหกรรมตลาดนัดเรียนต่อชั้นม.1 และ ม.4”

            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป ร่วมเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ สู่การกำหนดทิศทางการศึกษาต่อทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ในงาน “มหกรรมตลาดนัดเรียนต่อชั้นม.1 และ ม.4” วันที่ 25 - 27 กุมภาพันธ์ 2554 นี้ เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

             โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ที่พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาตนเอง เพื่อมุ่งสู่แนวทางการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการกิจกรรมโรงเรียนดี การจัดแสดงข้อมูลความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษา  ทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา  พร้อมทั้งเชิญสถาบันอาชีวศึกษา และโรงเรียนเอกชนชื่อดัง ร่วมนำเสนอความโดดเด่น ของโรงเรียนแต่ละแห่ง ให้เป็นทางเลือกสำหรับบุตรหลานของท่านผู้ปกครอง การให้นักเรียนทดลองทำข้อสอบของโรงเรียนดังต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม รวมทั้งกิจกรรมแนะแนวการศึกษาและตอบข้อซักถามต่างๆ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองมากขึ้น ในรูปแบบที่เป็นกันเอง ภายใต้สีสันของงานเฟสติวัล ในบรรยากาศที่สอดแทรกความสนุก เน้นความสนใจของผู้เรียน เพื่อปรับมุมมอง และทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาให้นักเรียนมีความสนุกสนานและเข้าถึงได้ ง่ายยิ่งขึ้น

พิธี เปิดงานโดย นายชินวรณ์ บุญเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ ณ ห้องแกรนด์ บอลลูม ฮอลล์ 9  เมืองอิมแพ็คเมืองทองธานี เวลา 09.00 น.

              เชิญ ร่วมฟัง การเสวนา ในหัวข้อ "ก้าวย่างอย่างมั่นใจบนเส้นทางการศึกษา" และ "สร้างสุข สู่ความสำเร็จในรั้วโรงเรียนดี มีคุณภาพ " โดย นายชินวรณ์ บุญเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินภัทร  ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และจากโรงเรียนต่างๆ

              ร่วมเปิดโลกการเรียนรู้ เพื่อวางแผนอนาคตให้กับบุตรหลานของท่าน สู่แนวทางการศึกษาต่ออย่างมีคุณภาพ ในงาน “มหกรรมตลาดนัดเรียนต่อชั้นม.1 และ ม.4” ได้ตั้งแต่วันที่ 25 - 27 กุมภาพันธ์ 2554 นี้ เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1579

อยากทราบว่าหากต้องการเรียน English Program (EP) ให้ได้ดีต้องทำอย่างไรอ่ะคะ ?

ตอนนี้เรียน English Program อยู่ค่ะ
อยากทราบว่าหากต้องการเรียนให้ได้ดีต้องทำอย่างไรอ่ะคะ ?


**รบกวนปรึกษาหน่อยนะคะ
เพราะตอนนี้รู้สึกว่าเรียนไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าที่ควร


กลัวว่าจะสอบไม่ได้ หรือว่าต้องไปเรียนพิเศษอ่ะคะ ?
คือโรงเรียนเรามีแบบถ้าเกรดไม่ถึง 2 ต้องซ้ำชั้นด้วยอ่ะ

ไม่อยากซ้ำชั้นอ่ะคะ ช่วยหน่อยนะคะ
ขอบคุณค่ะ ;D

เรียนฟรีอีพี กทม.หลักสูตรไฮโซเพื่อคนจน

        กรุงเทพมหานครเปิดหลักสูตรอิงลิช โปรแกรม (อีพี) ในโรงเรียน 2 แห่งอย่าง ไม่บอกใคร มา 4 ปีแล้ว เด็กทุกคนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่ปกติหลักสูตรไฮคลาสนี้ราคาแพงมหาโหด และนั่นเป็นเหตุผลที่ไม่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้โรงเรียนทั้งสองแห่งเก็บที่นั่งไว้รอลูกคนไม่รวยมาเข้าเรียนเท่านั้นเมื่อปี2544 กรุงเทพมหานครได้เปิดหลักสูตรอีพี (หลักสูตร 2 ภาษา) ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด กทม. 2 แห่ง คือ ร.ร.วัดมหรรณพ์เขตพระนคร และ ร.ร.เบญจมบพิตร เขตดุสิต ซึ่งเป็นโรงเรียนของลูกหลานคนไม่รวย มีอุดมการณ์ชัดเจน กำกับไว้เราต้องการให้โอกาสลูกของคนระดับกลางลงมาถึงคนระดับล่าง ได้มีโอกาสเรียนแบบที่คนรวยเรียนบ้าง เยาวรัตน์ตรีสัตยกุล ศึกษานิเทศก์ 7 สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร กล่าว พร้อมขยายความต่อว่า หลักสูตรอีพีของ กทม.ฟรีทุกอย่าง ทั้งค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน เครื่องแบบ และอาหารกลางวันปกติแล้วหลักสูตรอีพีในโรงเรียนรัฐบาลราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 3.5 หมื่นบาทต่อปีขึ้นไป ลูกหลานคนจนหมดสิทธิเรียนหลักสูตรไฮโซนี้ แต่ เยาวรันต์ บอก ว่า การศึกษาต้องไม่ทอดทิ้งใคร หากมีลูกคนรวยมาขอเข้าเรียน เราก็จะพูดตรงๆกับเขาว่า ระหว่างลูกคนจนและลูกคนรวยแล้ว เราจะเลือกรับลูกคนจน เพราะเราอยากให้ผู้ปกครองที่มีกำลังจะจ่ายได้ ยอมเสียเงินเรียนที่อื่น เพื่อเก็บที่เรียนในโรงเรียนของ กทม.ไว้ให้คนที่ด้อยโอกาสจริงๆใช่ว่าของฟรีจะไร้มาตรฐานเยาวรัตน์ยืนยันทุกอย่างดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน จะสอนเป็นภาษาอังกฤษ 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ศิลปะและสุขศึกษา ส่วนวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา พลศึกษา และการงานพื้นฐานอาชีพ จะสอนเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ขณะที่หนังสือเรียนนั้น สั่งเข้ามาจากประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ หรือ ออสเตเลียที่สำคัญคือครูทั้งสองโรงเรียนมีครูชาวต่างชาติเพียงพอตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการระบุไว้ร.ร.เบญจมบพิตรมีครูต่างชาติ 6 คน ส่วน ร.ร.วัดมหรรณพ์มี 4 คน แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายรายหัวหลักสูตรอีพีของ กทม.แค่ 2 หมื่นบาทต่อปีเมื่อเทียบกับโรงเรียนเอกชนแล้ว เรามีค่าใช้จ่ายรายหัวที่ถูกมาก เพราะเราไม่ได้นำค่าลงทุนด้านอาคารสถานที่ เราจ้างครูต่างชาติได้ในราคาที่ถูกกว่า เพราะเราพูดกับครูต่างชาติชัดเจนเลย ว่านี่ไม่หวังกำไรแต่เป็นการให้โอกาสเด็กยากจน อีกทั้งเงินที่จ้างครูเป็นงบประมาณแผ่นดิน ต้องใช้ให้เหมาะสม สุดท้ายก็ได้คนที่เข้าใจมาเป็นครู แต่ยืนยันว่าครูต่างชาติทุกคนมีมาตรฐาน แม้ไม่มี Native หรือชาติที่พูดภาษาอังกฤษโดยตรง เช่น ฟิลิปปินส์ แต่ก็จบปริญญาโททางด้านการศึกษา มีประสบการณ์สอนในไทยมาก่อน ที่สำคัญภาษาไทยไม่เพี้ยน เยาวรัตน์ ระบุปีหน้ากทม.มีโครงการเปิดหลักสูตรอีพีเพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ร.ร.วัดภาษา ร.ร.สวัสดิรักษา และ ร.ร.วัดดอน เยาวรัตน์ อธิบายว่า หลักเกณฑ์การเปิดหลักสูตรอีพี ต้องมีชุมชนชาวต่างชาติอาศัยเด็กจะได้นำไปใช้ประโยชน์จริง รองลงมาดูความพร้อมของโรงเรียนดูเหมือนว่าร.ร.วัดมหรรณพ์ จะบรรลุตามเป้าหมายในแง่ของการนำภาษาอังกฤษมาใช้ประโยชน์ตามที่ เยาวรันต์พูดไว้และนั่นทําให้โรงเรียนเปลี่ยนใจผู้ปกครองหันมายอมรับหลักสูตรอีพี จากที่ช่วงแรกเคยมีคำถามว่า ทําไมโรงเรียนจะต้องสอนลูกเขาเป็นภาษาอังกฤษอมรรัศมีลอยพิมาย ผอ.ร.ร.วัดมหรรณพ์ เล่าว่า ร.ร.วัดมหรรณพ์ เป็นโรงเรียนประจำชุมชนย่านเสาชิงช้า ถนนข้าวสาร ศาลเจ้าพ่อเสือ ประชาชนส่วนใหญ่ค้าขายแผงลอย นิยมส่งลูกมาเข้าเรียนฟรีที่ ร.ร.วัดมหรรณพ์ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่เมื่อ 4 ปีที่แล้วโรงเรียนเลิกรับห้องปกติ นักเรียนอนุบาลต้องเรียนหลักสูตรอีพีโดยปริยาย ทําให้ผู้ปกครองไม่เข้าใจว่าทําไมต้องสอนลูกเขาเป็นภาษาอังกฤษ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลูกเขาช่วยพูดคุยกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติได้ ผู้ปกครองจึงเห็นด้วยกับหลักสูตรอีพีอมรรัศมีกล่าวต่อว่าทุกวันนี้หลักสูตรอีพีได้รับการยอมรับจากชุมชนเป็นอย่างดี แต่โรงเรียนต้องทํางานหนักมากขึ้น ต้องเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษให้ชั้นอนุบาล เพื่อเรียนหลักสูตรอีพีชั้น ป.1 อมรรัศมี บอกว่า เราต้องการปั้นดินให้เป็นดาว เมื่อได้รับการเตรียมพร้อมทางภาษาอย่างดี เด็กเกือบทุกคนมีศักยภาพเรียนภาษาอังกฤษได้ดีระดับหนึ่ง และเรียนหลักสูตรอีพีได้ทางด้านร.ร.เบญจมบพิตร รับหลักสูตรอีพีปีละ 1 ห้องเช่นกัน แต่ปีนี้มีนักเรียนสมัครเรียนถึง 100 คน จึงใช้วิธีการคัดเลือกเป็นตัวตัดสิน อังคณาสัจจชุ ณหธรรม รองผู้อำนวยการ ร.ร.เบญจมบพิตร เล่าว่า จะต้องมีการทดสอบความพร้อมของนักเรียนก่อนรับเข้าเรียน แต่เน้นให้โอกาสลูกคนจนก่อนทั้งสองโรงเรียนยืนยันตรงกันว่านักเรียนของพวกเขามีความสุขกับการเรียนหลักสูตรอีพี กล้าแสดงออกมากขึ้นและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี โดยคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ป.3 ปี 2549 พบว่าได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ เฉลี่ย 80.77 คณิตศาสตร์ 77.40 วิทยาศาสตร์ 83.73 และภาษาไทย 82.29 ส่วน ร.ร.วัดมหรรณพ์ ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ 70.35 คณิตศาสตร์ 68.62 วิทยาศาสตร์ 70.69 และภาษาไทย 64.50แม้ว่าจะประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจแต่ทั้งสองโรงเรียนยังคงไม่ประชาสัมพันธ์ตัวเองมากนัก เพื่อจะได้ไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยาก ต่อสู้กับผู้ปกครองที่ไม่จนจริงแต่ต้องการให้ลูกเข้าเรียนฟรีในหลักสูตร อีพีของ กทม. มิฉะนั้นแล้วโรงเรียนจะไม่สามารถยืนยันอุดการณ์ หลัก สูตรอีพีเพื่อลูกหลานคนจน ไว้ได้สุพินดา ณ มหาชัยข้อมูลจาก คม ชัด ลึก

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประชุม ผอ.รร.ดัง เพื่อกำหนดเกณฑ์รับนักเรียนปี ๒๕๕๔

นาย ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมกับผู้บริหารโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง เพื่อกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ และหลักเกณฑ์การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๔ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ


รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับผู้บริหาร สพม.และผู้บริหารโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวม ๒๑ คนว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ จุดเน้นการรับนักเรียน ใน ๓ ประเด็นที่สำคัญคือ

-เด็กทุกคนต้องมีที่เรียน ด้วยกระบวนการรับนักเรียนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นธรรม และเสมอภาค
-ให้กำหนดหลักเกณฑ์และสัดส่วนแผนการรับนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๔ ให้เหมาะสมกับการยกระดับคุณภาพนักเรียนและโรงเรียนให้ใกล้เคียงกัน รวมทั้งสายอาชีพด้วย โดยให้โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงปรับแผนชั้นเรียนรายปี เป็นให้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มากขึ้น และลดแผนการรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ลง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน เช่น โรงเรียนคู่ขนาน โรงเรียนดีประจำตำบล โรงเรียนดีประจำอำเภอ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
-ไม่ให้โรงเรียนมีการเรียกเก็บเงินโดยเป็นเงื่อนไขแลกกับการรับเด็กเข้าเรียน แต่โรงเรียนสามารถระดมทรัพยากรได้จากเด็กทุกคน ด้วยความโปร่งใส เปิดเผย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประกาศ ศธ. โดยจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ และควรยกเว้นนักเรียนที่มีฐานะยากจน

หลักเกณฑ์การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ให้รับนักเรียนชั้น ม.๔ จากนักเรียนที่จบชั้น ม.๓ ของโรงเรียนที่มีศักยภาพเหมาะสมเข้าเรียน และเปิดโอกาสให้รับนักเรียนทั่วไปจากโรงเรียนอื่นเข้าเรียนด้วย แต่กำหนดสัดส่วนให้รับนักเรียนทั่วไป ไม่เกินร้อยละ ๒๐ ดังนี้

-โรงเรียนที่เปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้รับนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม.๔ จากนักเรียนที่จบชั้น ม.๓ ของโรงเรียนที่มีศักยภาพเหมาะสมเข้าเรียน โดยโรงเรียนและคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือคณะกรรมการเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกที่เป็นธรรม โปร่งใส และเปิดโอกาสให้รับนักเรียนทั่วไปจากโรงเรียนอื่นเข้าเรียนด้วย ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือคณะกรรมการเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๒๐

-กรณีรับนักเรียนทั่วไปจากโรงเรียนอื่นเข้าเรียนชั้น ม.๔ ให้ใช้วิธีการสอบคัดเลือก โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทางวิชาการของโรงเรียน หรือให้ใช้ผลคะแนน O-NET

-ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา จัดหาที่เรียนให้เด็กที่ประสงค์จะเข้าเรียนชั้น ม.๔ ได้เข้าเรียนทุกคนตามความเหมาะสม ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ โดยวางแผนการรับนักเรียนร่วมกันกับโรงเรียนทุกสังกัด

การเพิ่มจำนวนนักเรียนต่อห้อง

ได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา แต่ควบคุมจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่เกิน ๕๐ คน และไม่ให้ขยายเพิ่มห้องเรียน ดังนี้

-โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กปกติหรือจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส

๑.ให้โรงเรียนรับนักเรียนชั้นก่อนประถมศึกษา ห้องละ ๓๐ คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกิน ให้รับได้ไม่เกินห้องละ ๔๐ คน โดยให้เสนอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอนุมัติ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำหนด

๒.ให้โรงเรียนรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ห้องละ ๔๐ คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกิน ให้รับได้ไม่เกินห้องละ ๕๐ คน โดยให้เสนอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอนุมัติ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำหนด

๓.ให้โรงเรียนรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ห้องละ ๔๐ คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกิน ให้รับได้ไม่เกินห้องละ ๕๐ คน โดยให้เสนอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษาอนุมัติ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือคณะกรรมการเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำหนด

-โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ให้โรงเรียนรับนักเรียนพิการ ห้องละ ๑๐ คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกิน ให้รับได้ไม่เกินห้องละ ๑๕ คน

-โรงเรียนที่จัดการศึกษาด้วยวัตถุประสงค์พิเศษ ให้โรงเรียนรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาห้องเรียนพิเศษ EP และ MEP ห้องละ ๓๐ คน ชั้นมัธยมศึกษา EP และ MEP ห้องละ ๓๐ คน ห้องเรียนอื่นๆ ห้องละ ๓๖ คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกิน ให้รับได้เฉพาะห้องเรียนอื่นๆ ไม่เกินห้องละ ๔๐ คน โดยให้เสนอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษาอนุมัติ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือคณะกรรมการเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำหนด
แผนการรับนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงกำหนดแผนการรับเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โดยเพิ่มแผนการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มากขึ้น และลดแผนการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ลง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนใกล้บ้านในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนดีประจำ ตำบล โรงเรียนดีประจำอำเภอ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โรงเรียนเอกชน และได้เข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง มากขึ้น เมื่อดำเนินการรับนักเรียนแล้ว ไม่อนุญาตให้มีการขยายห้องเรียนเพิ่มได้อีก

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ขอให้โรงเรียนงดการรับฝากเด็ก ซึ่งตนจะไม่รับฝากเด็ก และไม่ให้คนใกล้ชิดหรือผู้ใดนำชื่อไปแอบอ้างฝากเด็กโดยเด็ดขาด หลังจากนี้จะประชุมร่วมกับเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในนโยบายการรับนักเรียนต่อไป จากนั้น ศธ.จะมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องต่อสาธารณชนก่อนถึงกำหนดระยะเวลาการ สมัครรับนักเรียน ซึ่งขณะนี้ได้ให้ สพฐ.ปรับปรุงแก้ไขประกาศแนวปฏิบัติการรับนักเรียน เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงการวิ่งเต้นฝากเด็กหรือเรียกเก็บ เงินที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ ศธ. อีกต่อไป และที่สำคัญคือ เพื่อตอบโจทย์เรื่องคุณภาพของนักเรียนและสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง คือ คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วม

สำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ คือ ผอ.สพม.เขต ๑, ผอ.สพม.เขต ๒, ผอ.รร.เตรียมอุดมศึกษา, สวนกุหลาบวิทยาลัย, สตรีวิทยา, เทพศิรินทร์, สามเสนวิทยาลัย, ศึกษานารี, บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี), หอวัง, เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ, สตรีวิทยา๒, สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี, เบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา, สตรีสมุทรปราการ, ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ฯ, หาดใหญ่วิทยาลัย ๒, ปทุมเทพวิทยาคาร, วัฒโนทัยพายัพ, ขอนแก่นวิทยายน และลำปางกัลยาณี.

ทิปการเรียนE.P (English Program)

พอดีได้อ่านบทความดีดีมาจาก http://club.myfri3nd.com/dek-rak-rian/webboard/1050/22337
เลยนํามาแบ่งปันครับเกี่ยวกับ ทิปการเีรียน EP

การเรียนภาษาก็เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ ที่ใครๆ ก็ต่อได้ แต่แต่ละคนอาจใช้ความพยายามและเวลาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่า ใครหยิบจิ๊กซอว์ตัวแรกได้แม่นกว่า ถ้าคุณหยิบจิ๊กซอว์ตัวแรกที่เป็นหลักได้ คุณก็มีกำลังใจที่จะทำต่อ  แต่ถ้าคุณหยิบขึ้นมาแล้ว ต่อไม่ได้สักที คุณหยิบสิบครั้ง คุณก็เลิก 


เพียงเราเริ่มหัดอ่าน จากระดับที่ง่าย และจากเนื้อหาที่เราสนใจก่อน อาจารย์ยกตัวอย่างการสอนของอาจารย์เองว่า นักเรียนจะได้ฝึกอ่านหนังสืออ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษ จากระดับง่ายไปถึงระดับยาก โดยไม่ใช้พจนานุกรม แต่จะให้เดาความหมายจากเนื้อเรื่อง เมื่ออ่านจบแล้วสงสัยคำไหนจึงค่อยเปิดหา เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจความหมายคำ ๆ นั้นดีขึ้น เพราะเราเคยเห็นคำศัพท์นั้นในรูปประโยคจริงแล้ว 
ขณะอ่าน อย่าเปิดพจนานุกรม
ลักษณะ ที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักอ่านที่ดีคือ การไม่เปิดพจนานุกรมขณะอ่าน คนส่วนใหญ่นิยมเปิดพจนานุกรมไปพร้อม ๆ กับอ่านหนังสือไปด้วย เพื่อหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่รู้ แต่อาจารย์กลับแนะนำว่าพจนานุกรมอังกฤษ ไทยมี ไว้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเราอีกครั้ง ไม่ได้มีไว้ให้ค้นความหมายเพียงอย่างเดียว อีกปัญหาหนึ่งของการใช้พจนานุกรมอย่างไม่ระวังคือ ผู้อ่านมักเลือกความหมายแรกของคำที่ปรากฎในพจนานุกรมไปใช้เลย ทำให้เกิดปัญหาว่า ผู้อ่านรู้ความหมายของศัพท์ทุกคำ แต่ก็ยังไม่เข้าใจเนื้อเรื่อง ทั้งนี้เป็นเพราะความหมายที่เปิดได้จากพจนานุกรมไม่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง นั่นเอง 
กำไรที่สุดถ้าเราอ่านต้นฉบับได้
แล้ว หนูไม่คิดหรือว่า คนแปลเขาแปลเพี้ยนหรือเปล่า ถ้าเป็นแม่สมัยก่อน แม่แปลไม่ได้ แม่ก็จะอ่านข้าม ๆ ไป บางอย่างคิดไม่ออกก็ข้ามไป คนแปลเขาอาจจะแปลผิดก็ได้ อาจารย์พนิตนาฏเคยสอนลูกสาวและลูกศิษย์เสมอว่า การไม่ได้อ่านต้นฉบับคือความขาดทุน ต่อให้อ่านละเอียดแค่ไหน ก็เก็บเนื้อความได้ไม่ครบถ้วนเหมือนได้อ่านต้นฉบับ ดังนั้น การฝึกอ่านหนังสือภาษาอังกฤษให้เก่ง จึงเป็นการเปิดโอกาสสร้างกำไรให้กับชีวิต เพราะเราจะได้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษดี ๆ จากปลายปากกาของนักเขียนโดยตรงเลย 
 
เน้นว่าการอ่านสำคัญมาก...มาก
การ พูดไม่ได้สำหรับครูนั้นเรื่องเล็ก แต่ถ้าอ่านไม่ได้ แปลว่าคุณไม่มีหนทางที่จะหาข้อมูลแล้ว ลองนึกดูเรื่องง่าย ๆ อย่างฝรั่งมาถามทาง เรารู้ว่าเขาถามอะไร รู้แต่ว่า Turn left หรือ Turn right  แต่ Turn ไปแล้ว จะเจออะไร? ไม่ รู้แล้ว นั่นก็เพราะไม่ได้อ่าน ถ้าเราอ่านบ่อย ๆ เราก็จะรู้ เพราะความรู้ทุกอย่างอยู่ในหนังสือ หรือมิเช่นนั้น ก็ต้องเลือกวิธีท่องศัพท์  ถามว่าอยากท่องไหม? ก็คงตอบโดยพร้อมเพรียงกันว่า ไม่อยากท่อง  ปัญหาของเด็กสมัยนี้มีหลายปัญหามาก แต่ต้นตอของปัญหา มาจากการที่เราไม่เป็นนักอ่าน แม้แต่ภาษาไทย เรายังไม่อ่านด้วยซ้ำ  
ผู้ใหญ่มีหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็ก
เรา จะโทษเด็กไม่ได้ว่าเขาไม่อ่านหนังสือ เราต้องดูด้วยว่า ผู้ใหญ่ทำอะไรบ้าง เราเตรียมอุปกรณ์ให้เขาไหม ถ้าเราเตรียมแล้วเขายังไม่อ่าน เราก็ต้องคิดว่า เราตกลงกับเขาดีหรือยัง เคยคุยกับลูกเรื่องข่าวที่เด็กเล่นเกมแล้วตาย ลูกก็พูดขึ้นมาว่า ทำไมเด็กจะไม่ติดเกมล่ะคุณแม่ วัน ๆ หนึ่งไม่รู้จะทำอะไรหรอก อย่างเพื่อนหนูเขากลับบ้านแล้ว ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็เล่นเกม... ทำไมผู้ใหญ่ไม่คิดก่อนว่า สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เขาหรือเปล่า หรือ อย่างที่เคยคุยกันเรื่องการย้ายบ้านเพื่อความสะดวกของครอบครัว ลูกสาวไม่อยากย้าย ก็จะเล่าให้เราเห็นภาพเลยว่า เพื่อนที่เค้ามีบ้านอยู่ใกล้โรงเรียน ตอนเช้าก็ตื่นสายได้ ไม่ต้องรีบตื่น ส่วนพ่อแม่ก็ออกจากบ้านแต่เช้า ลูกตื่นมาไม่ต้องเจอใคร พอเลิกเรียน ดูนาฬิกาแล้วพ่อแม่ยังไม่ถึงบ้าน ก็เลี้ยวเข้าร้านเกมบ้าง ร้านการ์ตูนบ้าง แล้วค่อยกลับมาบ้าน กลับมาบ้านก็ไม่รู้จะทำอะไร ก็แชทกับเพื่อนหรือไม่ก็นอน กว่าพ่อแม่จะกลับมา ลูกก็นอนแล้ว ในวันหนึ่งไม่ได้เจอกันเลย มีอะไรก็ส่ง SMS หากัน พอฟังที่ลูกเล่าแล้วไม่ย้ายบ้านเลย เรื่องนี้สะท้อนได้เลยว่า เมื่อเราบอกว่าเด็กไม่อ่านหนังสือ เราต้องถามตัวเองก่อนว่า เราสร้างความพร้อมให้เขาเป็นนักอ่านหรือเปล่า เมื่อ ได้ฟังข้อคิดดี ๆ เรื่องการอ่านของอาจารย์แล้ว เราทุกคนก็น่าจะตั้งคำถามกับตัวเองบ้างว่า เราได้พยายามมากพอหรือยังกับการอ่านภาษาอังกฤษ ถ้าอยากจะอ่านให้เข้าใจ อ่านแล้วสนุกไปกับเนื้อเรื่อง  ก็ลองทำตามเทคนิคที่มีประโยชน์เหล่านี้ แล้วหยิบหนังสือภาษาอังกฤษสักเล่มขึ้นมาเปิดอ่านกันได้เลย 

เด็กที่เรียน EP จะทำคะแนน o-net,gat pat ได้ดีเท่ากับหลักสูตรธรรมดาหรือไม่

เด็กที่เรียน EP จะทำคะแนน o-net,gat pat ได้ดีเท่ากับหลักสูตรธรรมดาหรือไม่

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

How can i do in This summer ......My daughter..

How can i do in This summer ......My daughter ..she learn in primary education 1 ...and she will come to start in English language for start to learn in next tearm.... do have course to learn .....?

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์ ติวฟรี ก่อนสอบปลายภาค คณิต และวิทย์ EP

วัน อาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 เริ่ม 10 โมง เช้า ติวเข้มฟรี  ก่อนสอบปลายภาค คณิต และ วิทย์ ม.1   คณิต หัวข้อ พหุนามและสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว Polynomial and Linear Equation in One Variable     สถานที่ SmartEP  ชั้น9 CPTower3 BTS พญาไท http://www.smartep.com/ 

ย้ายลูกไปเรียน EP ดีหรือไม่

ลูกเราจะขึ้นป.3 ค่ะ แต่เท่าที่ผ่านมาเขาเรียนห้องเรียนดีมาตลอด แต่มีแววทางภาษาอังกฤษค่อนข้างเยอะ มาตอนนี้ก็เลยคิดว่าเทอมหน้าจะย้ายเขาไปเรียนหลักสูตร EP ของโรงเรียนเดียวกัน

ติดตรงที่ว่า เราคิดว่าลูกอาจจะได้รับวิชาการน้อยลง อาจมีปัญหาตอนไปสอบแข่งขันเข้า ม.1 ในหลายปีข้างหน้า แต่พอมองดูเกี่ยวกับประสบการณ์ทางภาษา ที่ลูกจะได้ กับ วิชาการที่ต้องเอาไปสอบแข่งกับเขา......ตอนนี้เลือกไม่ถูกเลยค่ะ ว่าจะตัดสินใจอย่างไรดี...

โรงเรียนเลิศหล้า เสวนา “เรียนอิชลิชโปรแกรม สำคัญต่อเด็กไทยอย่างไร”

 กลุ่มโรงเรียนเลิศหล้า จัดเสวนาความรู้ “เรียนอิงลิชโปรแกรมสำคัญอย่างไรต่อเด็กไทย” เพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม (English Program: EP) แต่ผู้ปกครองหรือพ่อแม่บางคน ยังไม่แน่ใจว่าแท้จริงแล้วลักษณะของ English Program เป็นอย่างไร และจะใช้หลักเกณฑ์ หรือเลือกโรงเรียนลักษณะใดให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการและความพร้อมของเด็กมากที่สุด
ซึ่งภายในงานได้มีคุณพ่อคุณแม่คนดังมาร่วมพูดคุย อาทิ คุณเบิร์ด กุลพงศ์ บุนนาค, คุณแช่ม แช่มรัมย์, คุณหนิง ศรัยฉัตร จีระแพทย์ อาจารย์อัชฌา เสียงหลาย กรรมการอำนวยการกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้า ผู้อำนวยการโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก เปิดเผยว่า “เนื่องจากในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ถูกพัฒนาก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างมาก ดังนั้นการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษจึงเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นและเข้ามามีบทบาทต่อระบบการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก เช่น มีโรงเรียนนานาชาติมากขึ้น มีโรงเรียน Bilingual โรงเรียน English Program โรงเรียน English Immersion Program เป็นต้น และเนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับบ้านเรา จึงมีศัพท์บัญญัติหลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็จะไม่แน่ใจ บางครั้งก็สับสนว่า ลักษณะของโรงเรียนที่กล่าวมานั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อาจารย์ อัชฌา กล่าวต่อ “จริง ๆ แล้ว โรงเรียนสองภาษา (Bilingual) หรือ โรงเรียนหลักสูตรอิงลิช โปรแกรม (English Program: EP) ในประเทศไทย คือ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลาง และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือพูดง่ายๆได้ว่า “ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาแต่สอนเป็นภาษาอังกฤษ” ที่แตกต่างกัน คือ วิชาและอัตราส่วนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย แต่ที่เรียกแตกต่างกัน เนื่องมาจากโรงเรียนเอกชนบางแห่งใช้คำว่า Bilingual หรืออื่น ๆ มานานหลายปีก็จะใช้อย่างนั้นต่อไป ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับโรงเรียนภาคเอกชนที่จัดการเรียนการสอน English Program บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา คือ English Program (หรือ EP) เพื่อให้เป็นแนวทางและความเข้าใจเดียวกัน
สำหรับคำถามที่ว่า “เรียนอิงลิชโปรแกรมสำคัญอย่างไรต่อเด็กไทย” ในฐานะที่กลุ่มโรงเรียนเลิศหล้ามีประสบการณ์ในการจัดการศึกษา English Program มานานถึง 15 ปี เราพบว่าในสังคมปัจจุบัน English Program มีความเหมาะสมสำหรับเด็กไทยยุคนี้มาก เพราะนอกจากจะได้พัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว อย่าลืมว่าเด็ก ๆ จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยหรือสังคมไทย เขาจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง เพราะภาษาไม่ใช่มีความหมายแค่การสื่อสาร แต่การเรียนภาษานั้นหมายรวมถึงการสื่อสารในด้านวิถีชีวิต วิธีคิด และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของเจ้าของภาษาด้วย นี่เป็นที่มาที่ว่า ทำไมกลุ่มโรงเรียนเลิศหล้าจึงต้องจัดครูที่เป็นเจ้าของภาษาเท่านั้นเพื่อสอนวิชาต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนของเรา นอกเหนือจากความคิดที่ว่าเพื่อนักเรียนจะได้เรียน และพูดสำเนียงได้ถูกต้องใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา นอกจากจะเป็นเจ้าของภาษา จะต้องมีคุณสมบัติของความเป็นครูที่แท้จริง รักนักเรียน รักที่จะสอน รู้วิธีถ่ายทอด และกระบวนการต่าง ๆ ที่จะพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาที่เราเลือกครูจากประเทศแคนาดา และร่วมมือทางการศึกษากับประเทศแคนาดา เพราะคนแคนาดาพูดภาษาอังกฤษได้ไพเราะมากและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ประเทศแคนาดาได้รับการยอมรับเรื่องคุณภาพของการศึกษาที่ติด 1 ใน 3 ของโลก คนที่จะเป็นครูได้จะต้องจบปริญญาตรีก่อน และศึกษาในวิชาชีพครูอีก 2 ปี ครูของเขาจึงมีคุณภาพมาก เก่ง มีวิธีสอนที่ช่วยให้นักเรียนคิดเป็น เข้าใจสิ่งที่เรียน และนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
อีกประการหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ โรงเรียนมีความโดดเด่นในการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรของเราได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นเอกลักษณ์ และสอดคล้องกับคุณลักษณะนักเรียนของเรา เพราะได้หลอมรวมหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เข้ากับหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งมานิโทบ้า ประเทศแคนาดา ซึ่งมีระบบการจัดการศึกษาสองภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่ประสบผลสำเร็จ เป็นต้นแบบของการสอนสองภาษา และเราเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากประเทศแคนาดา นักเรียนของเราจึงมีคุณสมบัติของ Global standard, local practice คือ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพระดับสากล แต่คงความเป็นไทยไว้ได้ เด็ก ๆ รู้จักวัฒนธรรมไทย มีมารยาท มีสัมมาคารวะ มีความกตัญญู เป็นต้น
การได้เรียนสองภาษา ไม่เพียงแต่จะสอนให้เด็กมีความรู้ (Knowledge) ด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะ (Skill) และขีดความสามารถในการปรับตัวสูงกว่าการเรียนภาษาเดียว ผลจากการวิจัยยืนยันว่า เด็กที่เรียนสองภาษาสามารถพัฒนาไอคิวได้ดีและสูงกว่าการเรียนภาษาเดียว ซึ่งทักษะดังกล่าวช่วยสร้างทัศนคติ (Attitude) ที่ดีให้แก่ตนเอง มีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้น เป็นการพัฒนาให้เกิดจุดแข็งในตนเอง ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนา Capacity Building ให้มีสมรรถนะมากขึ้น อาจารย์อัชฌา กล่าวสรุป

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Maths Learning Techniques for EP Students

     Again! I found this useful article writen by a EP student at Benjamarachutit. The student gave very important and cool tips on how to improve the mathematic skills for EP student. As we might know that one of the questions frequently asked from Ep student's parents is how well EP students are instructed and trained to enhance their comprehension in Maths and Sciences since several EP schools only have native english teachers to teach Maths and Sciences, but those teachers have limited teaching ability to provide sufficient details in Maths and Sciences as required in Thailand's basic academic curriculum.
        Thus, using the tips from the following articles will help you alot!

    Greetings! My name is Chakorn Lapanan. I am a former student of Benjamarachutit English Program School and I am now studying in M.6 at Triamudomsuksa School.
I would like to share my experiences about a little achievement that I made my math skills much better.
My math skills have been my biggest problem since I was in primary school because I’m the kind of person who really has a bad sense of math. I always understand math much slower than any other subject.
Obviously, at high school level, the problem still remains and gets worse because high school math is far more complex. I had failed an exam and got a terribly unpleasant score. However, when I was in M.5, 2nd semester, I came to my senses; I decided to be “seriously” determined to improve my math skills. It worked! I got a much better score that made my friends surprised and wonder what was wrong with me.
Therefore, what I want to tell you is that even though you are born with a bad sense of math (or any subjects), it’s not important. If you do make a great attempt, you can succeed.
For those who find yourselves bad at math, here are the methods I used in order to improve my math skills. I hope that they will somehow help you. By the way, I don’t know that they are really good ways, they just worked for me, so I’m not sure that they will be effective for someone else.

1. Realize that you must improve your math skill. Math is an essential subject because most competitive examinations require high math scores. Higher scores mean more chances for you to study in any academic institution.
2. Believe. Anybody can improve math. Don’t judge yourself before you have tried your best.
3. Forget your negative attitude toward math. Look at it like it’s your opponent you want to beat.
4. Remember "There Is No Such Thing As A Free Lunch". If you want to improve the skills, you must exercise. This statement is true for everybody. It doesn’t matter if they have math talent or are dumb, if they don’t practice, they won’t succeed
5. Make the first step. This is the most important part in my opinion because it took me about 17 years until I seriously started to do math exercises by myself. Also set your goals. I started with a small goal like “I’m going to make grade 4 this semester”.
6. Time. I think of how many hours I spend after school with entertainment like the computer or television. It’s 5 hours a day! So I just get 1-2 hours from it for doing exercises.
7. Doing math exercises daily. At first, I spent only an hour for the math exercises everyday. This made me unhappy and I wanted to halt but when time passed, I got used to it and it became my daily routine (at that time).
8. Beware of Procrastination. If you feel like you really don’t want to do the exercise, or don’t have time, just do 1 or 2 problems. That is because once you put off doing it, you will find that it is hard to go back again.
9. Math homework is your good friend. It’s easy for me to concentrate on doing math homework because once I do it, I will improve the skills and get a good score. It is worth doing, isn’t it?
10. It’s the fact that, in math, no matter how well you understand the concept, lots of hard problems require that you have seen them before in order to be able to handle them.
11. If you find that some units (like trigonometry) are hard to understand, try to do lots of exercises. Sometimes, the exercises will help you to understand.
12. Even if you have the wrong answer to a problem, try not to get discouraged, but be encouraged to keep trying to solve the problem.
13. Practice,Practice,Practice
14. If the result is not as good as what you hoped, don’t be upset. At least you have once tried to fix your problem. You will not have a regret like “Why didn’t I do that when I still had time to improve myself?”

In a nut shell, all you need to do to improve math skill is doing exercises as much as you can.
The methods I told you don’t mean that you must become a nerd. It depends on how well you manage your time. To do the exercises every day doesn’t take so much time that you have to change your daily life!
So, don’t forget to live your life as students should do and don’t abandon your studies. I’m sure you know the proverb “Where there’s a will, there’s a way”. Keep it in your mind and do it. Now!

Exam Preparation

วันนี้ได้อ่านบทความดีดีจาก www.epbenjamaclub.com เลยเก็ยมาฝากครับ เกี่ยวกับการเตรียมการสอบของนักเรียนภาคภาษาอังกฤษ หรือที่เราเรียกกันว่า English Program (EP)
สวัสดีครับ ก่อนอื่นก็ขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมชื่อ พ.รณัฐ คงทอง ในปีนี้ผมกำลังจะเข้าศึกษาในโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถ พิเศษทางคณิตศาสตร์ รุ่นที่ 8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผมจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จาก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ในโครงการภาคภาษาอังกฤษ หรือ English Program 3 ปีในรั้วขาวแดงได้สอนสิ่งต่างๆ ต่อผมมากมาย
ประสบการณ์ ทั้ง 3 ปีนี้เป็นประสบการณ์ที่มีค่าที่สุดในชีวิตผม ผมได้พบอุปสรรคมากมาย แต่อุปสรรคเหล่านี้แหละ ที่สอนให้ผมเรียนรู้ที่จะต่อสู้ ไม่มีความสำเร็จใดเกิดขึ้นได้ โดยไร้อุปสรรค ตอนขึ้น ม.3 ใหม่ๆ ผมกลัวการสอบเข้าเรียนต่อในชั้น ม.4 มาก เพราะรู้ว่าการสอบนี้จะส่งผลต่ออนาคตอย่างมาก
แรงบันดาลใจแรกของผม คือ บทความของรุ่นพี่ ที่ติดไว้บนบอร์ดหน้าห้องเรียน เป็นเรื่องของรุ่นพี่ EP เก่า ที่เข้าศึกษาต่อในโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทาง คณิตศาสตร์
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บทความนั้นได้กลายมาเป็นแรงผลักดันให้ผมตั้งปณิธานที่จะเข้าโรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาให้ได้ ในตอนแรกผมตั้งความหวังไว้ค่อนข้างมาก ไม่ถึงกับต้องเป็นที่หนึ่งหรอก แต่ก็อยากให้ติด Top Ten เหมือนกัน ความคาดหวังที่สูงเกินไป ก่อเกิดเป็นความกลัว
ผมถามตัวเองอยู่เสมอในตอน นั้น เรากล้าดียังไง ถึงไปฝันว่าจะติด Top Ten เตรียมฯ เราเก่งพอแล้วหรือ? นานวันเข้ามันก็ยิ่งเกิดเป็นความไม่มั่นใจ พอถึงช่วงหนึ่ง กำลังใจของผมก็เริ่มถดถอย แล้วกำลังใจก็หมดไป เมื่อผมพบว่า ผม”สอบไม่ติด” ถึงแม้ไม่ใช่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แต่มันก็ทำให้ผมย้อนกลับมามองตัวเอง นี่เราพร้อมแล้วหรือ ที่จะแข่งกับคนนับพันๆ (สายวิทย์เตรียมฯ ไม่เคยมีคนสมัครเกินหนึ่งหมื่นคนครับ)
ในความมืดมนนั้น พ่อเป็นผู้ดึงผมขึ้นมา ด้วยคำพูดเพียงไม่กี่คำ ว่า“มันไม่ใช่ทางของลูก ฟ้ากำหนดให้ลูกได้เข้าเตรียมฯ ไม่ใช่ที่อื่น” ผมเคยได้ยินคำปลอบใจมามาก
แต่ประโยคไม่กี่ประโยคของพ่อ มันแสดงออกถึงความจริงใจ ความเป็นห่วง และ ความหวัง

ผม รวบรวมกำลังใจอีกครั้ง เพื่อสู้ต่อไป สำหรับน้องๆที่อยากเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานะครับสิ่งสำคัญในการ เตรียมตัวคือ การแบ่งเวลา เนื่องจากบ้านพี่อยู่ต่างอำเภอ กว่าจะกลับถึงบ้านก็ประมาณ6 โมงเย็น พี่จะใช้เวลา 6 โมงเย็นถึง 6 โมงครึ่งเล่นกีฬากับเพื่อนๆ ละแวกบ้าน การออกกำลังกายตอนเย็นๆ จะทำให้เราสดชื่นหลังจากเรียนเหนื่อยมาทั้งวันทำให้เราเหนื่อย การนอนหลับทันทีหลังกลับถึงบ้านจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน และทำให้นาฬิกาชีวิตของเราแปรปรวน
ช่วง 6 โมงครึ่งถึง 1ทุ่มก็จะอาบน้ำ ทานอาหารเย็น ช่วง 1 ทุ่ม ถึง 3 ทุ่มก็จะใช้ทำการบ้านที่โรงเรียน การทำการบ้านที่โรงเรียนก็ถือเป็นการเตรียมตัวสอบอย่างหนึ่งอย่าดูถูก การบ้านข้อสองข้อที่โรงเรียนเด็ดขาด การทำการบ้านเปรียบเหมือนการทบทวนเนื้อหาที่เรียนรู้ที่โรงเรียนในวันนั้นๆ
หลัง จากนั้นช่วง 3 ทุ่มถึง 4 ทุ่มครึ่งพี่จะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบแม้จะเป็นเวลาไม่มาก แต่ถ้าเราอ่านทุกวัน เราก็จะค่อยๆสะสมความรู้จากการอ่านเรื่อยๆในช่วงแรกๆ ก็มีเหมือนกันที่ทำตามตารางเวลาไม่ได้ บางวันก็กลับบ้านช้าบางวันทานข้าวดึกยิ่งช่วงหลัง การบ้านเยอะ ทำให้ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ตอนนั้นพี่เครียดมาก ที่ไม่สามารถทำตามตารางเวลาได้ แต่หลังจากนั้นผมก็พยายามไม่เครียดกับตารางเวลามาก อะไรที่ตึงเกินไป
พี่ก็ลดหย่อน วันไหนที่เหนื่อยมากจนอ่านหนังสือไม่ไหว ผมก็ไม่ฝืนอ่านต่อ เพราะรู้ว่าถึงอ่านไปก็ไม่ได้อะไร พานแต่จะทำให้ป่วยไปเปล่าๆ วันใดก็ตามที่ไม่มีอารมณ์จะอ่านน้องๆก็ไม่ต้องฝืนอ่านนะ เพราะถึงอ่านไป ก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี
หาเวลาพักผ่อนให้ตัวเองบ้างสักชั่วโมง นั่งบนโซฟานุ่มๆ ฟังเพลงเบาๆ โทรทัศน์กับคอมพิวเตอร์ไม่ต้องถึงกับงด แค่ดู/เล่นให้น้อยลงสักนิดก็พอแล้ว บางทีพี่ก็อยากเล่น
เหมือนกัน บางทีก็คิดเข้าข้างตัวเอง ว่าเล่นสักนิดคงไม่เป็นไรหรอก แค่ 4-5 ชม.เอง อยากให้น้องๆคิดถึงพ่อ แม่ ไว้ครับ ว่าพ่อ แม่ เหนื่อยเพื่อเรามาแค่ไหน ทำเพื่อพ่อ แม่ แค่ไม่กี่เดือน สอบติดให้พ่อแม่ดีใจ หลังจากนั้นค่อยเล่นก็ได้ เรายังมีโอกาสได้เล่นอีกนาน แต่โอกาสนี้มีแค่ครั้งเดียว


พอถึงช่วงประมาณธันวาคม จะเป็นช่วงที่น้องๆหลายคนมาถึงจุด peak แล้ว คือ น้องบางคนก็ กลัวว่าจะสอบไม่ได้สุดๆ บางคนก็มั่นใจว่าจะสอบได้สุดๆ แต่พวกที่เฉยๆก็มี พี่อยากให้น้องมั่นใจในตัวเองนะ โรงเรียนทั่วประเทศเขาก็เรียนเหมือนน้องนี่แหละ หนังสือก็เล่มเดียวกัน
การ สอบเตรียมฯ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ความพร้อม คนที่สอบได้ไม่ใช่คนเก่งเสมอไป คนที่สอบได้คือคนที่พร้อมกว่าคนอื่น ถ้าน้องเตรียมตัวมาดี น้องสอบได้แน่นอนครับ ใครที่ยังไม่เตรียมตัว เตรียมตัวในช่วงนี้ก็ยังทันแต่จะเสียเปรียบคนที่เตรียมตัวเร็วกว่าอยู่ดี (ไม่ใช่ให้ไปเตรียมตัวเอาช่วงนั้นนะ)
พอถึงช่วงมกราคม งานน้องจะเยอะมาก ทั้งวิชาโน้น วิชานี้ บางวันกลับบ้านก็อาบน้ำ กินข้าวแล้วนอนเลย ไม่ได้อ่านหนังสือ ช่วงนั้นจะเป็นช่วงนี้เหนื่อยมาก อย่างที่พี่บอกละครับ ถ้าเหนื่อยก็พักผ่อนดีกว่า อย่าฝืนอ่านเลยถึงงานจะเยอะยังไง น้องก็ยังต้องทำนะครับ อย่าทิ้ง เพราะงานเหล่านั้นแหละ ที่จะแทนเวลาอ่านหนังสือของเรา น้องบางคนยังเข้าใจผิดอยู่ว่า ข้อสอบเตรียมฯจะอยู่ในหนังสือเตรียมสอบที่น้องซื้อมาเท่านั้น
จริงๆแล้ว กว่า 90% ของข้อสอบเตรียมก็อยู่ในหนังสือเรียนของน้องละครับ ในการบ้านที่น้องทำทุกวัน น้องแค่อ่านหนังสือนอกเพื่อ เพิ่มเติมอีก 10% ที่เหลือแค่นั้นเอง
หลังจากเรียนจบ น้องหลายคนก็คงขึ้นไปอยู่กรุงเทพฯ เรียนพิเศษ พี่ก็ทำอย่างนั้นนะ เรียนติวตามที่ต่างๆ แต่พี่อยากแนะนำน้องว่า น้องอย่าจัดตารางเรียนให้แน่นเกินไป ไม่ใช่เรียนตั้งแต่ 7 โมงถึง 3 ทุ่มอะไรอย่างนี้นะ ควรจะเรียนให้จบก่อน 5 โมงเย็น เพื่อจะเหลือเวลาในการทบทวน และ อ่านหนังสือ ช่วงอาทิตย์สุดท้ายก่อนสอบเนี่ย ควรจะเรียนแค่ ช่วงเช้า หรือ ช่วงบ่ายก็พอ พอสัก 3-4 วันเนี่ย น้องไม่ควรเรียนแล้ว ควรจะเอาเวลา
มาทบทวนเนื้อหาที่เรียนทั้งหมด หรือทำ short note ช่วยจำ
ช่วง นี้ น้องต้องพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชม. ถึงไม่ได้อ่านหนังสือก็ไม่เป็นไร เพราะถ้านอนไม่พอ อ่านหนังสือยังไงก็อ่านไม่รู้เรื่อง หนังสือที่อ่าน พอน้องซื้อมา น้องก็เปิดดูสารบัญเลย แล้ววางแผนว่าจะอ่านจบภายในกี่วัน
แล้วแบ่งว่า วันนี้จะอ่านกี่บท แล้วอ่านตามนั้น วันไหนอ่านได้ไม่ตามเป้า ก็อย่าไปเครียด ปล่อยวางแล้วรออ่านวันต่อมา แต่อย่าผัดวันประกันพรุ่งนะ ช่วงอ่านหนังสือเนี่ย ตอนพี่อ่าน พี่จะอ่านในห้องที่ไม่มีโทรทัศน์กับคอมพิวเตอร์ และก็ควรอ่านบนโต๊ะเขียนหนังสือ อย่านอนอ่านบนเตียง หรืออ่านไปดูโทรทัศน์ไป อ่านไม่รู้เรื่องหรอก
ประมาณหนึ่งวันก่อนสอบ ใครจะทบทวนก็ได้ แต่ควรนอนเร็ว ส่วนใครที่ทบทวนมาแล้ว ก็อ่านที่สรุปไว้ ผ่านๆ แล้วก็ทำสมาธิ วันสอบอย่างที่น้องได้ยินมานั่นแหละ
ตื่นเช้าๆ รีบไปให้ถึงที่สอบ เพราะรถจะติด คนก็เยอะ ควรรีบไปจองที่นั่ง จะได้มีที่นั่งกินข้าวเที่ยงจะเอาข้าวไปกินเองก็ได้ แต่เท่าที่ดูกินข้าวที่ food center ก็ได้ แต่อาจต้องรีบหน่อย
ใน hall ที่สอบ จะเห็นคนเยอะมาก คนที่นั่งหน้าๆ จะมีกำลังใจ เพราะไม่เห็นคนเยอะ แต่จะประจันหน้ากับอาจารย์คุมสอบเลย คนนั่งหลังๆก็พยายามอย่าเงยหน้าบ่อย เดี๋ยวใจเสีย สิ่งที่ทำให้คนเก่งๆหลายคน สอบไม่ติดก็เพราะ ตื่นเต้น แค่จับดินสอก็มือสั่นแล้ว ตอนพี่เข้าห้องสอบ พี่ก็มือสั่นเหมือนกัน ตื่นเต้นมาก แต่พี่ก็พยายามรวบรวมสติ แล้วก็นั่งสมาธิ พอเราหลับตา เราก็จะไม่เห็นภาพคนเป็นหมื่นๆ ให้คิดว่าเราอยู่คนเดียวในห้องนั้น แล้วเสียงเซ็งแซ่ จะหายไปเอง หลังจากนั้น ก็พยายามนึกถึงสถานที่เงียบๆ พอคิดว่าเริ่มมีสมาธิแล้ว ก็ลืมตา แล้วใช้นิ้ว 3 นิ้วจับปลายปากกาดู ถ้าปากกาไม่สั่นแสดงว่าจิตเรานั่งแล้ว ถ้ามันยังสั่น ก็พยายามจับให้นิ่ง ประมาณ 30 วินาที แล้วเราจะมีสมาธิ

ในช่วงเช้าจะเป็นวิชาคณิต สังคม ไทย น้องอาจเคยได้ยินมาแล้ว ว่าควรทำไทยกับสังคมก่อนแล้วค่อยทำเลข เพราะเวลามันน้อย สำหรับคนที่มั่นใจว่าถนัดเลขมากกว่า ก็อาจเลือกทำเลขก่อนก็ได้ตอนบ่ายเป็นวิทย์กับอังกฤษ ให้เลือกทำวิชาที่น้องถนัดก่อน ปีพี่อังกฤษยากมาก พี่เลยทำวิทย์ก่อนหลังจากน้องออกจากห้องสอบแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นเลย คือ กังวล พี่ไม่แนะนำให้น้องตรวจคำตอบกับเพื่อน หรือเปิดหนังสือดูว่าตอบถูกรึเปล่า เพราะมันจะทำให้น้องยิ่งเครียด ยังไงมันก็ผ่านไปแล้วกลับบ้าน แล้วก็เล่นคอมพิวเตอร์ หรือ ดูโทรทัศน์ แล้วหาอะไรเพื่อจะได้ไม่คิดมากเรื่องสอบ
พี่เชื่อว่า ถ้าน้องเตรียมตัวดี ตั้งใจจริง ไม่มีอะไรทำให้น้องไม่ติดได้หรอกครับ ยังไงก็ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก ให้น้องทุกคนตั้งใจจริง และสอบติดให้ได้ดังใจหวังนะครับ สู้ๆ ครับ เพื่อ TU 74!!

English Program Open House

With another academic year gone by, Assumption College recently presented our academic alternatives at the AC Open House. Brother Anant Prichavudhi, the Director of Assumption College, presided over the ceremony to inform the parents and students about the School’s potential endeavors. Moreover, Brother Pisutr Vapiso, the Head of the English Program and the Vice director of the school, was an excellent speaker, introducing our English Program to the audience. The objectives of this event were designed to show that the school always provides our students with various educational alternatives according to its students’ areas of interest and proficiency. We introduced our students’ successes in academic and extra-curricular studies as well as displaying our subject textbooks to parents and students in the pre-function room on the 6th floor of the 2003 Building.  In order to provide realistic information to visitors, the content group teachers and leaders gladly explained about our program’s plan of education, which has been  attracting the interest of many parents and students. We, the English Program, would like to hand the best education to your children as we step forward to meet the worldwide challenge.
.
OPENHOUSE

EP Students Won in Thai Debate Competition

On Friday, 21st January 2011, Assumption College set up a debating competition for upper level students at the 125th Assumption College Academic Day, 2010. The English Program sent our intelligent students to join this competition. In addition to this, Ms Wannasiri Phonpramoon facilitated as an advisory teacher for this particular subject.  Mr Yossapol Kriangyutthipoom from EP-M5/1, Mr Jiraphat Suwidejkosol and Mr Taechin Udomsin from EP-M5/2 debated amazingly against Assumption Suksa School. Their creative motions were as follows:
Round 1 Assumption College VS Assumption Suksa School
Subject: Being an academically excellent student is superior to being a student that is excellent at activities
Round 2 Saint Joseph Convent School VS Assumption Convent
Subject: Drought is more severe than flooding.
Round 3 Assumption College VS Saint Joseph Convent School
Subject: Watching Thai series is more beneficial than watching Korean series
After the final result was announced, Assumption College was awarded first place. Second place was awarded to Saint Joseph Convent School.
We, the English program, always believes that our students possess a number of intelligences. This can be counted as another great experience that they rarely find elsewhere.  At Assumption College these experiences are actively encouraged. This debating competition also provided self-development opportunities for our students, for example, debating skills, public speaking skills and inter-school socialization. Congratulations to you all!
.
Thaidebate